เกษตรสำรวจน้ำท่วมกระทบพื้นที่ 4.8 ล้านไร่ นาข้าวมากสุด3 ล้านไร่ ใน 58 จังหวัด

เกษตรสำรวจน้ำท่วมกระทบพื้นที่ 4.8 ล้านไร่ นาข้าวมากสุด3 ล้านไร่ ใน 58 จังหวัด

กรมส่งเสริมการเกษตร สำรวจพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยล่าสุด คาด มี 58 จังหวัด รวม 4,897,404.25 ไร่ 580,787 ราย เป็นนาข้าวมากสุด กว่า3 ล้านไร่ ประกาศเขตให้ความช่วยเหลือแล้ว 52 จังหวัด พร้อม เตรียมสนับสนุนท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง 1.23 ล้านไร่

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า  การสำรวจพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยล่าสุด พบว่ามีพื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากอุทกภัยรวม 58 จังหวัด พื้นที่รวม 4,897,404.25 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 3,292,787.00 ไร่ พืชไร่และพืชผัก 1,551,220.00 ไร่ ไม้ผลไม้ยืนต้นและอื่น ๆ 53,397.25 ไร่ เกษตรกรได้รับผลกระทบรวม 580,787 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2565) ทั้งนี้ มีการประกาศเขตให้ความช่วยเหลือแล้ว 52 จังหวัด

เกษตรสำรวจน้ำท่วมกระทบพื้นที่ 4.8 ล้านไร่ นาข้าวมากสุด3 ล้านไร่ ใน 58 จังหวัด เกษตรสำรวจน้ำท่วมกระทบพื้นที่ 4.8 ล้านไร่ นาข้าวมากสุด3 ล้านไร่ ใน 58 จังหวัด เกษตรสำรวจน้ำท่วมกระทบพื้นที่ 4.8 ล้านไร่ นาข้าวมากสุด3 ล้านไร่ ใน 58 จังหวัด

 

สำหรับเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563 และหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564

ทั้งนี้ เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกร และปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรก่อนเกิดภัย มีพื้นที่เสียหายจริง อยู่ในพื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือฯ และให้การช่วยเหลือไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ โดยมีอัตราการให้ความช่วยเหลือ จำแนกเป็น ข้าว 1,340 บาทต่อไร่ พืชไร่และพืชผัก 1,980 บาทต่อไร่ และไม้ผลไม้ยืนต้นและอื่นๆ 4,048 บาทต่อไร่

ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร อยู่ระหว่างดำเนินการสนับสนุนชีวภัณฑ์ ท่อนพันธุ์ และให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช ตามระเบียบกระทรวงการคลังโดยเร่งด่วน และสำหรับกรณีโรคใบด่างมันสำปะหลัง กรมส่งเสริมการเกษตรได้เร่งดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบผ่านคณะอนุกรรมการบริหารจัดการโรคใบด่างมันสำปะหลังแล้ว

นอกจากนี้สมาคมมันสำปะหลัง 4 สมาคม  ได้แก่ สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย และสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เข้าพบเพื่อหารือถึงผลกระทบและเสนอความต้องการของพี่น้องเกษตรกรจากกรณีของโรคใบด่างมันสำปะหลัง รวมถึงเสนอขอสนับสนุนการดำเนินการใน 5 เรื่อง  คือ

1. การสำรวจพื้นที่ระบาด

2.  การสนับสนุนต้นพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดและทนทานโรคใบด่างจากพื้นที่สีเขียวแจกจ่ายพื้นที่สีแดง

3. การผลิตต้นพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดต่อเนื่องในพื้นที่สีเขียว

4. การวิจัยทดสอบพันธุ์ทนทานและผลผลิตอย่างต่อเนื่อง

และ 5. การวิจัยทดสอบการเขตกรรม เช่น การใช้สารเพิ่มความสมบูรณ์และการเจริญเติบโต

 

 ซึ่ง ผลการสำรวน มีพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังได้รับความเสียหายประมาณ 1.23 ล้านไร่ จากพื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศกว่า 9.32 ล้านไร่ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้สั่งการให้ศูนย์​ขยายพันธุ์​พืชที่​ 5​ จังหวัด​บุรีรัมย์ ศูนย์​ขยายพันธุ์​พืชที่​ 6​ จังหวัด​พิษณุโลก ศูนย์​ขยายพันธุ์​พืชที่​ 7​ จังหวัด​มหาสารคาม และศูนย์​ขยายพันธุ์​พืชที่​ 10​ จังหวัด​อุดรธานี​เร่งดำเนินการผลิตท่อนพันธุ์เพื่อสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัยแล้ว