กกร. ห่วงการค้าโลก - ส่งออกชะลอตัว ฉุดเศรษฐกิจไทย ดันยอดปิดโรงงานเพิ่ม

กกร. ห่วงการค้าโลก - ส่งออกชะลอตัว ฉุดเศรษฐกิจไทย ดันยอดปิดโรงงานเพิ่ม

กกร. ห่วงการค้าโลก - ส่งออกชะลอตัว ฉุดเศรษฐกิจไทย ดัชนี MPI พลิกบวก มาจากการตุนสินค้า หวั่นความไม่มั่นใจเสถียรภาพทางการเมือง "ค่าแรงขั้นต่ำ - ราคาพลังงานที่ปรับขึ้น" กระทบโรงงานปิดเพิ่มจาก 1,700 โรงงานที่ปิดไปแล้ว หนุนเอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ ดึงท่องเที่ยวเพิ่ม

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) โดยมี นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมในการแถลงข่าว

นายผยง กล่าวว่า การค้าโลก และปริมาณการส่งออกชะลอตัวชัดขึ้น ปริมาณการส่งออกของโลกชะลอตัวต่อเนื่อง ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมของประเทศสำคัญยังฟื้นตัวได้ช้า นอกจากนี้สงครามการค้าระหว่างสหรัฐ และจีนมีแนวโน้มกลับมารุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมาตรการขึ้นภาษีรอบล่าสุดของสหรัฐต่อสินค้ากลุ่มรถยนต์ EV โซลาร์เซลล์ เซมิคอนดักเตอร์ เป็นต้น โดยมีกำหนดบังคับใช้ภายในปีนี้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบเพิ่มเติมต่อการค้าโลก ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย และประเทศในกลุ่มอาเซียนที่ถูกสหรัฐ มองว่าจีนใช้เป็นฐานการผลิต

กกร. ห่วงการค้าโลก - ส่งออกชะลอตัว ฉุดเศรษฐกิจไทย ดันยอดปิดโรงงานเพิ่ม

นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า โดยเศรษฐกิจไตรมาสที่ 1/2567 เติบโต 1.5% ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนจากการหดตัวของการส่งออก และการใช้จ่ายของภาครัฐ ขณะที่ในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจยังมีแนวโน้มฟื้นตัวได้จำกัด เนื่องจากการส่งออกฟื้นตัวได้ช้าตามการค้าโลกที่ชะลอตัว และปัญหาเอลนีโญ (ฝนแล้ง) ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ผลผลิตการเกษตรลดลง ส่วนการใช้จ่ายของครัวเรือนได้รับผลกระทบจากหนี้ครัวเรือนในระดับสูง ทั้งปี กกร. คาดว่าจีดีพีจะเติบโตได้เพียง 2.2-2.7%  

ทั้งนี้ ที่ประชุม กกร. ได้มีการหารือในประเด็นสำคัญเพิ่มเติม ดังนี้

1. กกร.เห็นด้วย และขอบคุณรัฐบาลที่ได้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น จากการประชุม ครม. เศรษฐกิจ ทั้งมาตรการเพิ่มการท่องเที่ยวช่วง Low-season ที่เชื่อว่าจะช่วยกระจายรายได้ไปทั่วประเทศ รวมถึงการเสนอมาตรการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. วงเงินประมาณ  5 หมื่นล้านบาทที่เตรียมนำเสนอ ครม.นั้น จะส่งผลดีต่อเนื่องไปยังการลงทุน การจ้างงาน และการบริโภค 

โดยคาดว่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจประมาณ  2 แสนล้านบาท ทั้งนี้ กกร. พร้อมเข้าไปมีส่วนช่วยคัดกรอง และรับรองเอสเอ็มอี ที่มีศักยภาพ ให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ที่ประชุม กกร. ได้เสนอให้ภาครัฐมีมาตรการเพิ่มเติมในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของเอสเอ็มอีรวมถึงมาตรการสนับสนุนให้เอสเอ็มอีเข้ามาอยู่ในระบบเศรษฐกิจ เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นระยะเวลา 5-7 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการมีเวลาปรับตัว และเข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น 

2. กกร.อยู่ระหว่างหารือกับภาครัฐเกี่ยวกับแนวทางการปรับค่าแรงขั้นต่ำให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ ผลิตคุณภาพแรงงาน (Labor Productivity) และดำเนินการตามกรอบกฎหมาย ตามข้อเสนอของภาคเอกชนในประเด็นที่ได้นำเสนอรัฐบาลไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยแต่ละพื้นที่จะประสานผ่าน กกร.จังหวัดให้มีการหารือร่วมกับคณะอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำรายจังหวัด (ไตรภาคี) ต่อไป 

