ถอดรหัสความสำเร็จ ‘EVไทย’ นโยบายชัดเจน – ยืดหยุ่น – ทันโลก
ไขรหัสความสำเร็จนโยบายอีวีไทย หลังทำยอดขายปีที่ผ่านมาได้กว่า 7.6 หมื่นคันเติบโต 6.5 เท่า และมียอดขอส่งเสริมการลงทุนในโครงการที่เกี่ยวข้อง เลขาธิการบีโอไอกล่าวถึงหัวใจสำคัญคือการออกแบบนโยบายให้ยืดหยุ่นพร้อมปรับเปลี่ยนทันโลก จากทำงานร่วมกันระหว่างรัฐ-เอกชน
KEY
POINTS
- นโยบายส่งเสริมรถอีวีในประเทศไทยถือว่าประสบความสำเร็จเมื่อพิจารณาจากยอดขาย และการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
- ความสำเร็จของนโยบายนี้ไม่ได้มาจากความบังเอิญแต่เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชน
- เลขาธิการบีโอไอในฐานะเลขานุการบอร์ดอีวีแห่งชาติเล่าถึงที่มาของการออกแบบนโยบายที่ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้รถและผู้ผลิต
- หัวใจสำคัญคือการรับฟัง ออกแบบนโยบายให้ยืดหยุ่น และพร้อมปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
มาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของไทยที่สามารถกระตุ้นตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ในประเทศ
นำมาสู่การลงทุนในอุตสาหกรรมอีวีในประเทศไทยอย่างมากมาย โดยข้อมูล ณ สิ้นปี 2566 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้ให้
- รถยนต์อีวี
18 โครงการ 40,004 ล้านบาท - รถจักรยานยนต์อีวี 9 โครงการ 848 ล้านบาท
- รถบัสอีวีและรถบรรทุกอีวี 3 โครงการ 2,200 ล้านบาท
- แบตเตอรี่สำหรับรถอีวีและระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) 39 โครงการ 23,904 ล้านบาท
- ชิ้นส่วนสำคัญ
20 โครงการ 6,031 ล้านบาท - สถานีอัดประจุไฟฟ้า 14 โครงการ 4,205 ล้านบาท
ความสำเร็จของนโยบายส่งเสริมอีวีของประเทศไทยที่ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นจุดสนใจของค่ายรถยนต์อีวีทั่วโลก รวมไปถึงอุตสาหกรรม และซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องหลายรายนับเป็นความสำเร็จของการขับเคลื่อนนโยบายที่ควรจะมีการถอดบทเรียนความสำเร็จของการขับเคลื่อนนโยบายนี้ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายอื่นๆที่สร้างผลประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจของประเทศได้อนาคต
ทำนโยบายบนฐานข้อมูล รับฟังทุกภาคส่วน
นฤตม์ เทอดสถีศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในฐานะกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) กล่าวว่าการทำนโยบายอีวีของประเทศไทยถือว่าเป็นการทำนโยบายที่ตั้งอยู่บนข้อมูล เทรนด์ความต้องการของโลก มีการคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี โดยมีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศอย่างรอบด้าน นโยบายอีวีของประเทศไทยจึงมีการปรับเปลี่ยน และยืดหยุ่นเพียงพอที่จะรองรับสถานการณ์ของตลาด และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต
“ตอนนี้เรามีนโยบาย EV 3.0 และ EV 3.5 ต่อไปอาจมีการปรับเปลี่ยนอีก ส่วนถามถึงนโยบายEV4.0 วันนี้ยังไม่มีแต่ก็อาจจะมีได้ในอนาคตก็ได้ รวมทั้งเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่มีการใช้มากขึ้น เราก็จับตาดูอยู่ว่าจะพัฒนาไปในเชิงพาณิชย์หรือไม่ ส่วนเทคโนโลยีวันนี้เราทีมาตรการที่ครอบคลุมไปถึงเทคโนโลยีระดับเซลล์ที่รองรับการลงทุนโรงงานแบตเตอรี่เพื่อดึงเทคโนโลยีชั้นนำเข้ามาลงทุนในไทย”
มาตรการอีวีไทยครอบคลุมทุกด้าน
หากเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆถือว่านโยบายสนับสนุนอีวีของไทยมีความก้าวหน้าเพราะเป็นมาตรการที่ครบทุกด้าน นอกจากมาตรการด้านผู้ผลิต ยังมีมาตรการที่ให้กับผู้ใช้เช่น มาตรการที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานในการชาร์จไฟ ก็มีค่าไฟอัตราพิเศษที่กระทรวงพลังงานให้สำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะซึ่งการมีมาตรการหลายด้านที่เสริมกันทำให้ประสบความสำเร็จอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
มาตรการส่งเสริมอีวีของไทยนั้นมีการขับเคลื่อนต่อเนื่องหลังจากในการส่งเสริมรถยนต์นั่งสำเร็จเป็นอย่างดีล่าสุดมีมาตรการออกมาต่อเนื่อง ในการสนับสนุนรถขนาดใหญ่ ได้แก่ รถโดยสารไฟฟ้า (E-Bus) และรถบรรทุกไฟฟ้า (E-Truck) โดยที่ประชุมบอร์ดอีวีแห่งชาติล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ก.พ.เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ มาตรการดังกล่าวจะอนุญาตให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการซื้อรถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้ามา ใช้งานโดยไม่กำหนดเพดานราคาชั้นสูง ในกรณีซื้อรถที่ผลิต/ประกอบในประเทศ สามารถนำมาหักค่าใช้จ่าย ได้ 2 เท่า และในกรณีนำเข้ารถสำเร็จรูปจากต่างประเทศ สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 1.5 เท่า โดยมาตรการนี้จะมีผลตั้งแต่พระราชกฤษฎีกาที่กระทรวงการคลังจะออกมาประกาศใช้ไป จนถึงสิ้นปี 2568
ทั้งนี้ที่ประชุมได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากร พิจารณา กำหนดแนวทางปฏิบัติและดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปโดยคาดว่าจะมีรถทั้งสองประเภทที่เป็นรถEV ในโครงการนี้ประมาณ 10,000 คัน แบ่งเป็นรถบัสประมาณ 6,000 คัน และรถบรรทุกประมาณ 4,000 คน
หนุนผลิตแบตฯอีวีระดับเซลล์
ปัจจุบันมีผู้ผลิตแบตเตอรี่ในระดับโมดูลและแพ็ค
วางเงื่อนไข 4 ข้อหนุนลงทุนโรงงานแบตฯ
โดยผู้ลงทุนจะสามารถขอรับสิทธิประโยชน์และเงิน
- ต้องเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ชั้นนำที่มีการใช้งานโดยผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า
ต้องมีแผนการผลิตเซลล์แบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า โดยสามารถผลิตเซลล์แบตเตอรี่สำหรับระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) ด้วยได้ ต้องผลิตเซลล์แบตเตอรี่ที่มีค่าพลังงานจำเพาะ ไม่น้อยกว่า 150 Wh/Kg และ ต้องมีจำนวนรอบการอัดประจุ (Life Cycle) ไม่น้อยกว่า 1,000 รอบ โดยกำหนดเวลายื่นข้อเสนอโครงการ ลงทุนภายในปี 2570
ตั้งเป้าดึงผู้ผลิตเซลล์แบตฯระดับโลก
อุดหนุนสูงสุด 50% ของมูลค่าการลงทุน
ปรับมาตรการ EV3.5 ครอบคลุมมากขึ้น