สหกรณ์เกษตร เดือดร้อน เงินกู้ ASPL สร้างมรดกหนี้

สหกรณ์เกษตร เดือดร้อน เงินกู้ ASPL สร้างมรดกหนี้

สันนิบาตสหกรณ์ เล็งเสนอ คพช. แก้ปัญหาหนี้ ASPL หลังปล่อยกู้ 190 สหกรณ์ 1.5 พันล้าน ไม่มีปัญญาชำระคืน แถมกรมส่งเสริมสหกรณ์ไล่บี้ บางรายต้องขายทรัพย์สิน -ถูกฟ้องร้อง

นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ประธานสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย (สสท.) เปิดเผยว่าได้หารือกับสหกรณ์การเกษตรที่เดือดร้อนจากโครงการ เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคการเกษตร ASPL เพื่อร่วมนำเสนอปัญหาและแนวทางการแก้ไข  

สหกรณ์เกษตร เดือดร้อน เงินกู้ ASPL สร้างมรดกหนี้ สหกรณ์เกษตร เดือดร้อน เงินกู้ ASPL สร้างมรดกหนี้ สหกรณ์เกษตร เดือดร้อน เงินกู้ ASPL สร้างมรดกหนี้

          โดย ตามที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ดำเนินโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร (ASPL)เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมอุปกรณ์การตลาดแก่สหกรณ์ เช่น โรงสี และไซโลรวมถึงอุปกรณ์การตลาดอื่นๆ  แก่สหกรณ์จำนวน 190 แห่ง  มูลค่า1,538.66 ล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขว่าสหกรณ์จะต้องชำระเงินบริจาค และค่าธรรมนียมการใช้ประโยชน์จากปัจจัยพื้นฐานเป็นรายปีในอัตราที่กำหนด รวมถึงมีการจัดทำคำยินยอม/บันทึกข้อตกลงว่าจะบริจาคเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) 

แต่สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการไม่สามารถส่งชำระเงินบริจาคและค่าธรรมเนียมได้ตามกำหนด เนื่องจากโรงสีที่ได้มาไม่เต็มประสิทธิภาพหรือ มาตรฐาน เช่น สีข้าวได้ไม่ครบวงจร สีได้แค่ข้าวสาร ไม่มีระบบขัดสีเม็ดข้าว อีกทั้ง เมื่อเครื่องเสีย หาอะไหล่ไม่ได้ หลายๆสหกรณ์ที่ไม่มีงบประมาณซ่อมแซมบำรุงรักษาจึงต้องปล่อยโรงสี–ไซโลให้ร้างไม่ก่อให้เกิดรายได้เมื่อสหกรณ์มีความประสงค์จะส่งคืนกรมส่งเสริมสหกรณ์หรือขายก็ไม่สามารถทำได้  

ปัญหาดังกล่าวส่งผลเมื่อถึงรอบปิดบัญชีมีเงินกำไรไม่มากพอที่สหกรณ์จะส่งบริจาคตามเงื่อนไขที่กำหนด กลายเป็นหนี้ค้างชำระสะสมทำให้หลายสหกรณ์เดือดร้อนจนต้องขายทรัพย์สินมาใช้หนี้ดังกล่าวและบางแห่งถูกฟ้องร้อง

โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ นำข้อกล่าวอ้างที่ว่ามีสหกรณ์หลายแห่งที่สามารถชำระคืนมาเป็นบรรทัดฐาน โดยลืมคำนึงว่าสหกรณ์การเกษตรมีหลายขนาด ทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ สหกรณ์ขนาดใหญ่ที่มีงบประมาณในการปรับปรุงต่อเติมซ่อมแซมสามารถใช้งานจากอุปกรณ์การตลาดที่ได้รับการจัดสรรมา 

 

 ในขณะที่สหกรณ์ขนาดเล็กนั้นต่างกัน อุปกรณ์ทางการตลาดตามโครงการ ASPL จึงกลายมาเป็นมรดรดกหนี้ที่สหกรณ์ต้องแบกรับมากกว่าจะมาพัฒนาคุณภาพชีวิตหรือปรับโครงสร้างภาคเกษตรตามวัตถุประสงค์ของโครงการ 

            ภายหลังการประชุมหารือ นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม กล่าวว่า  สันนิบาตสหกรณ์ฯ จะทำการรวบรวมแยกแยะปัญหาทั้งหมดเพื่อทำข้อสรุปเข้าที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ (คพช.) และหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป