กู้แจก ดิจิทัล วอลเล็ต ใกล้สุดทาง ป.ป.ช. ชี้เสี่ยงผิดกม.-เศรษฐกิจไม่วิกฤติ
ความเห็นเงินดิจิทัลของ ป.ป.ช.สะเทือนรัฐบาล “ภูมิธรรม” เลื่่อนประชุมบอร์ดดิจิทัลวอลเล็ต รอรายงานของ ป.ป.ช. “เลขากฤษฎีกา” ระบุรัฐบาลควรรับฟังความเห็น ป.ป.ช.ในฐานะหน่วยงานอิสระ “จุลพันธ์“ ยืนยันไม่ลดขนาดโครงการเหลือ 3 แสนล้านบาท ยืนยันแจกเงินตามไทม์ไลน์เดิม พ.ค.67
นโยบายการแจกเงินดิจิทัลคนละ 10,000 บาท วงเงินรวม 500,000 ล้านบาท กำลังถูกท้าทายถึงความเหมะสมในการออก พ.ร.ก.กู้เงิน 500,000 ล้านบาท โดยเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกายืนยันว่าไม่มีความเห็นในลักษณะ “ไฟเขียว” แต่มีความเห็นทางกฎหมายที่รัฐบาลออก พ.ร.ก.กู้เงินได้ บนเงื่อนไขตามมาตรา 53 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง
ล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มอบหมายให้คณะกรรมการเพื่อศึกษาและดำเนินการรับฟังความเห็นเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต โดยมีการเปิดเผยข้อเสนอเมื่อวันที่ 16 ม.ค.2567 เห็นว่ามีรายละเอียดโครงการระหว่างก่อนเลือกตั้งกับการดำเนินนโยบายเมื่อเป็นรัฐบาลที่แตกต่างกัน หรือไม่ตรงปกกับที่หาเสียงไว้ รวมทั้งเห็นวาเศรษฐกิจไทยยังไม่วิกฤติและส่อสุ่มเสี่ยงขัดต่อกฎหมาย
ประเด็นสำคัญที่ ป.ป.ช.ชี้ถึงการไม่ตรงปก ประกอบด้วย วงเงินงบประมาณที่นำเสนอไว้เดิม 560,000 ล้านบาท แหล่งเงินมาจากมาตรการกึ่งการคลัง 4 ส่วน คือ การภาษีเก็บได้เพิ่มจาก GDP ขยายตัว 260,000 ล้านบาท , ภาษีเงินได้นิติบุคคลและ VAT 100,000 ล้านบาท , การเกลี่ยงบประมาณ 110,000 ล้านบาท และบริหารงบสวัสดิการที่ซ้ำซ้อน 90,000 ล้านบาท
2.วิกฤติการไหลออกของเงินทุนระหว่างประเทศอย่างรุนแรงและดุลการชำระเงิน ซึ่งสูญเสียเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเฉียบพลันและรุนแรง
3.วิกฤติค่าเงิน ที่ค่าเงินอ่อนค่าเฉียบพลันและรุนแรง
4.วิกฤติหนี้ ที่การชำระเงินต้นและดอกเบี้ยไม่ได้ตามกำหนดในวงกว้าง
5.วิกฤติการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ GDP หดตัวฉับพลันและรุนแรง
6.วิกฤติการคลัง ที่การคลังมีรายรับไม่พอรายจ่ายเรื้อรัง ยากลำบากในการชำระคืนหนี้
7.วิกฤติเงินเฟ้อ ที่อัตราเงินเฟ้อสูงเกิน 4% ต่อเดือน
ในขณะที่ข้อเสนอล่าสุดกำหนดวงเงิน 500,000 ล้านบาท มีแหล่งเงินจากการออก พ.ร.ก.กู้เงิน 500,000 ล้านบาท
รายงานของ ป.ป.ช.ชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยยังไม่อยู่ในระดับวิกฤติ โดยมีการยกสถานการณ์วิกฤติ 7 ด้าน ตามนิยามของธนาคารโลกมานำเสนอ ซึ่งไทยยังไม่เข้าข่ายวิกฤติทั้ง 7 ด้าน คือ
1.วิกฤติสถาบันการเงิน ในด้านสภาพคล่องที่สถาบันการเงินมีสภาพคล่องไม่พอจ่ายเจ้าหนี้ และด้านการล้มละลายที่ สถาบันการเงินมีเงินกองทุนในอัตราส่วนไม่เพียงพอรับความเสียหาย เช่น การด้อยค่าของสินทรัพย์
ในขณะที่สถานการณ์วิกฤติในรอบ 25 ปี ที่ผ่านมา ได้มีการออกกฎหมายเพื่อกู้เงินประกอบด้วย
1.วิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540-2541 GDP ติดลบมากกว่า 7.6% รัฐบาลออก พ.ร.ก.กองทุน FIDF 1.28 ล้านล้านบาท
