17 ปี กล้วยหอมทอง ไทยส่งไปไม่เคยเต็ม ญี่ปุ่น เร่งใช้โควตา JTEPA ด่วนๆ

17 ปี กล้วยหอมทอง ไทยส่งไปไม่เคยเต็ม  ญี่ปุ่น เร่งใช้โควตา JTEPA  ด่วนๆ

ไทย - ญี่ปุ่น กระชับความสัมพันธ์ 17 ปี JTEPA ย้ำโควตา กล้วยหอมทอง 8,000 ตัน ไทยใช้ไม่เต็ม ขณะดันส่งออก ส้มโอ มะม่วงทุกสายพันธุ์” หนุนองค์ความรู้เทคโนโลยีนวัตกรรม เสริมแกร่งยกระดับเกษตรกรไทย

 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายเทตสึชิ ซากาโมโตะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น   ว่า ได้แลกเปลี่ยนแนวทางการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเกษตร พร้อมกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นกันมากยิ่งขึ้น นำไปสู่การพัฒนาด้านเกษตรระหว่างกัน ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าสินค้าเกษตร การเสริมสร้างความยั่งยืนของระบบเกษตรและอาหาร และการเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก

17 ปี กล้วยหอมทอง ไทยส่งไปไม่เคยเต็ม  ญี่ปุ่น เร่งใช้โควตา JTEPA  ด่วนๆ

 ในการหารือในวันนี้ ฝ่ายไทยได้มีการหารือถึงการเพิ่มปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรระหว่างกัน โดยเฉพาะการขยายการส่งออกส้มโอและมะม่วงทุกสายพันธุ์ไปยังประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นการเสริมสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและชาวสวน พร้อมผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรอื่น ๆ ไปยังประเทศญี่ปุ่นเพิ่มเติม โดยเฉพาะกล้วยหอม ซึ่งญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกกล้วยหอมทองที่สำคัญ

17 ปี กล้วยหอมทอง ไทยส่งไปไม่เคยเต็ม  ญี่ปุ่น เร่งใช้โควตา JTEPA  ด่วนๆ

 การหารือกันในครั้งนี้ ญี่ปุ่นได้เน้นย้ำถึงโควตาการอนุญาตนำเข้ากล้วยหอมจากไทยเป็นจำนวน 8,000 ตัน/ปี ตามข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย -ญี่ปุ่น (Japan – Thailand Economic Partnership Agreement) หรือ JTEPA ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2550  

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรส่งเสริมการรวมกลุ่มแปลงใหญ่กล้วยหอมคุณภาพและผลักดันให้เป็นสินค้าส่งออก สร้างรายได้แก่เกษตรกร 

นอกจากนี้ ฝ่ายญี่ปุ่น ยินดีให้การสนับสนุนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับภาคเกษตรของไทย ซึ่งถือเป็นโอกาสสำคัญ ที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันในการพัฒนาองค์ความรู้ของเกษตรกรอีกด้วย  

17 ปี กล้วยหอมทอง ไทยส่งไปไม่เคยเต็ม  ญี่ปุ่น เร่งใช้โควตา JTEPA  ด่วนๆ

17 ปี กล้วยหอมทอง ไทยส่งไปไม่เคยเต็ม  ญี่ปุ่น เร่งใช้โควตา JTEPA  ด่วนๆ

สำหรับประเด็นด้านการเสริมสร้างความยั่งยืนของระบบเกษตรและอาหาร ได้มีความร่วมมือเชิงวิชาการ เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศ และระบบนิเวศ รวมทั้งเสริมสร้างการเพิ่มผลิตผลและผลผลิตในภาคการเกษตร ซึ่งมีความสอดคล้องกับการขับเคลื่อนนโยบาย BCG ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และแผนปฏิบัติการด้านการเกษตรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเป็นประเด็นที่ประชาคมโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบัน 

รวมถึงความยั่งยืนของระบบเกษตรและอาหารเป็นประเด็นที่มีการอภิปรายอย่างแพร่หลาย และเป็นแนวโน้มที่ทุกประเทศทั่วโลกต่างมีข้อห่วงกังวล และตระหนักถึงการร่วมมือเพื่อหาแนวทางการปฏิรูประบบเกษตรและอาหารให้มีความยั่งยืน

นอกจากนี้ ฝ่ายไทยและฝ่ายญี่ปุ่นได้มีการหารือถึงโครงการร่วมมือด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานร่วมกันในปัจจุบัน โดยไทยได้ขอให้ฝ่ายญี่ปุ่นพิจารณาขยายขอบข่ายความร่วมมือที่ครอบคลุมภาคประมง ภาคปศุสัตว์ และการร่วมวิจัยและพัฒนาในด้านต่าง ๆ เพิ่มเติม ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าวนอกเหนือจากที่เกษตรกรและภาคการเกษตรไทยจะต้องได้ประโยชน์แล้ว การดำเนินความร่วมมือกับฝ่ายญี่ปุ่นจะต้องเป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบของประเทศไทย อีกด้วย 

 “การหารือแลกเปลี่ยนร่วมกันในครั้งนี้ นับเป็นแนวทางที่ดีในการพัฒนาภาคการเกษตรของทั้งสองประเทศในอนาคตต่อไป และเป็นการขยายความร่วมมือด้านการค้าทั้งการนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของทั้งสองฝ่าย อีกทั้งยังเน้นในเรื่องความยั่งยืน และการส่งเสริม Know-How เทคโนโลยีนวัตกรรมให้กับเกษตรกรไทย ซึ่งผลการหารือในวันนี้ผมจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้รับทราบและอนุมัติเห็นชอบในกรอบความร่วมมือเพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรม” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าว

17 ปี กล้วยหอมทอง ไทยส่งไปไม่เคยเต็ม  ญี่ปุ่น เร่งใช้โควตา JTEPA  ด่วนๆ

 โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวขอบคุณฝ่ายญี่ปุ่นที่ให้การสนับสนุนไทยในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกนครราชสีมา พ.ศ. 2572 ในระดับ A1 พร้อมทั้งได้เชิญรัฐมนตรีเกษตรญี่ปุ่นและรัฐบาลญี่ปุ่นเข้าร่วมจัดงานดังกล่าว รวมทั้งได้ขอให้ฝ่ายญี่ปุ่นช่วยประชาสัมพันธ์ให้กับภาคเอกชนญี่ปุ่นที่สนใจเข้าร่วม ต่อไป

 ทั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าสินค้าเกษตรอันดับที่ 3 ของไทย ในระหว่างปี 2564-2566 ซึ่งมีสัดส่วนการค้าสินค้าเกษตรร้อยละ 7.65 ของมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรของไทยกับโลก โดยในปี 2564 มีมูลค่าการค้าสินค้าเกษตร 158,635 ล้านบาทและในปี 2565 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 183,487 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรเฉลี่ยปีละ 171,901 ล้านบาท

โดยมีอัตราการค้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 4.60 ต่อปี สำหรับการส่งออกสินค้าเกษตรไปประเทศญี่ปุ่นที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) ไก่ชนิดแกลลัสโดเมสติกัสปรุงแต่ง 2) ชิ้นเนื้อและเครื่องในที่บริโภคได้ของไก่ชนิดแกลลัสโดเมสติกัส แช่แข็ง 3) อาหารสุนัขหรือแมวสำหรับขายปลีก 4) ปลาทูนา ปลาสคิปแจ็ค และปลาโบนิโต ปรุงแต่ง อาทิ ปลาทูนากระป๋อง และ 5) ยางธรรมชาติที่กำหนดไว้ในทางเทคนิค

การหารือครั้งนี้ ร่วมด้วย  นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์