"แพลททินัม ฟรุ๊ต” ปักธงอินเดียส่งออกลำไยคุณภาพ

"แพลททินัม ฟรุ๊ต” ปักธงอินเดียส่งออกลำไยคุณภาพ

เงื่อนไขทางการค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตร กลุ่มผัก ผลไม้ ที่มีรายละเอียดมากมายตั้งแต่สวน จนถึงโรงคัดบรรจุ แต่ทั้งหมดไม่ใช่ปัญหา หากสินค้าเหล่านั้นมีคุณภาพและมาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ คือนิยามของบริษัท แพลททินัม ฟรุ๊ต จำกัด ผู้ส่งออกผลไม้สด Top-5 ของไทย

KEY

POINTS

  • “แพลททินัม ฟรุ๊ต” เป็นผู้ส่งออกผลไม้สดและสินค้าเกษตรคุณภาพ Top-5 ของไทย อาทิ ทุเรียน ลำไย มังคุด มะพร้าว มีตลาดทั้งเอเชีย ยุโรป ส่งออกเฉลี่ยกว่า 18,000 ตันต่อปี ทำรายได้ 5,000 ล้านบาท ภายในหนึ่งทศวรรษ
  • เป้าหมายส่งออกลำไยคุณภาพในตลาดอินเดีย  ตลาดใหม่ ไม่มีคู่แข่ง เศรษฐกิจดีมีกำลังซื้อ เริ่มส่งออกไปแล้วเมื่อปลายปี 66  เฉลี่ย  20 ตันต่อสัปดาห์  
  • ริเริ่มโครงการส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพ โดยพาชาวสวนลำไยจากภาคเหนือมาเรียนรู้ศึกษางานที่จันทบุรีแหล่งผลิตลำไยคุณภาพ  

ณธกฤษ เอี่ยมสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพลททินัม ฟรุ๊ต จำกัด และบริษัทในเครือ กล่าวว่า บริษัท แพลททินัม ฟรุ๊ต เริ่มต้นจากการส่งออกทุเรียนและมังคุดสด ผ่านการขนส่งทางอากาศไปยังไต้หวันภายใต้แบรนด์ “888” ซึ่งเป็นธุรกิจครอบครัว ต่อมาเพื่อความสะดวกต่อการขยายธุรกิจและตลาด จึงแตกไลน์มาเป็น แพลททินัม ฟรุ๊ต อย่างเต็มตัว ในปี 2553 เริ่มเจาะตลาดทั้งเอเชีย และยุโรปอย่างจริงจัง

\"แพลททินัม ฟรุ๊ต” ปักธงอินเดียส่งออกลำไยคุณภาพ \"แพลททินัม ฟรุ๊ต” ปักธงอินเดียส่งออกลำไยคุณภาพ

ทำให้ปัจจุบัน “แพลททินัม ฟรุ๊ต” เป็นบริษัทTop-5 ของประเทศไทยที่ส่งออกผลไม้สดและสินค้าเกษตรคุณภาพสูง อาทิ ทุเรียน ลำไย มังคุด มะพร้าว โดยมีตลาดทั้งในเอเชีย ยุโรป ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน ฮ่องกง อินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ เป็นต้น มีปริมาณส่งออกเฉลี่ยมากกว่า 18,000 ตันต่อปี ทำรายได้กว่า 5,000 ล้านบาท ภายในหนึ่งทศวรรษ

"ต้องยอมรับว่า จีนคือตลาดใหญ่ของผลไม้ไทย โดยเฉพาะทุเรียน ลำไย แต่การค้าไม่ควรจะผูกขาดเพียงตลาดเดียว แพลททินัม ฟรุ๊ต จึงมุ่งเป้าขยายตลาดอินโดนีเซีย และอินเดียมากขึ้น สินค้าที่มีโอกาสในตลาดทั้ง 2 แห่งนี้คือ ลำไย แต่ต้องเป็นลำไยลูกใหญ่AAAเม็ดเล็กหวานฉ่ำๆ ขายในตลาดบนที่มีอำนาจการซื้อ โดยตลาดอินเดียนั้นเป็นตลาดใหม่ เริ่มส่งออกไปแล้วเมื่อปลายปี 66  เฉลี่ย  20 ตันต่อสัปดาห์  มั่นใจว่าอินเดียจะเป็นอีกตลาดหลักของลำไยที่ยังไม่มีคู่แข่ง และอัตราการเติบโต 2 digit อย่างต่อเนื่อง"  

\"แพลททินัม ฟรุ๊ต” ปักธงอินเดียส่งออกลำไยคุณภาพ

\"แพลททินัม ฟรุ๊ต” ปักธงอินเดียส่งออกลำไยคุณภาพ

 

อย่างไรก็ตาม แม้ลำไยของไทยจะปลูกกันมากในภาคเหนือเป็นวิถีชีวิต แต่ลำไยที่มีคุณภาพจริงๆแล้วอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี  ส่วนหนึ่งเป็นเพราะชาวสวนจังหวัดจันทรบุรีมีองค์ความรู้บริหารจัดการสวนที่ดีกว่า ทั้งระบบน้ำ การให้ปุ๋ยและรักษาธาตุอาหารในดินได้อย่างเหมาะสม  ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลผลิตลำไยที่มีคุณภาพส่งออกได้ตลอดทั้งปี บริษัทมีโครงการส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพ โดยพาชาวสวนลำไยจากภาคเหนือมาเรียนรู้ศึกษางานที่จันทบุรี สร้างแรงจูงใจให้พัฒนา แต่ปัญหาภาคเหนือคือระบบน้ำไม่ดี ซึ่งต้องพึ่งหน่วยงานรัฐเข้าไปส่งเสริมแต่ทั้งหมดไม่ควรใช้ระบบการประกันราคา เพราะจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คุณภาพลดลง