2.วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ปี 2551-2552 GDP ติดลบ 0.7% รัฐบาลออก พ.ร.ก.ไทยเข้มแข็ง 400,000 ล้านบาท
3.มหาอุทกภัยปี 2555 รัฐบาลออก พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ 350,000 ล้านบาท
4.วิกฤติโควิด-19 ปี 2562-2564 GDP ติดลบ 6.2% รัฐบาลออก พ.ร.ก.กู้เงิน 2 ฉบับ รวมวงเงิน 1.5 ล้านล้านบาท
ชี้ยังไม่เห็นสัญญาณวิกฤติเศรษฐกิจ
ในขณะเดียวกันจากข้อมูลของสานักงบประมาณของรัฐสภา (สงร.) ได้มีการประเมินผลกระทบทางการคลัง15 ที่สาคัญของโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ดังนี้
ภาระดอกเบี้ยหนี้สาธารณ ะเพิ่มขึ้น 15,8000 ล้านบาท/ปี (คำนวณจาก Government Bond Yield อายุ 10 ปี วันที่ 14 พ.ย.2566 เท่ากับ 3.16%) ในขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP เพิ่มขึ้น 2.65%
รวมทั้งการประมาณการรายได้สุทธิหลังหักจัดสรร เพิ่มขึ้นภายใน 5 ปี ประมาณ 145,000 ล้านบาท และคาดว่าจะชำระต้นเงินกู้เพิ่มจากเดิมปีละ 125,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากข้อมูลประเด็นความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจได้ผลสรุปชัดเจนว่าสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันยังไม่เข้าข่ายวิกฤติ และยังไม่เห็นสัญญาณวิกฤติเศรษฐกิจในไทย โดยมีการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2566 จะขยายตัว 2.5% ในระยะปานกลางขยายตัวเฉลี่ย 3.3% ในปี 2567 และ 2568 มีแนวโน้มขยายตัวสมดุลมากขึ้น
โดยคาดว่าในปี 2568 กรณีไม่รวมโครงการขยายตัว 3.1% กรณีรวมโครงการขยายตัว 2.8% ประกอบกับโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นโครงการแจกเงินเพียงครั้งเดียว จึงไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนและต่อเนื่องที่จะต้องดาเนินการเพื่อแก้ไข ดังนั้น หากรัฐบาลจะตรา พ.ร.บ.กู้เงิน 500,000 ล้านบาท เพื่อมาดำเนินโครงการเติมเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ผ่าน Digital Wallet จึงควร
ได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ มิฉะนั้น จะมีความเสี่ยงที่จะผิดเงื่อนไขตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง พ.ศ.2561
เตือนออก พ.ร.บ.-พรก.ให้รอบคอบ
ส่วนประเด็นข้อกฎหมายมีการสรุปในรายงานฉบับนี้ว่า การการตราเป็น พ.ร.บ.ที่จะเข้าลักษณะของการเป็น พ.ร.บ.
เกี่ยวด้วยการเงิน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 134 ซึ่งต้องพิจารณาตามกระบวนการของรัฐสภา
ขณะที่การตราเป็น พ.ร.ก.ให้ทำได้เฉพาะเมื่อ ครม.เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้น ในกรณีโครงการเติมเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ผ่าน Digital Wallet รัฐบาลต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่าจำเป็นเร่งด่วนและต่อเนื่องเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติของประเทศ โดยไม่อาจตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ทันหรือไม่
ความเห็นของ ป.ป.ช.ดังกล่าวส่งผลให้รัฐบาลเลื่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ที่กำหนดไว้ในวันที่ 16 ม.ค.2567 เพื่อรอความเห็นจาก ป.ป.ช.อย่างเป็นทางการ
รัฐบาลรอความเห็นของ ป.ป.ช.