3. ที่ประชุม กกร.มีความกังวลต่อภาคการส่งออกสินค้าที่ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว  จากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ที่มีแนวโน้มกลับมารุนแรงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกสินค้าของจีนไปยังสหรัฐ ทำให้จีนต้องหาตลาดใหม่ทดแทนเพื่อส่งออกสินค้า ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติมต่อการส่งออกสินค้าของไทยที่อยู่ในภาวะชะลอตัวต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ภาคการส่งออกยังมีปัจจัยกดดันจากต้นทุนค่าขนส่งที่สูงขึ้นจากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่หมุนเวียนไม่ทันเนื่องจากระยะเวลาขนส่งที่นานขึ้น ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคส่งออก และส่งเสริมสินค้าที่มีศักยภาพ ในอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุดเพื่อเพิ่มมูลค่าในการส่งออกของประเทศ

เกรียงไกร กล่าวว่า ถ้าภาษีที่สหรัฐประกาศมีผลบังคับใช้เป็น 102.5% หรือหากโดนัลด์ ทรัมป์ ได้เป็นประธานาธิบดี จะปรับถึง 200% จะทำให้สินค้านำเข้าเยอะขึ้น จีนต้องหาตลาดใหม่โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอีวี คือ กลุ่ม เซาท์อีสเอเชีย  และเอเชีย จึงมีการย้ายไปลงทุนในประเทศใกล้เคียงสหรัฐ คือ เม็กซิโก และไปลงทุนฝั่งยุโรปในฮังการี ซึ่งจะกลายเป็นฐานการผลิตEVชั้นนำในยุโรปต่อไป 

กกร. ห่วงการค้าโลก - ส่งออกชะลอตัว ฉุดเศรษฐกิจไทย ดันยอดปิดโรงงานเพิ่ม

นอกจากนี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มีโรงงานปิดไปแล้ว 1,700 โรงงาน พนักงานตกงานจำนวนมาก เป็นการย้ายฐานการผลิต และการรวมการผลิตส่วนอื่นๆ เข้าด้วยกัน เสมือนปรับพอร์ตการลงทุนของแต่ละประเทศให้เหมาะสม ตอนนี้มาเลเซียมียอดส่งออกมากกว่าไทยหลายเท่า แต่ตัวเลขที่น่าจับตา คือ FDI ไทยจึงต้องรีบปรับโครงสร้างการลงทุนใหม่ เช่น สมาร์ตอิเล็กทรอนิกส์ คลาวด์เซอร์วิส 

นอกจากนี้ จะเห็นได้ชัดว่า แนวโน้มขีดความสามารถทางการแข่งขันประเทศไทยโดยรวมไม่ดี ดัชนี MPI ติดลบ 18 เดือนติดต่อกัน แม้จะพลิกเป็นบวกเมื่อเดือนเม.ย.2567 ที่ผ่านมา เพราะมีการซื้อของตุนจึงเป็นบวก จึงไม่สามารถบอกได้ว่าตลอดทั้งปีจะไปได้ดีเท่าไร ท้ายสุดกลับมาที่ปัญหาเดิมว่าสินค้าปัจจุบันเป็นสินค้าที่โลกต้องการหรือไม่

"ตอนนี้ที่กังวลจะมีเรื่องค่าแรง และราคาดีเซล เพราะต้นทุนน้ำมันยิ่งสูงก็ส่งผลต้นทุนโดยเฉพาะภาคขนส่งที่ปัจจุบันอยู่ที่ 15% ซึ่งเดิมกำหนดไว้ที่ 30 บาทต่อลิตร ขึ้นมา 33 บาทต่อลิตร ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นอีก 10% และหากขึ้นที่ 35 บาทต่อลิตร ก็เป็น 18% ภาคธุรกิจต้องปรับราคาสินค้า และเมื่อค่าครองชีพยิ่งสูงก็จะทำให้ไม่มีกำลังซื้อ รัฐบาลจึงต้องหาตรงกลางที่เหมาะสม" นายเกรียงไกร กล่าว

นายเกรียงไกร กล่าวว่า สำหรับนโยบายการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร (เอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์) ถือเป็นนโยบายที่ประกาศไปแล้ว เอกชนเองมองว่าประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีจุดแข็งคือ ภาคท่องเที่ยว จะทำอย่างไรให้คนกลับมาท่องเที่ยวเยอะขึ้น แล้วจะต้องมีการใช้จ่ายต่อคนต่อหัวมากขึ้นจากปัจจุบัน 4 หมื่นบาทต่อคน เป็น 5 หมื่นบาทต่อคน

ดังนั้น ส่วนตัวมองว่า เอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ที่อาจมีกาสิโนจะเป็นจุดขายที่จะเพิ่มรายได้จากนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติ และจะมีเพิ่มอีกกลุ่มคือ เชิงแสวงโชค 

"นักแสวงโชคไทยจำนวนไม่น้อยที่ข้ามไปแสวงโชคชายแดน หากมาทำในไทยก็ควบคุมให้มีระบบที่ดี ก็จะครบถ้วนได้นักท่องเที่ยวที่มาในไทยที่หลากหลายมากขึ้น" นายเกรียงไกร กล่าว 
 

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์