กรมส่งเสริมการเกษตร ล่า หนอนหัวดำมะพร้าว 17 ปีแล้วยังระบาดไม่เลิก 29 จังหวัด

กรมส่งเสริมการเกษตร ล่า หนอนหัวดำมะพร้าว 17 ปีแล้วยังระบาดไม่เลิก 29 จังหวัด

ศัตรูพืช คืออันตรายลำดับต้นๆ ที่สร้างความเสียหายให้แก่ภาคการเกษตร การให้ความรู้แก่เกษตรกรเพื่อรับมือ และป้องกันอย่างถูกวิธี ทันต่อสถานการณ์ เป็นภารกิจสำคัญของกรมส่งเสริมการเกษตร รวมถึงสนับสนุนแมลงศัตรูธรรมชาติโดยไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีหากไม่มีความจำเป็น

KEY

POINTS

 Key Points

  • หนอนหัวดำ เป็นศัตรูมะพร้าวจากต่างถิ่น ระบาดครั้งแรกในไทยเมื่อปี 2550 ในพื้นที่ 50 ไร่ ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และปี 2555 การระบาดได้ขยายพื้นที่เป็นวงกว้างหลายจังหวัด ในปี 2556
  • ปัจจุบัน ยังพบหนอนหัวดำใน 29 จังหวัด รวมพื้นที่ประมาณ 17,080 ไร่

  • กรมส่งเสริมการเกษตรขับเคลื่อนรณรงค์ให้เกษตรกรตระหนักและควบคุมศัตรูมะพร้าว  สนับสนุน ใช้ชีวีภัณฑ์และศัตรูธรรมชาติ ควบคุมสถานการณ์ศัตรูพืชอย่างปลอดภัยและยั่งยืน  

 

นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่าล่าสุด กรมส่งเสริมการเกษตร ได้รับรายงานจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรณีพบการทำลายของหนอนหัวดำเพิ่มขึ้นในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอทับสะแก และอำเภอบางสะพาน

กรมส่งเสริมการเกษตร ล่า หนอนหัวดำมะพร้าว 17 ปีแล้วยังระบาดไม่เลิก 29 จังหวัด

จึงเร่งนำศัตรูธรรมชาติของหนอนหัวดำ คือ แตนเบียนบราคอน แตนเบียนทริคโคแกรมม่า แมลงหางหนีบสีดำ และแมลงหางหนีบขาวงแหวน ที่เพาะเลี้ยงไว้ ไปดำเนินการปล่อยในสวนมะพร้าวของเกษตรกรที่ได้รับการรายงานดังกล่าว

เพื่อควบคุมในเบื้องต้นทันทีไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดขยายวงกว้างออกไป โดยมีแผนการปล่อยแมลงศัตรูธรรมชาติทั้งสิ้นรวมจำนวน 4 ครั้ง ตั้งแต่วันนี้ – 29 กุมภาพันธ์ 2567

ศัตรูธรรมชาติแต่ละชนิดจะช่วยกันทำลายศัตรูมะพร้าวโดยเฉพาะหนอนหัวดำ โดยแตนเบียนทริคโคแกรมม่า จะสามารถทำลายไข่ของหนอนหัวดำ ส่วนแตนเบียนบราคอน จะเข้าทำลายศัตรูพืชระยะหนอนด้วยการวางไข่บนตัวของหนอนหัวดำ หนอนของแตนเบียนบราคอนจะดูดของเหลวภายในตัวหนอนหัวดำทำให้หนอนหัวดำตายในที่สุด

ด้านแมลงหางหนีบสีดำ และแมลงหางหนีบขาวงแหวน จะใช้แพนหางที่มีลักษณะคล้ายคีมจับเหยื่อ กัดกินศัตรูพืชได้ทั้งระยะไข่ ระยะหนอน รวมถึงตัวเต็มวัยที่เป็นแมลงขนาดเล็ก จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะปล่อยแมลงศัตรูทางธรรมชาติดังกล่าวเพื่อช่วยทำลายหนอนหัวดำมะพร้าวไม่ให้สร้างความเสียหายต่อผลผลิต ป้องกันผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวได้ 

