เปิดข้อเท็จจริง เติมน้ำมัน 'ไม่เต็มลิตร'

เปิดข้อเท็จจริง เติมน้ำมัน 'ไม่เต็มลิตร'

เปิดข้อเท็จจริงกรณี เติมน้ำมัน "ไม่เต็มลิตร" ชี้การดัดแปลงห้วจ่ายได้ไม่คุ้มเสีย โทษจำคุก 7 ปี ปรับ 2.8 แสน "พลังงาน-พาณิชย์" ลุยตรวจสอบ ล่าสุดยังไม่พบผิดปกติ

Key points

  • "พลังงาน" ย้ำดัดแปลงหัวจ่ายน้ำมันจำคุก 7 ปี ปรับไม่เกิน 2.8 แสนบาท
  • การดัดแปลงหัวจ่ายน้ำมันได้ไม่คุ้มเสีย เปิดทุกขั้นตอนการให้บริการปั๊มน้ำมัน
  • ระหว่างให้บริการทุกปั๊มต้องทดสอบหัวจ่ายทุกต้นเดือน โดยอัตราคลาดเคลื่อนต้องเกิน 0.5%

นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สุ่มตรวจสอบตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและมาตรวัดปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง ณ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. สำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดีรังสิต ร่วมกับกรมการค้าภายใน เพื่อตรวจสอบหัวจ่ายน้ำมันว่ามีความคลาดเคลื่อน และปฏิบัติถูกต้องเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่นั้น สืบเนื่องจากกรณีการจ่ายน้ำมันให้ประชาชนไม่เต็มลิตรของสถานีบริการน้ำมัน

ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบ ไม่พบหัวจ่ายน้ำมันเครื่องใดมีความคลาดเคลื่อน และผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมัน ยืนยันว่าได้เข้มงวดเป็นพิเศษ เพราะความถูกต้องเที่ยงตรงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด และให้ความสำคัญกับความเชื่อมั่นของประชาชน โดยกรมธุรกิจพลังงานได้ประสานกับสำนักงานพลังงานจังหวัดทั่วประเทศ และสำนักชั่งตวงวัด กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ร่วมดำเนินการตรวจสอบกว่า 1,000 แห่ง ภายใน 31 ม.ค. 2567

สำหรับผู้ให้บริกาสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้จากเครื่องหมายคำรับรอง ซึ่งจะมีการปิดผนึกทั้งในส่วนของตู้ด้านนอกและในส่วนของอุปกรณ์ภายในตู้ ซึ่งหากชุดผนึกนี้มีการแตกหักเสียหาย ก็จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากพบว่ามีปริมาณน้ำมันคลาดเคลื่อนไม่เป็นไปตามกฎหมาย

โดยมีเจตนาแก้ไขดัดแปลงหัวจ่ายให้เกิดความคลาดเคลื่อนก็จะมีโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 280,000 บาท ทั้งนี้ กรมธุรกิจพลังงาน จะร่วมกับกรมการค้าภายในและสำนักงานพลังงานจังหวัด ติดตามและออกตรวจสอบสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชน

รายงานข่าวระบุถึงกระบวนการขั้นตอนก่อนการจําหน่ายนํ้ามัน แบ่งออกเป็น 

1. ก่อนการเปิดจําหน่าย เจ้าหน้าที่สํานักชั่งตวงวัดจะเข้าดําเนินการ ตรวจสอบ ทดสอบ พร้อมให้คํารับรองมิเตอร์ โดยใช้ถังตวงมาตรฐานขนาดปริมาตร 5 ลิตร และ 20 ลิตรในการทดสอบ และจะมีการตีตราซีลเพื่อป้องกันไม่ให้สามารถทําการแก้ไข ดัดแปลง หรือปรับแต่ง ปริมาณการจ่ายนํ้ามันได้ ทั้งนี้ จะต้องมีค่าเท่ากับ 0 หรือ +-ไม่เกิน 0.5% เท่านั้น  

2. ระหว่างการใช้งานสถานีบริการจะต้องทําการทดสอบปริมาณการจ่ายน้ำมันทุกมือจ่ายด้วยถังตวงมาตรฐาน ขนาดปริมาตร 5 ลิตร ทุกต้นเดือน และรวบรวมส่งรายงานต่อสํานักชั่งตวงวัด ทุก ๆ เดือน โดยใช้เกณฑ์การตรวจสอบระหว่างใช้งาน อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดที่ +- 50 มิลลิลิตร (ไม่เกิน 1%) 

