กฟผ.เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมพลังงานสะอาด

กฟผ.เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมพลังงานสะอาด

กฟผ..เดินหน้าสู่พลังงานสะอาด ทั้งโซล่าร์เซลล์ไฮบริดลอยน้ำ โครงข่ายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนมาใช้ พร้อมระบบกักเก็บพลังงามาใช้ เร่งปลูกป่าล้านไร่ ดูดซับคาร์บอน จับมือการเคหะแห่งชาติจัดบ้านเบอร์ 5 ประหยัดพลังงาน

นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวในหัวข้อ การก้าวสู่ผู้ผลิตพลังงานสะอาด ในงานสัมมนา “Innovation Keeping the World นวัตกรรมรักษ์โลก ไทยอยู่จุดไหน?” ว่า   กฟผ.เริ่มนำเทคโนโลยีพลังงานสะอาดมาประยุกต์ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของกฟผ.โดยนำแผงโซล่าร์เซลล์ไฮบริดลอยน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้า โดยนำร่องที่เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี ใช้โซลาร์เซลล์ไฮบริดลอยน้ำ  ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในการจัดหาที่ดิน  พร้อมทั้งออกแบบใช้อุปกรณ์ร่วมกับโรงไฟฟ้าเดิม อาทิ หม้อแปลง สายส่ง ให้ใช้ได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งการเลือกใช้พื้นที่และการออกแบบดังกล่าว ส่งผลให้มีต้นทุนที่แข่งขันได้  ปัจจุบันหลายโรงงงานที่มีบ่อบำบัดน้ำเสีย บ่อน้ำจืด ก็เริ่มนำโมเดลแผงโซลาร์เซลล์ลอยน้ำในบ่อบำบัดน้ำเสีย   ซึ่งลดการใช้ที่ดินในโรงงานแล้ว

กฟผ.ได้พัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัย (Grid Modernization) สามารถรองรับการนำพลังงานหมุนเวียนมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยยังคงมีความมั่นคงของระบบผลิตไฟฟ้าในภาพรวม อาทิ การจัดตั้งศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน การนำระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System: ESS) มาใช้  มีอยู่  2 ระบบ คือโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ (Pumped Storage Hydro Plant) ซึ่งมีอยู่ที่เขื่อนภูมิพล จ.ตาก   เขื่อนศรีนครินทร์จ.กาญจนบุรี และเขื่อนลำตะคลองที่จ.นครราชสีมา โดยการนำกระแสไฟฟ้าจากระบบการผลิตในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าน้อยมาใช้สูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำที่มีอยู่เดิม ขึ้นไปเก็บพักไว้ในอ่างพักน้ำตอนบนที่สร้างขึ้นใหม่ แล้วปล่อยน้ำลงมาผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงในแต่ละวัน 

2.ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System : BESS) เป็นการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้า โดยการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน เพื่อลดปัญหาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้กฟผ.ยังในระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าในรูปแบบก๊าซไฮโดรเจนทั้งใช้ก๊าซไฮโดรเจนมาผลิตไฟฟ้าโดยผ่านเซลล์เชื้อเพลิง  และใช้โฮโดรเจนเป็นตัวเก็บไฟในตอนกลางวันจากกังหันลม

นอกจากนี้ กฟผ. ยังเดินหน้าศึกษาเทคโนโลยีพลังงานสะอาด เช่นการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนและแอมโมเนียที่ไม่ปล่อยคาร์บอนระหว่างการเผาไหม้เพื่อเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกในการผลิตไฟฟ้า เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน เช่น การนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการผลิตไฟฟ้ามาแปรรูปเป็นเมทานอลสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรม

รวมทั้งการเพิ่มปริมาณการดูดซับกักเก็บคาร์บอน ด้วยโครงการปลูกป่าล้านไร่แบบมีส่วนร่วม 1ล้านไร่ โดยในปี 2565 สามารถเพิ่มพื้นที่ปลูกป่ารวมกว่า 1.03 แสนไร่ ตั้งเป้าปลูกป่าในปี 2566 จำนวน 1 แสนไร่ ซึ่งมีเป้าหมายปลูกป่าให้ครบ 1 ล้านไร่ในปี 2574  กฟผ.ยังเตรียมยกระดับการจัดการใช้พลังงานของภาคประชาชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและลดคาร์บอนอย่างเป็นรูปธรรมผ่านฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 โฉมใหม่ ที่แสดงค่าการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า กำหนดเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนก.ย.นี้  

ส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 กว่า 23  ผลิตภัณฑ์  โครงการฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพพลังงานสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย หรือโครงการบ้านเบอร์ 5 โดยร่วมกับการเคหะแห่งชาติ จัดบ้านเบอร์ 5 โดยการออกแบบก่อสร้างและเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่มีประสิทธิภาพสูงและอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 ในโครงการที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