อย่างไรก็ตาม กรมส่งเสริมการเกษตรสั่งให้เร่งผลิตขยายพ่อแม่พันธุ์ของศัตรูธรรมชาติเพื่อสนับสนุนให้ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ผลิตขยายศัตรูธรรมชาติพร้อมใช้ เพื่อควบคุมศัตรูพืชอย่างต่อเนื่องและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด อันจะเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรและภาคการเกษตรของประเทศ

 

 

 สำหรับหนอนหัวดำ เป็นศัตรูมะพร้าวจากต่างถิ่น ระบาดครั้งแรกในไทยเมื่อปี 2550 ในพื้นที่ 50 ไร่ ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และปี 2555 การระบาดได้ขยายพื้นที่เป็นวงกว้างหลายจังหวัด ในปี 2556 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมส่งเสริมการเกษตรจึงเสนอคณะรัฐมนตรีขออนุมัติดำเนินโครงการควบคุมและกำจัดศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) แบบครอบคลุมพื้นที่โดยใช้สารเคมีฉีดเข้าลำต้นในพื้นที่ที่พบการระบาด 15 จังหวัด

และในปี 2560 กรมส่งเสริมการเกษตรได้ขออนุมัติดำเนินโครงการป้องกันและกำจัดศัตรูมะพร้าว(หนอนหัวดำ) ด้วยวิธีผสมผสาน แบบครอบคลุมพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนในพื้นที่พบการระบาด 29 จังหวัด 

กรมส่งเสริมการเกษตร ล่า หนอนหัวดำมะพร้าว 17 ปีแล้วยังระบาดไม่เลิก 29 จังหวัด กรมส่งเสริมการเกษตร ล่า หนอนหัวดำมะพร้าว 17 ปีแล้วยังระบาดไม่เลิก 29 จังหวัด

ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการโครงการควบคู่ไปกับ 5 มาตรการ ในการป้องกันกำจัดหนอนหัวดำอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย เฝ้าระวัง สร้างการรับรู้แก่เกษตรกรและจัดทำแปลงติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ แจ้งเตือนภัย ผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งออนไลน์และเวทีประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ควบคุมและป้องกันกำจัด ตามโครงการภาครัฐ ให้ความช่วยเหลือ ด้วยการสนับสนุนชีวภัณฑ์ผ่านการประสานความร่วมมือทั้งจากหน่วยงานรัฐและเอกชน และติดตามประเมินผล ผ่านระบบของกรมส่งเสริมการเกษตรทุกสัปดาห์

 

 

ปัจจุบัน ยังพบหนอนหัวดำใน 29 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชลบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี กรุงเทพมหานคร ราชบุรี ตราด สงขลา สมุทรสาคร นครศรีธรรมราช ชุมพร ฉะเชิงเทรา ภูเก็ต กระบี่ สมุทรปราการ พังงา สตูล จันทบุรี ปัตตานี สุรินทร์ กาญจนบุรี บุรีรัมย์ นครปฐม ชัยภูมิ สระแก้ว เพชรบูรณ์ ระยอง และนราธิวาส ซึ่งรวมพื้นที่ประมาณ 17,080 ไร่ คิดเป็นประมาณร้อยละ 1 ของพื้นที่ปลูกมะพร้าวทั้งหมด

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรยังคงขับเคลื่อนรณรงค์ให้เกษตรกรตระหนักและควบคุมศัตรูมะพร้าว รวมถึงสนับสนุนให้เข้าร่วมเครือข่ายศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน เพื่อผลิตขยายชีวีภัณฑ์และศัตรูธรรมชาติสำหรับใช้ควบคุมสถานการณ์ศัตรูพืชอย่างปลอดภัยและยั่งยืน ลดความรุนแรงไม่ให้สร้างความเดือดร้อนแก่เกษตรกรในระยะยาว