กรมส่งเสริมการเกษตร เล็งขยายผลแม่แจ่มโมเดล สร้างรายได้ ธรรมชาติยั่งยืน

กรมส่งเสริมการเกษตร เล็งขยายผลแม่แจ่มโมเดล  สร้างรายได้ ธรรมชาติยั่งยืน

กรมส่งเสริมการเกษตร ถอดแม่แจ่มโมเดล เพื่อขับเคลื่อน นำไปขยายผลในพื้นที่ภาคเหนือมุ่งเป้าบูรณาการ ประโยชน์ต่อพื้นที่ ด้านรายได้ ความเป็นอยู่ วิถีชีวิต และสิ่งแวดล้อม

นายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานการประชุมหารือกรณีศึกษาถอดบทเรียนแม่แจ่มโมเดล เพื่อขยายผลในพื้นที่สูงอื่นๆ โดยมีนายสุระวุธ จันทร์งาม นายอำเภอแม่แจ่ม คณะเจ้าหน้าที่จาก กรมส่งเสริมการเกษตร เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ผู้แทนโครงการหลวง ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกำนันในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

กรมส่งเสริมการเกษตร เล็งขยายผลแม่แจ่มโมเดล  สร้างรายได้ ธรรมชาติยั่งยืน กรมส่งเสริมการเกษตร เล็งขยายผลแม่แจ่มโมเดล  สร้างรายได้ ธรรมชาติยั่งยืน

โดยที่ประชุมได้หารือผลสำเร็จจากการขับเคลื่อนแม่แจ่มโมเดล ที่เน้นการมีส่วนร่วม ของพื้นที่ ซึ่งมีรูปแบบการทำงานที่สอดประสานทุกภาคส่วน ทั้งส่วนราชการ ภาคประชาชน เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จนประสบผลสำเร็จและเป็นแบบอย่าง

 

 

ตั้งแต่การจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นาให้เพิ่มมูลค่า ทั้งการจำหน่าย การจัดทำเป็นปุ๋ย การใช้เป็นอาหารสัตว์ และการกำจัดในห้วงเวลาที่เหมาะสม การมีภาคีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างส่วนราชการ กำนันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ลงไปถึงประชาชน

กรมส่งเสริมการเกษตร เล็งขยายผลแม่แจ่มโมเดล  สร้างรายได้ ธรรมชาติยั่งยืน

โดยมีการสื่อสารในรูปแบบ 2 ทาง การนำเอาองค์ความรู้ จากหน่วยงานวิชาการเข้ามาดำเนินการในพื้นที่จนประสบผลสำเร็จ และการมุ่งเป้าการบูรณาการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่ ทั้งด้านรายได้ ความเป็นอยู่ วิถีชีวิต และสิ่งแวดล้อม

กรมส่งเสริมการเกษตร เล็งขยายผลแม่แจ่มโมเดล  สร้างรายได้ ธรรมชาติยั่งยืน

ต่อจากนั้น ทางคณะได้ลงพื้นที่แม่แจ่ม เยี่ยมชมและติดตามผลการดำเนินงานแม่วากโมเดล ที่มีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการเกษตร ในพื้นที่สูงจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มาเป็นไม้ผล  พืชผัก และเกษตรผสมผสาน ในพื้นที่ตำบล แม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการปรับลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดที่ได้ราคาไม่แน่นอน และก่อปัญหามลพิษเป็นประจำทุกปี กลายเป็นพืชผัก อินทรีย์ ที่มีตลาดรองรับตลอดทั้งปี และกิจกรรมไม้ผล เช่น อะโวคาโด ทุเรียน กล้วยองุ่น ที่จะเป็นการสร้างป่า สร้างรายได้ สร้างความยั่งยืนให้กับธรรมชาติ เป็นต้นแบบของการพัฒนาบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน ของแม่วากโมเดล โดยทางกรมส่งเสริมการเกษตรจะนำตัวอย่างของความสำเร็จดังกล่าว ไปเป็นตัวอย่างเพื่อขยายผลในพื้นที่ภาคเหนือและพื้นที่อื่นๆ ต่อไป