สำหรับตลาดแถบตลาดตะวันออกกลางโดยเฉพาะซาอุดีอาระเบีย ส่วนตัวแล้วมองว่ายังไม่น่าสนใจ เนื่องจากวัฒนธรรม ประเพณี ให้ความสำคัญกับอินทผาลัมเป็นหลัก ยังไม่ตอบรับลำไย ที่ให้รสชาติคล้ายกัน  ดังนั้นบริษัทจึงมองตลาดอินเดียเป็นหลัก  ซึ่งมีโอกาสตอบรับผลไม้ชนิดอื่นด้วย ยกเว้นทุเรียน ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จัก และมีอุปสรรคด้านการขนส่งใช้เวลานานกว่า 15- 20 วัน ทุเรียนคายน้ำเร็ว ดูแลยากเสี่ยงเน่าเสียได้

กลยุทธ์ในตลาดอินเดีย นั้น แพลททินัม ฟรุ๊ต จะสร้างพาสเนอร์ในพื้นที่ เป็นรายเล็กๆค่อยๆแข็งแกร่งเติบโตไปด้วยกัน   การที่อินเดียใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง ทำให้เจรจาเข้าใจได้เร็ว  อีกทั้งประชากรของอินเดีย ส่วนใหญ่ยังใช้แรงงานจึงนิยมทานผลไม้หวานๆเพื่อสร้างพลังงาน โอกาสลำไยในตลาดนี้จึงเติบโตสูง 

        ทั้งนี้แพลททินัม ฟรุ๊ต ดำเนินธุรกิจโดยให้ความสำคัญกับคุณภาพและมาตรฐาน โดยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐตรวจสอบคัดคุณภาพ เพื่อให้ได้มาตรฐาน ผ่านGlobal standard ตั้งแต่การคัดเลือกผลไม้จากสวนที่ได้มาตรฐานGAP และ Global GAP ผ่านการผลิตในโรงงานที่ได้มาตรฐานการผลิต อาทิ HACCP, GMP, GHP, DOA, และ Halal พร้อมบริการขนส่งที่มีการตรวจสอบคุณภาพเพื่อรักษาความสดของผลไม้ทุกลูก

\"แพลททินัม ฟรุ๊ต” ปักธงอินเดียส่งออกลำไยคุณภาพ

การดำเนินการทั้งหมดต้องควบคู่ไปกับการสร้างเครือข่ายเกษตรกร ซึ่งบริษัทได้สนับสนุนและส่งเสริมความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพให้ได้รสชาติ ขนาด ตามความต้องการของตลาดปลายทาง เช่น ความรู้เรื่องการพัฒนาดิน การให้น้ำ การหาสูตรปุ๋ยและสารบำรุงที่เหมาะสม การคัดขนาด รวมถึงวิธีการตัดและเก็บผลผลิตเพื่อให้ตรงความต้องการของตลาด

ทั้งหมดเท่ากับเป็นการสร้างอำนาจการต่อรองในตลาด ทำให้บริษัทสามารถเสนอราคารับซื้อที่สูงเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกร เป็นการยกระดับผลผลิตของเกษตรกรให้เป็นสินค้าเกรด Premium ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกของแพลททินัม ฟรุ๊ต เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

นอกจากนี้แพลททินัม ฟรุ๊ต เป็นรายแรกที่จัดการระบบโลจิสติกส์ตลอดValue Chain ลงทุนระบบขนส่งCold Chain เพื่อควบคุมอุณหภูมิสินค้าตลอดเส้นทาง ตั้งแต่การ Load สินค้าที่ต้อง คำนวณอุณหภูมิในตู้และจำนวนวันของการขนส่งในแต่ละจุด เพื่อรักษาคุณภาพความสดจนถึงปลายทาง และเป็นผู้ส่งออกรายแรกที่เริ่มมาตรการทำความสะอาดสินค้าในตู้และตู้เก็บสินค้าเพื่อสร้างความมั่นใจให้คู่ค้า สร้าง “ลานจอดพักตู้” ที่สามารถเชื่อมต่อระบบควบคุมความเย็นตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้ผลผลิตเสียหาย

เพื่อขยายธุรกิจและขยายตลาดให้มากขึ้น ในปี2567  แพลททินัม ฟรุ๊ต จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ โดยการลงทุนในอนาคตของบริษัท ยังจะอยู่ในสายงานผลไม้ และไม่มีการลงทุนในตล่างประเทศ ”   

สำหรับการส่งออกไม่เพียงแต่จะมีสินค้าที่มีคุณภาพเท่านั้น แต่ยังต้องรู้จักและเข้าใจวงจรธุรกิจทั้งหมดรู้จักคุณลักษณะของผลผลิตPremium gradeเข้าใจ Life Cycle ของ “ผลไม้” เข้าใจ pain point ของแต่ละช่องทางการขนส่ง และเข้าใจรสนิยมด้านรสชาติ “ผลไม้” ของตลาดปลายทางด้วย