ผลประเมินเงินกู้โควิด 1 ล้านล้าน ดัน 'Real GDP' ไทย โตเฉียด 5%
คลังประเมินผลเงินกู้โควิดก้อนแรกให้ ครม.ทราบจากการใช้จ่ายเงินกู้ฯ 9.5 แสนล้านบาท ได้ผลดีททั้ง 3 แผนงานส่งผลให้มูลค่าจีดีพีรวมตั้งแต่ปี2563-2566เพิ่มขึ้น 8 แสนล้านล้านบาท Real GDP เพิ่มขึ้น4.89 % โอัตราเงินเฟ้อตั้งแต่ปี2563-2566ปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ย0.05%ต่อปี
นายอนุชา บูรพไชยศรี ปฎิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)รับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ รายงานการประเมินผลโครงการในภาพรวม รอบ 6 เดือน ครั้งที่ 3 และรายงานการประเมินผลลัพธ์ต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563
สรุปได้ว่าแผนงานที่ 1 แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อแก้ไขปัญหาโควิด-19 จากการประเมินผล51โครงการ วงเงิน63,398.96ล้านบาท มีผลเบิกจ่าย59,051.04ล้านบาท คิดเป็น93.14%ของกรอบวงเงินมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดีมากทำให้
เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ63,559.74ล้านบาท มีรายได้จากการจัดเก็บภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อมที่คาดว่ารัฐจะได้รับกลับคืนสูงสุด ภายในระยะเวลา3ปี12,267.03ล้านบาทช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่ติดเชื้อโควิด-19ยกระดับการดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนาการผลิตวัคซีน และเพิ่มความเชื่อมั่นของบุคลากรทางการแพทย์ต่อระบบสาธารณสุขของประเทศไทย
ขณะที่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและอาสาสมัครสาธารณสุขได้รับค่าตอบแทน เยียวยา และชดเชยค่าเสี่ยงภัย ทั้งสิ้น6,222.14ล้านบาท สถานพยาบาลและโรงพยาบาลทั่วประเทศได้รับการสนับสนุนครุภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์33,820รายการ เช่น เครื่องช่วยหายใจเครื่องเอกซเรย์ เครื่องตรวจความดัน รถพยาบาล วัสดุทางการแพทย์ และประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19จำนวน45.90ล้านโดส
สำหรับแผนงานที่2แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเยียวยา และชดเชยให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19จากการประเมินผล20โครงการ วงเงิน709,059.02ล้านบาท มีผลเบิกจ่ายรวม704,749.81ล้านบาท คิดเป็น99.39%มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดีมากทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ2,304,509.85ล้านบาท มีรายได้จากการจัดเก็บภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อมที่คาดว่ารัฐจะได้รับกลับคืนสูงสุด ภายใน3ปี จำนวน444,837.87ล้านบาท
รวมทั้งช่วยชะลอการเกิดหนี้เสียหรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สินครัวเรือน บรรเทาผลกระทบครอบครัวจากเงินช่วยเหลือเยียวยาต่าง ๆ และลดความเครียด ความวิตกกังวลของประชาชนโดยส่วนนี้เป็นการช่วยเหลือ เยียวยา ชดเชยรายได้ และบรรเทาค่าใช้จ่าย704,749.72ล้านบาท โดยมีผู้ได้รับผลประโยชน์ เช่น ประชาชนที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเราชนะ32,866,393ราย กลุ่มเปราะบาง6,663,602ราย และเกษตรกร 7,565,880 ราย
ด้านแผนงานที่ 3 แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19จากการประเมินผล329โครงการ กรอบวงเงินรวม208,354.27ล้านบาท มีผลเบิกจ่าย185,538.47ล้านบาท คิดเป็น89.05%ของกรอบวงเงิน มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดีมากทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ816,288.75ล้านบาท มีรายได้จากการจัดเก็บภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อมที่คาดว่ารัฐจะได้รับกลับคืนสูงสุดภายในระยะเวลา3ปี จำนวน173,052.59ล้านบาทได้มีการการจ้างงานและรักษาระดับการจ้างงานในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19จำนวน237,884รายยกระดับกำลังการผลิตผ่านการพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่และพื้นที่ต้นแบบ “โคก หนอง นา”
รวมทั้งยกระดับกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่55,651แปลงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นการปรับปรุงซ่อมแซม ถนน จำนวน548แห่ง และจัดการแหล่งน้ำต่าง ๆทั้งแหล่งน้ำชลประทาน แหล่งน้ำบาดาล และแหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวน782แห่ง
ผลกระทบต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจ(Gross domestic product GDP)จากการใช้จ่ายเงินกู้ฯ950,590.60ล้านบาท ส่งผลให้มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเด็น(จีดีพี)รวมตั้งแต่ปี2563-2566เพิ่มขึ้น 8 แสนล้านบาท และเมื่อพิจารณาตามแผนงานพบว่า การใช้จ่ายเงินกู้ตามแผนงานที่2ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19ส่งผลให้มูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากที่สุด0.59ล้านล้านบาทขณะเดียวกัน
การใช้จ่ายเงินกู้ฯส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริง (Real GDP Growth) เพิ่มขึ้นทั้งหมด 4.89 % โดยในปี 2564 อัตราเติบโตเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 2.48%ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อตั้งแต่ปี2563-2566ปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ย0.05%ต่อปี โดยในปี2564เพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่0.08%