2.1 ระหว่างการใช้งาน หากพบว่ามีปริมาณการจ่ายนํ้ามันคลาดเคลื่อนเกินหรือขาดมากกว่า +50 มิลลิลิตร ทางสถานีบริการจะหยุดการจําหน่ายมือจ่ายที่พบปัญหา (แขวนป้ายหยุดใช้งาน) และดําเนินการแจ้งสํานักชั่งตวงวัด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ เข้ามาตรวจสอบ และให้คํารับรองมาตรวัดปริมาตรนํ้ามันเชื้อเพลิงใหม่ 

2.2 สถานีบริการไม่สามารถทําการตัดซีลตีตราเพื่อทําการแก้ไข ดัดแปลง หรือปรับแต่งปริมาณการจ่ายนํ้ามันได้ หากเจ้าหน้าที่ตรวจพบ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 280,000 บาท ฉะนั้น จะไม่มีผู้ค้ารายใดทําการแก้ไขดัดแปลง เนื่องจากโทษปรับทางกฎหมายมีมูลค่าความเสียหายสูงกว่าการมาปรับแต่งมิเตอร์ 

เปิดข้อเท็จจริง เติมน้ำมัน \'ไม่เต็มลิตร\'

3. เมื่อสถานีบริการ ใช้งานตู้จ่ายนํ้ามัน จนอายุคํารับรองครบระยะเวลา 2 ปี  ทางสถานีบริการจะต้องนัดหมายเจ้าหน้าที่สํานักชั่งตวงวัดเข้ามาให้คํารับรองใหม่ ทั้งนี้ การให้คํารับรองจะมีอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดอยู่ที่ 0.5% ดังนั้น ทุกกระบวนการของสถานีให้บริการ ไม่ว่าจะก่อนเปิดสถานีบริการ ระหว่างที่การจําหน่าย จนกระทั่งจําหน่ายไปเป็นระยะเวลานึงแล้ว ต้องได้รับการตรวจสอบจากสํานักชั่ง ตวง วัด จะมีตราประทับรับรอง (ซีล) สถานีบริการ ไม่สามารถดัดแปลงแก้ไขได้ 

ตู้จ่ายน้ำมัน 

ก่อนจะเปิดการใช้งานหัวจ่ายจะต้องได้รับการตรวจสอบจากชั่ง ตวง วัด เรียกว่า “การตรวจสอบเพื่อรับรองตามประกาศกระทรวงพาณิชย์” ซึ่งกําหนดให้มีอายุ 2 ปี เพราะฉะนั้นทุก ๆ 2 ปี สํานักชั่งตวงวัดจะเข้าทําการทดสอบ และให้คํารับรองใหม่จึงจะสามารถเปิดให้บริการผู้บริโภคต่อไปได้ การตั้งค่าตู้จ่ายนํ้ามันก่อนเริ่มใช้งาน จะตั้งค่าให้เป็นศูนย์หรือบวกอยู่แล้ว แต่เนื่องจากตู้จ่ายเมื่อใช้ไปเป็นระยะเวลานาน อาจมีโอกาสเสื่อมสภาพ ทําให้ปริมาณการจ่ายนํ้ามันคลาดเคลื่อนไป ซึ่งมีโอกาสเป็นได้ทั้งบวกและลบ การกําหนดให้จ่ายนํ้ามันเกินไว้ตลอดจึงเป็นไปได้ยาก 

แนวทางแก้ไข

กําหนดขอบเขตค่าความคลาดเคลื่อนให้แคบลงหรือกําหนดระยะเวลาตรวจซ้ำให้สั้นลงเพื่อปรับค่าความคลาดเคลื่อนให้อยูู่ในขอบเขตของค่าความคลาดเคลื่อนที่กําหนดไว้ตลอดเวลา สถานีบริการจะต้องทําการทดสอบมือจ่ายและรวบรวมส่งรายงานต่อสํานักชั่ง ตวง วัด ทุก ๆ เดือน ซึ่งหากพบว่า ปริมาณการจ่ายนํ้ามันคลาดเคลื่อนต้องหยุดจําหน่าย แจ้งสํานักชั่งตวงวัดเพื่อให้เข้ามาตรวจสอบ และให้คํารับรองมาตรวัดปริมาตรนํ้ามันเชื้อเพลิงใหม่ ทั้งนี้ การตั้งค่าตู้จ่ายให้จ่ายน้ำมันไม่เต็มลิตรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ รวมถึงตั้งให้พอดี หรือเกินตลอดก็เป็นไปไม่ได้เช่นกัน 

