มกอช. ถก สปป.ลาว ดันใช้เวียงจันทน์โลจิสติกส์ บุกตลาดจีน

มกอช. ถก สปป.ลาว ดันใช้เวียงจันทน์โลจิสติกส์ บุกตลาดจีน

มกอช. รุกหารือ “บ.ท่าบกท่านาแล้ง-VLP” สปป.ลาว ใช้ประโยชน์เวียงจันทน์โลจิสติกส์พาร์ค เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าเกษตรไทยไปจีน

นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า มกอช. ได้หารือและติดตามสถานะการขนส่งสินค้าเกษตรผ่านเส้นทางรถไฟลาว-จีน  ณ จังหวัดหนองคาย เพื่อรวบรวมโอกาส และข้อจำกัดของเส้นทางโลจิสติกส์ทางรางภายหลังด่านรถไฟโม่ฮานเปิดให้บริการ และติดตามผลการดำเนินการงานปี 2565 และแผนการดำเนินงานปี 2566 เป็นต้นไป ของหน่วยงาน CIQ (กรมปศุสัตว์ กรมประมง และกรมวิชาการเกษตร) เพื่อที่จะนำผลการประชุมข้างต้นไปประกอบเป็นข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินโครงการให้สอดคล้องให้กับคณะอนุกรรมการโลจิสติกส์การเกษตรต่อไป

 

มกอช. ถก สปป.ลาว ดันใช้เวียงจันทน์โลจิสติกส์ บุกตลาดจีน มกอช. ถก สปป.ลาว ดันใช้เวียงจันทน์โลจิสติกส์ บุกตลาดจีน

อย่างไรก็ดี CIQ ในพื้นที่ต่างๆ มีความคืบหน้าอย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Basic Infrastructure) เพื่อรองรับการขยายตัวทางการค้าผ่านด่านรถไฟโม่ฮานต่อไป  

นอกจากนี้ มกอช. พร้อมด้วยผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เวียงจันทน์ ฝ่ายเกษตร ณ กงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว และหัวหน้าด่านตรวจพืชหนองคาย ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติราชการ ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และเข้าประชุมร่วมกับนายสาคอน พิลางาม ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าบกท่านาแล้ง จำกัด และคณะเจ้าหน้าที่บริษัท Vientiane Logistics Park (VLP) เพื่อหารือการใช้ประโยชน์จากเวียงจันทน์โลจิสติกส์พาร์คสำหรับการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าเกษตรของไทย เพื่อเชื่อมโยงไปประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และภูมิภาคอื่นๆ อาทิ ภูมิภาคเอเชียกลาง และทวีปยุโรปในอนาคต

“ทั้งนี้ การเชื่อมโยงดังกล่าวจะสามารถตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การสร้างความสามารถด้านการแข่งขันได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมุ่งหวังว่าการขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางรางจะช่วยให้ผู้ประกอบการลดระยะเวลาการขนส่งลงตลอดจนใช้ประโยชน์จากโครงสร้างที่ครอบคลุมตั้งแต่ทวีปเอเชียไปจนถึงยุโรปต่อไปในอนาคต

อย่างไรก็ตาม มกอช. ได้ขอให้ VLP พิจารณาถึงความชัดเจนของค่าธรรมเนียมการขนส่งในรูปแบบนำเข้า (Import) ส่งออก (Export) และผ่านแดน (Transit) รวมถึงแผนการอำนวยความสะดวกในการขนสินค้าเกษตรของไทยผ่านเส้นทางรางที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อจูงใจให้เกิดการใช้งานมากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป”