อ.ส.ค. ร่วมมือกับ กฟภ. ติด โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ -โซลาร์ รูฟท็อป

อ.ส.ค. ร่วมมือกับ กฟภ. ติด โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ -โซลาร์ รูฟท็อป

อ.ส.ค. เดินหน้านโยบายประหยัดพลังงานติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบโซลาร์ฟาร์าม โชลาร์รูฟท็อป ช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้มากกว่า10% และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้แบบยั่งยืน

นายสมพร  ศรีเมือง  ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย(อ.ส.ค.)  กล่าวว่า   เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายของรัฐที่ต้องการให้ทุกหน่วยงานใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพโดยส่งเสริมให้แต่ละหน่วยงานติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบใช้เอง

อ.ส.ค.ในฐานะหน่วยงานภายใต้รัฐวิสาหกิจกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตระหนักถึงนโยบายดังกล่าว จึงได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  หรือ กฟภ. (PEA) ในการสำรวจ ออกแบบ และติดตั้งโครงการบริหารจัดการเพื่อการประหยัดพลังงาน

อ.ส.ค. ร่วมมือกับ กฟภ. ติด โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ -โซลาร์ รูฟท็อป อ.ส.ค. ร่วมมือกับ กฟภ. ติด โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ -โซลาร์ รูฟท็อป อ.ส.ค. ร่วมมือกับ กฟภ. ติด โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ -โซลาร์ รูฟท็อป อ.ส.ค. ร่วมมือกับ กฟภ. ติด โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ -โซลาร์ รูฟท็อป อ.ส.ค. ร่วมมือกับ กฟภ. ติด โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ -โซลาร์ รูฟท็อป

 

โดยการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนผิวน้ำ(Solar Floating)ขนาดไม่น้อยกว่า 737 กิโลวัตต์ ณ สำนักงาน อ.ส.ค.ภาคใต้ (ปราณบุรี) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นับเป็นแห่งแรกของภาคใต้และยังได้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ให้กับสำนักงาน อ.ส.ค.ในภูมิภาคอีก 3แห่ง ได้แก่ สำนักงาน อ.ส.ค. ภาคกลาง จ.สระบุรี, สำนักงาน อ.ส.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   จ.ขอนแก่น และสำนักงาน อ.ส.ค.ภาคเหนือตอนล่าง จ.สุโขทัย

โดยทั้ง4แห่งมีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งรวม 4,851.99 กิโลวัตต์สูงสุด (kWp) โดยข้อตกลงการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะดูแลและบำรุงรักษาระบบตลอดระยะเวลา 20 ปี  

นายสมพร  กล่าวต่อว่า  ความร่วมมือดังกล่าวของ อ.ส.ค.และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในครั้งนี้ถือเป็นอีกมิติสำคัญในการผลักดัน อ.ส.ค.ก้าวสู่องค์กรชั้นนำในการให้ความสำคัญในการสนับสนุนนโยบายด้านประหยัดพลังงานและสนับสนุนแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกของรัฐบาล

โครงการดังกล่าวช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานอย่างเป็นรูปธรรมรวมทั้งสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานในอาคารควบคุมภาครัฐตามแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2558-2579 อีกด้วย  ซึ่งถือเป็นภาพลักษณ์และแบบอย่างที่ดีต่อหน่วยงานราชการ เอกชนในการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย

ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานของ อ.ส.ค.มีค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุดถึง 808 kw และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในอนาคต  โดยเฉพาะการติดตั้งบนผิวน้ำ(Solar Floating) โดยมีสัญลักษณ์รูปวัวแม่ลูก ตราไทย-เดนมาร์ค ที่สำนักงาน อ.ส.ค. อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์นั้น ทำให้ช่วยเรื่องการประหยัดพลังงานดังนี้ 

กำลังผลิต 737 กิโลวัตต์(kWp) คิดเป็นค่าไฟฟ้า 3.60 บาท/กิโลวัตต์ชั่วโมง (KWH) ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้10% หรือประหยัดได้ประมาณ 335,659 บาท/ปีเป็นระยะ 20ปี รวมประหยัดได้มากถึง 6.7 ล้านบาท ทั้งนี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะบริการดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์ ตรวจสอบ ประเมินประหยัดตลอดระยะเวลาโครงการ 20ปีอีกด้วยซึ่งถือว่าคุ้มค่ามาก  

สำหรับพิธีเปิดระบบ Solar Floating เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา มีนายชัยณรงค์ เปาอินทร์ รองผู้อำนวยการ อ.ส.ค. เป็นประธานในพิธีเปิด โดยรองผู้อำนวยการ อ.ส.ค. กล่าวว่า “อ.ส.ค.ยังได้เล็งเห็นถึงการใช้พลังงานสะอาดโดยได้ทำการศึกษาและพิจารณาเทคโนโลยีสะอาด  เพื่อเป็นทางเลือกในการประหยัดพลังงานและลดภาวะโลกร้อน 

ดังนั้นการเลือกใช้ระบบ PV Solar floating จึงเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุดในปัจจุบัน  และการใช้พลังงานไฟฟ้าที่อ.ส.ค.ในปัจจุบันมีค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุดถึง 808 KW และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

โครงการดังกล่าวถือเป็นเลือกอนุรักษ์พลังงานในองค์กรรูปแบบ “ESCO” เพื่อช่วยลดต้นทุนพลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานในหน่วยงาน ซึ่งปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการจากหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล รวมทั้งภาคเอกชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