หลักการเผื่อเหลือขาด 

อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดเป็นสิ่งที่กรมการค้าภายในกําหนด ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกําหนดชนิดและลักษณะของมาตรวัดปริมาตรของเหลว รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิต อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด และอายุ คํารับรอง พ.ศ.2562 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกําหนดชนิด และลักษณะของมาตรวัดปริมาตรนํ้ามันเชื้อเพลิงจ่ายก่อนเติม รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิต อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด และอายุคํารับรอง พ.ศ.2562

สําหรับสถานีบริการนํ้ามันมีการกําหนดอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตั้งแต่ก่อนการเปิดให้บริการ ระหว่างใช้งาน และเมื่ออายุคํารับรองครบระยะเวลา 2 ปี สถานีบริการนํ้ามันไม่สามารถดัดแปลงแก้ไขหัวจ่ายได้ มีโทษหนัก จําคุก 7 ปี ปรับไม่เกิน 280,000 บาท ทุกสถานีบริการนํ้ามันจะได้รับการตรวจสอบอยูู่ทุกเดือน โดยกรมการค้าภายใน ภายใต้มาตรฐานเดียวกันทุกสถานีบริการ เพื่อให้มั่นใจว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ถูกต้องตามมาตรฐานเสมอ 

ความเข้าใจผิดเกียวกับอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดในปริมาณทีแตกต่างกัน โดยมีความเข้าใจผิดในการคูณนํ้ามันที่ไม่ถูกต้องที่ว่าหากเติมนํ้ามันห้าลิตรและคลาดเคลื่อน 50 มิลลิลิตร แสดงว่าหากเติมมากกว่านี้นํ้ามันจะขาดไปมากขึ้น เช่น ไม่ใช่ว่าเติม 20 ลิตร หรือเติม 50 ลิตรแล้วจะคูณเพิ่มไปตามนั้น

เนื่องจากการเติมแต่ละครั้งมีโอกาสคลาดเคลื่อนเป็นลบ, ศูนย์ หรือบวก ภายในกรอบที่กําหนด เช่น เติม 5 ลิตร คลาดเคลื่อนเป็นลบ แต่เมื่อเติม 20 ลิตร คลาดเคลื่อนเป็นบวก อัตราคลาดเคลื่อนจึงไม่ได้เพิ่มขึ้นในอัตราทวีคณตามทีคนเข้าใจ 

ตัวอย่างตารางอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดของกระบวนการชั่งตวงวัด เปรียบเทียบระหว่างตามกฎหมายกับมาตรกํากับดูแลมาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงของกรมการค้าภายใน

ตามกฎหมาย 

1. ก่อนการเปิดจําหน่าย (อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด เท่ากับ +- 0.5%) 

2. ระหว่างการใช้งาน (อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด เท่ากับ +-1%) 

3. เมื่ออายุคํารับรองครบระยะเวลา 2ปี (อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด เท่ากับ +- 0.5%) 

การกํากับดูแลของหน่วยงาน ชั่ง ตวง วัด กรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์  

สํานักชั่ง ตวง วัด เป็นผู้ตรวจสอบมิเตอร์การจ่ายนํ้ามันของทุกสถานีบริการ ทุกแบรนด์ และเป็นหน่วยงานเดียวที่สามารถปรับแก้ไขมิเตอร์การจ่ายนํ้ามันได้ สถานีบริการน้ำมันไม่สามารถปรับแต่งมิเตอร์ได้เอง หากพบเจอผู้ใดอ้างว่าทําได้เป็นความเข้าใจที่ผิด และการทํางานของสํานัก ชั่ง ตวง วัด ในแต่ละพื้นที่และแต่ละสถานีบริการ จะมีมาตรฐานเดียวกัน 

การยอมรับในระดับสากล 

ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์การยอมรับอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดของการตรวจสอบปริมาณนํ้ามันให้ไม่เกิน 1% บวกลบไม่เกิน 1%

เกณฑ์การตรวจสอบ 

ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์มีกําหนดให้มีอายุ 2 ปี