เงินดิจิทัล 10,000 บาท 'ฉบับร้านค้า' วิธีลงทะเบียน ขายแล้วกี่วันได้เงินสด?
อัปเดตล่าสุด “เงินดิจิทัล 10,000 บาท” หรือเงินดิจิตอล ใช้จ่ายผ่านดิจิทัลวอลเล็ต 'ฉบับร้านค้า' วิธีสำหรับร้านค้าที่ต้องการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ เช็กเงื่อนการใช้จ่าย ขายอะไรได้บ้าง ขายแล้วกี่วันได้เงินสด พร้อมตอบคำถาม เงินดิจิตอลได้วันไหน ใครได้บ้าง?
อัปเดตล่าสุด “เงินดิจิทัล 10,000 บาท” หรือ เงินดิจิตอล ใช้จ่ายผ่าน ดิจิทัลวอลเล็ต เมื่อวันที่ 14 พ.ค.2567 นายภัณฑิล จงจิตรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า
โครงการนี้ไม่ได้เอาเงินมาแจก แต่เป็นการเอาเงินมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในความคาดหวังเพื่อให้เงินไหลเข้าไปสู่ทุกอำเภอ ทุกตำบล ในชุมชน โดยให้ชาวบ้านทุกคนได้มีส่วนร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจในครั้งนี้
จากการสอบถามร้านค้าต่างๆ พบว่าทุกคนมีเสียงสะท้อนว่าเศรษฐกิจซบเซา ยอดรายได้ยังไม่นิ่ง รัฐบาลเข้าใจถึงปัญหาและหาวิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะ โครงการดิจิตอลวอลเล็ต รัฐบาลจะเดินหน้าทำจริงแน่นอนและปลายปีนี้เงินจะเข้ากระเป๋าของทุกคนแน่นอน 10,000 บาท เพื่อช่วยกันกระตุ้นเศรษฐกิจตรงนี้ไปด้วยกัน
วิธีลงทะเบียน - ร้านค้าที่สามารถเข้าร่วมโครงการ เงินดิจิทัล 10,000 บาท
ต้องเป็นร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT)
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax: PIT) เฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax CIT)
ร้านค้าในโครงการธงฟ้า
ร้านค้าธงฟ้าที่กระทรวงพาณิชย์ดูแล และมีการดำเนินการอยู่รวมทั้งสิ้น 146,531 ร้านค้า โดยจังหวัดที่มีร้านค้าธงฟ้าจำนวนมาก อาทิ กรุงเทพฯ 4,445 ร้านค้า, ขอนแก่น 4,896 ร้านค้า, เชียงใหม่ 4,153 ร้านค้า, นครราชสีมา 4,916 ร้านค้า, ศรีสะเกษ 4,508 ร้านค้า, อุบลราชธานี 5,314 ร้านค้า เป็นต้น
เงินดิจิทัล 10,000 บาท 'ฉบับร้านค้า' ขายแล้วกี่วันได้เงินสด?
1. เมื่อประชาชนนำเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่อยู่ในซูเปอร์แอป ไปซื้อของ ในเขตอำเภอตัวเอง 878 แห่ง
2. พ่อค้า แม่ค้า ร้านค้าขนาดเล็ก ร้านขายของชำ ร้านสะดวกซื้อในชุมชน (พ่อค้า แม่ค้า คนที่ 1 รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท)
3. พ่อค้า แม่ค้า ร้านขนาดเล็ก คนที่ 1 ไม่สามารถนำเงินดิจิทัล 10,000 บาท ไปขึ้นเงินสด
4. พ่อค้า แม่ค้า คนที่ 1 ต้องนำเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่ได้จากประชาชน ไปซื้อสินค้าต่อจากพ่อค้าคนที่ 2 ได้ในทุกขนาดร้านค้า อาจจะเป็นห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ได้ทั่วประเทศ
5. พ่อค้า แม่ค้า คนรับเงินคนที่ 3 ที่อยู่ในระบบภาษี VAT และภาษีนิติบุคคล นำเงินดิจิทัลที่ได้ทั้งหมด ไปขึ้นเงินสด
สินค้าที่ขายได้ในโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท
- สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ข้าวสาร ไข่ไก่ เป็นต้น
- เครื่องดื่ม (ไม่มีแอลกอฮอล์) สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก กะปิ น้ำปลา ซอสปรุงรส เป็นต้น
- สินค้าเพื่อการศึกษา เช่น เครื่องแบบนักเรียน เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ เป็นต้น
- สินค้าวัตถุดิบเพื่อการเกษตร เช่น ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์พืช เป็นต้น
- สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ผักสด ผลไม้ อาหารสด เครื่องจักสาน เป็นต้น
- ยารักษาโรค เช่น ยาแก้ไข ยาแก้ท้องเสีย เป็นต้น
- ธูปเทียนและเครื่องสักการะ ชุดถวายสังฆทาน เป็นต้น
สินค้าที่ไม่เข้าร่วม โครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท
ข้อมูลล่าสุดวันที่ 1 สิงหาคม 2567 สินค้า Negative list ดังนี้
- เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์
- โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน
- สลากกินแบ่งรัฐบาล
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- บัตรกำนัล
- บัตรเงินสด
- ทองคำ
- เพชร พลอย อัญมณี
- น้ำมันเชื้อเพลิง
- ก๊าซธรรมชาติ
- ร้านทำผม
- ร้านนวด
- ร้านเสริมสวย
- ยาสูบ
- กัญชา
- กระท่อม
- พืชกระท่อม
- ผลิตภัณฑ์กัญชาและกระท่อม
เงินดิจิทัล 10,000 บาท ใครได้บ้าง?
- ประชาชนที่มีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน
- มีสัญชาติไทย
- อายุเกิน 16 ปี ณ เดือนที่มีการลงทะเบียน
- ไม่เป็นผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี
- มีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท
เงินดิจิทัล 10,000 บาทได้เงินเมื่อไหร่
- ไตรมาส 4 หรือช่วงปี 2567
ลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท เมื่อไหร่
อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาระบบ อาทิ การจัดทำเว็บไซต์ ระบบลงทะเบียนและตรวจสอบคุณสมบัติประชาชนและร้านค้า ระบบการใช้จ่าย ระบบการชำระเงิน ระบบตรวจสอบธุรกรรม โดยพัฒนาให้สามารถใช้จ่ายได้กับธนาคารอื่นๆ โดยประชาชนต้องลงทะเบียน Super App ของหน่วยงานในกำกับของรัฐ จะใช้แอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" ในการใช้จ่ายโครงการ
วิธีใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท
ระหว่างประชาชนกับร้านค้า : ใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ) การชำระเงินต้องเป็นแบบพบหน้า (Face to Face) กำหนดให้ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่รวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก
ระหว่างร้านค้ากับร้านค้า : ร้านค้าที่จะรับการใช้จ่ายจากประชาชนต้องเป็นร้านค้าขนาดเล็ก รวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กโดยไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก-ค้าส่งขนาดใหญ่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ส่วนร้านค้าที่สามารถรับการใช้จ่ายจากร้านค้า ไม่มีการกำหนดเงื่อนไขเชิงพื้นที่และขนาดร้านค้า