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การเลื่อนประชุมครั้งนี้ จะเลื่อนออกไประยะเวลาสั้น เพราะได้รับหนังสือความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว และรอหนังสือจาก ป.ป.ช.จึงจะนำความเห็นทั้ง 2 หน่วยงาน เข้าสู่ที่ประชุมพร้อมกันเพื่อนไม่ต้องประชุมหลายครั้ง เพราะไม่รู้ว่าข้อเสนอแนะไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่
“รอดูรายละเอียดจาก ป.ป.ช.และอาจดีที่จะได้รอนายกรัฐมนตรีกลับมาจากต่างประเทศ แต่จะประชุมได้อีกทีเมื่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พร้อมหน้ากันในช่วงการประชุม ครม.สัญจร จังหวัดระนอง คาดว่าทุกเรื่องจะประชุมได้หลัง ครม.สัญจร” นายภูมิธรรม กล่าว
ทั้งนี้ ความเห็นที่ทุกฝ่ายเสนอมามีน้ำหนักเท่ากัน และรัฐบาลจะรับฟังภายใต้เงื่อนไขวัตถุประสงค์โครงการ โดยจะมีคำตอบให้ประชาชนแน่นอน เพราะเป็นนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา แต่รัฐบาลมาบริหารประเทศช่วงสถานการณ์แย่ การบริหารงานจึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขตามปกติที่จะใช้เงินงบประมาณปี 2567 ที่ประกาศใช้เดือน พ.ค.2567 แต่จะไม่ให้ข้อจำกัดเหล่านี้เป็นข้อสะดุดลงของโครงการ
"ประเด็นวิกฤติหรือไม่นั้นใครเป็นคนกำหนดหากถามผมก็บอกว่าวิกฤติ แต่ถามฝ่ายค้านบอกว่าไม่วิกฤติ ทั้งที่ก่อนเข้ามาทำงานบอกว่าวิกฤติจะทำงานร่วมกัน ต้องดูตามความเป็นจริงไม่ใช่ดูตามอารมณ์ ส่วนไทม์ไลน์หากมีความเห็นว่าไม่สามารถทำได้ตามไทม์ไลน์ที่กำหนดและต้องยืดเวลาออกไปก็ต้องยืด แต่วันนี้ยังวางไทม์ไลน์ไว้ตามเดิม” นายภูมิธรรม กล่าว
กฤษฎีการะบุรัฐบาลควรฟังความเห็น ป.ป.ช.
นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า การที่ ป.ป.ช.ที่เป็นองค์กรอิสระเสนอความเห็นมาเป็นเรื่องที่รัฐบาลควรรับฟังเพื่อประกอบการพิจารณาให้รอบคอบ
“หลักคือรับฟังความคิดเห็นเพื่อมาประกอบการตัดสินใจ ยิ่งได้รับข้อมูลมากจะทำให้เกิดความละเอียดรอบคอบมากยิ่งขึ้น”นายปกรณ์กล่าว
ส่วนควรยึดถือความเห็นของหน่วยงานใด เห็นว่า หากเป็นตัวเลขเศรษฐกิจจะประกอบด้วย สำนักงานสภาพัฒนาสภาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
มั่นใจแจกเงินได้ตามกำหนด พ.ค.67
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ยังไม่มีการหารือเกี่ยวกับการลดขนาดโครงการลงจาก 500,000 ล้านบาท เหลือ 300,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินการในปีงบประมาณ 2568
ส่วนการเลื่อนประชุมครั้งนี้เพราะจะนำความเห็นของ ป.ป.ช.เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมด้วย เพิ่มเติมจากความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่รัฐบาลจะได้พิจารณาให้รอบด้าน
“ไม่ว่าเอกสารจาก ป.ป.ช.จะมาวันไหนคงใช้เวลาอีกไม่นาน แล้วต้องนำเอกสารมาดูให้ละเอียดก่อนเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมพร้อมกันกับคำตอบของคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อตอบสนองต่อข้อเรียกร้องและข้อเสนอแนะให้ถูกต้องและครบถ้วน จะได้เดินหน้าโครงการต่อ“
นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ระยะเวลาการเริ่มต้นโครงการตามที่กำหนดไว้เริ่มกระชั้น แต่รัฐบาลคงตั้งเป้าเดินหน้าโครงการตามกรอบเวลาเดิมในเดือ พ.ค.2567 โดยยืนยันว่า ยังไม่มีแผนสำรองในขณะนี้ ซึ่งการออก พ.ร.ก.เป็นอำนาจที่รัฐบาลทำได้ แต่ขณะนี้รัฐบาลจะเดินหน้าด้วยการออก พ.ร.บ.เงินกู้ เพื่อให้ดำเนินการได้ตามที่รัฐบาลวางแผนไว้