‘ครม.’ ไฟเขียว ‘แพคเกจ EV 3.5’ 3.4 หมื่นล้าน หนุนรถไฟฟ้าต่อเนื่อง
"เศรษฐา" นั่งหัวโต๊ะ "ครม." ไฟเขียวมาตรการ "แพคเกจ EV 3.5" วงเงิน 3.4 หมื่นล้าน หนุนรถไฟฟ้าในไทยให้เติบโตต่อเนื่อง
นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการมาตรการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าระยะที่ 2 (EV 3.5) ระยะเวลา 4 ปี (2567-70) วงเงิน 3.4 หมื่นล้านบาท ตามที่คณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) เสนอ
โดยเป็นมาตรการที่จะสนับสนุนการใช้รถ EV ในประเทศไทยต่อเนื่องจากมาตรการ EV 3.0 ทีจะหมดอายุในวันที่ 31 ธ.ค. 2566 เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเปิดโอกาส ให้เกิดการลงทุนผลิต EV ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้มาตรการ EV -3.5 จะเริ่มเริ่มบังคับใช้ 1 ม.ค. 2567 ไปจนถึง 31 ธ.ค.2570
สำหรับมาตรการ EV 3.5 จะมีผลใช้บังคับในช่วงปี 2567 - 2570 โดยครอบคลุมทั้งรถยนต์ไฟฟ้า รถกระบะไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า โดยสิทธิประโยชน์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ เงินอุดหนุน การลดอัตราอากรขาเข้ารถยนต์สำเร็จรูป และการลดอัตราภาษีสรรพสามิต โดยเงินอุดหนุนจะเป็นไปตามประเภทของรถ และขนาดของแบตเตอรี่ ดังนี้
- กรณีรถยนต์ฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kVh จะได้รับเงินอุดหนุน 100,000 บาท/คันในปีที่ 1 75,000 บาท/คัน ในปีที่ 2 และ 50,000 บาท/คัน ในปีที่ 3 - 4 สำหรับรถที่มีขนาดแบตเตอรี่ต่ำกว่า 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน 50,000 บาพ/คัน ในปีที่ 1 35,000 บาพ/คัน ในปีที่ 2 และ 25,000 บาท/คัน ในปีที่ 34
- กรณีรถกระบะไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน 100,000 บาท/คัน ตลอดระยะเวลา 4 ปี เฉพาะส่วนที่ผลิตในประเทศ
- กรณีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 150,000 บาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 3 KWh จะได้รับเงินอุดหนุน 10,000 บาท/คัน ตลอดระยะเวลา 4 ปี เฉพาะส่วนที่ผลิตในประเทศ
นอกจากนี้ ภายใต้มาตรการ EV 3.5 จะมีการลดอากรขาเข้าไม่เกินร้อยละ 40 สำหรับการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า สำเร็จรูป (CBU) ที่มีราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ในช่วง 2 ปีแรก (พ.ศ. 2567 - 2568) และลดอัตราภาษีสรรพสามิตจาก ร้อยละ 8 เหลือร้อยละ 2 สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท โดยได้กำหนดเงื่อนไขการลงทุนในประเทศ ให้ผู้ได้รับ
ส่วนการสนับสนุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อชดเชยการนำเข้าภายในปี 2569 ในอัตราส่วน 1 : 2 (นำเข้า 1 คัน ผลิตชดเชย 2 คัน) และจะเพิ่มอัตราส่วนเป็น 1 : 3 ในปี 2570 โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายเดิมที่เข้าร่วมมาตรการ EV3 แล้วหากมีความประสงค์จะเข้าร่วมมาตรการ EV3.5 ให้สามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ได้ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ของแต่ละมาตรการ ภายใต้มาตรการ EV3.5
กรมสรรพสามิตคาดว่าจะมียานยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับการสนับสนุนตลอดระยะเวลา 4 ปี จำนวนประมาณ 830,000 คัน โดยแบ่งเป็นรถนต์ไฟฟ้า 454,000 คัน รถจักรยานนต์ไฟฟ้า 346,000 คัน และรถกระบะ ไฟฟ้า 30,000 คัน โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณจำนวน 34,000 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 4 ปี
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้กรมสรรพสามิตขยายเวลาการจดทะเบียนยานยนต์ฟฟ้าที่ได้รับสิทธิตามมาตรการEV 3 จากเดิมที่ต้องจดทะเบียนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ให้ขยายเวลาเป็นต้องจำหน่ายภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566และต้องจดทะเบียนภายในวันที่ 31 มกราคม 2567 เพื่อให้ผู้บริโภคที่ตัดสินใจซื้อยานยนต์ไฟฟ้าในช่วงปลายปี 2566 สามารถยื่นจดทะเบียนได้ทันภายในเดือนมกราคม 2567
ทั้งนี้ บีโอไอจะร่วมกับกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพลังงาน จัดการ ประชุมผู้ประกอบการรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เพื่อชี้แจงรายละเอียดของมาตรการ EV 3.5 รวมถึงมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและ เข้าใจตรงกันระหว่างผู้ประกอบการและ
หน่วยงานภาครัฐ ในวันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม 2566 เวลา 13.30 - 16.00 น. ณ C asean ห้องประชุม Auditorium ชั้น 10 อาคาร CW Tower ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