“รัฐ-เอกชน” ย้ำ ไทยจะก้าวสู่เป้า “Net Zero” นโยบายรัฐต้องชัดเจน
“รัฐ-เอกชน” ย้ำ ไทยจะก้าวสู่ “Net Zero” นโยบายรัฐต้องชัดเจน “ชัชชาติ” ยก ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาระดับโลก “หัวเว่ย” ชูนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน “เนสท์เล่” รับ หากปล่อยให้อุณภูมิพุ่ง ปี 2550 ไทยจะประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร แนะเร่งสร้างความตระหนักรู้
ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวในหัวข้อ “ปลดล็อกวิถีธุรกิจเพื่อสร้างความยั่งยืน” งาน “GC Circular Living Symposium 2022: Together to Net Zero” ว่า ปัญหาโลกร้อนเป็นสำคัญที่ ถือเป็นปัญหาระดับโลก ดังนั้น นโยบายต้องชัดเจน ปีนี้มีน้ำฝนมากกว่าค่าเฉลี่ย 52% ฝนตกเป็นหย่อมอย่างรุนแรง เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) โดยประเทศไทยอยู่อันดับ 9 ของประเทศที่มีปัญหา คนกลัวเรื่องระดับน้ำที่สูงขึ้น กทม. ได้สร้างความร่วมมือในเรื่องของการใช้รถ การลดปริมาณขยะ และการปลูกต้นไม้
“เราตั้งเป้าปลูกต้นไม่ 1 ล้านตัน พบว่าภาคเอกชนช่วยได้ดี วันนี้มีความร่วมมือกันแล้วกว่า 1.6 ล้านต้น เพียงแค่ 3 เดือน ถือเป็นพลังความร่วมมือที่ไม่เคยเห็น ดังนั้น ภาครัฐจะต้องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ภาคเอกชนเพื่อเกิดความร่วมมือในทุก ๆ ด้านต่อไป”
อย่างไรก็ตาม การตั้งเป้า Net Zero อาจจะต้องทำความเข้าใจและแบ่งแยกระยะเวลาของกรอบการดำเนินงาน และศึกษาอย่างจริงจัง ยอมรับว่าไม่ห่วงบริษัทใหญ่ แต่จะห่วงกลุ่ม SME ดังนั้น รัฐบาลจะต้องโปรโมทนโยบาย Net Zero ที่ชัดเจน และเข้าถึงได้ง่าย แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1.บริการที่ดี
2. อินฟราสตรัคเจอร์ที่ดี
3. สร้างสัมพันธ์ที่ดี
นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เป้าหมาย Net Zero ถือเป็นเป้าที่ทุกคนเห็นพร้องกัน จากปัญหาโควิด-19 ความขัดแย้งทางการเมืองต่างประเทศ ฯลฯ การจะทำให้เป้าหมายลดคาร์บอนเป็นศูนย์ถือเป็นเป้าร่วมกัน เพื่อเติบโตสู่อนาคต จึงต้องปรับตัวเองดัวยนวัตกรรมเพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอนในตัวเองก่อน การพัฒนาดิจิทัลเป็นเทรนด์ที่ทำได้
ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้เพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังาน 2.7 เท่า ช่วยลดปล่อยคาร์บอนแค่ 2% ของการปล่อยคาร์บอนมาจากอุตสาหกรรมไอซีที หากๆ ลดลงได้ 30% มากถึง 10 เท่าของการลดปริมาณ ดังนั้น การนำดิจิทัลมาใช้ในอุตสากกรรมพลังงานจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ โดยปัญหาหลักของการปลดปล่อยคาร์บอนภาคส่วนต่าง ๆ มาจากภาคการผลิต 37% รองมาคือภาคขนส่ง 62% ซึ่งการสร้างพลังงานโดยใช้ก๊าซฯ ผลิตไฟฟ้าถึง 62% เป้าหมายประเทศไทยคือการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนจะต้องสูงถึง 50% แต่ตอนนี้แค่ 20%
“เราช่วยให้เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในพอร์ท 50% ในปี 2050 จากการพัฒนาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และโซลาร์ เป็นต้น ประเทศไทยมีพื้นที่ผลิตไฟฟ้าได้ถึง 5-6 กิโลวัต มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถติดโซลาร์ได้ถึง 12 ล้านสถานที่ หากครอบคลุมหลังคาเรือนจะอยู่ที่ 75% สู่เป้าหมายได้ ซึ่งหัวเว่ยมีโซลูชั่นสมาร์ท กรีน ที่ครอบคบลุมโดยมีส่วนแบ่งตลาดโลก 22% ส่วนในไทยมีตลาดเกิน 50% ช่วง 6 ปีที่ผ่านมา สามารถผลิตพลังงานมากกว่า 6.74 ล้านกิโลวัตต์ ส่วนอุตสาหกรรมอีวี หัวเว่ยเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีในจีนกว่า 40 แบรนด์ และผลิตโซลูชั่นสถานีชาร์จในไทยกว่า 1,000 สถานี มีส่วนแบ่งตลาดกว่า 30%”
นายวิคเตอร์ เซียห์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เนสท์เล่ อินโดไชน่า กล่าวว่า การจะก้าวสู่เป้า Net Zero ได้นั้น สิ่งสำคัญคือการร่วมมือ หากปล่อยให้อุณภูมิเพิ่มเป็น 5 องศา ในปี 2550 จะส่งผลให้อาหาร อาทิ ข้าว ถั่วเหลือง ข้าวสาลี จะหายไป 20% ดังนั้น หากอยากมีชีวิตที่ดีและอยู่ต่อไปยาวนาน จะต้องทำธุรกิจอย่างยั่งยืน
สำหรับปัจจัยสำคัญในการก้าวสู่เป้าหมาย Net Zero ของ บริษัทฯ ปี 2050 คือ
1. แพคเกจจิ้งต้องรีไซเคิลได้
2. บริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน
3. ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือการร่วมมือกับพันธมิตรและผู้นำด้านเทคโนโลยีแม้จะมีค่าใช้จ่ายสูง แต่หลายบริษัทมุ่งทางนี้ รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค ดังนั้น การสร้างความตระหนักรู้ของผู้บริโภคในการจัดการขยะจึงสำคัญ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานให้สนับสนุนการจัดการขยะ ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี