คนไทยหนี้ท่วม ปัญหาระยะยาวกระทบ"ขีดความสามารถแข่งขัน"

คนไทยหนี้ท่วม ปัญหาระยะยาวกระทบ"ขีดความสามารถแข่งขัน"

สนค.วิเคราะห์ผลกระทบหนี้ของไทย เผยไทย มีหนี้ครัวเรือน-หนี้ภาคธุรกิจ กว่า 28.9 ล้านล้านบาท ขณะที่หนี้สาธารณะมีกว่า 11 ล้านล้านบาท ฉุดเศรษฐกิจไทยชะลอตัวไปอีกอย่างน้อย 3 ปี

KEY

POINTS

Key Point

  • ไทยมีหนี้ครัวเรือนปี 67 ของประเทศไทยจะขึ้นสู่ระดับ  91.4%  ต่อ GDP หรือมีมูลค่าประมาณ 16.9 ล้านล้านบาท
  • ไทยมีหนี้สาธารณะ 11.3 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 62.5 %  ต่อ GDP
  • หนี้ครัวเรือนและหนี้ภาคธุรกิจไทยรวมกันกว่า 28.9 ล้านล้านบาท

"หนี้สิน"ของประเทศไทยกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากประชาชนภายในประเทศเป็นวงกว้างถึงผลกระทบที่อาจส่งผลต่อเสถียรภาพและความสามารถทางการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย  โดยหนี้ครัวเรือนไทย ถือเป็นประเด็นที่น่าห่วงต่อเนื่อง จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ข้อมูลหนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 4 ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 91.3% โดย 67% เป็นการก่อหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต 

ขณะที่ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี (TTB Analytics) ประเมินหนี้ครัวเรือนปี 67 ของประเทศไทยจะขึ้นสู่ระดับ  91.4%  ต่อ GDP หรือมีมูลค่าประมาณ 16.9 ล้านล้านบาท โดยมี 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ เศรษฐกิจและ ระดับรายได้ที่ฟื้นตัวช้า ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น และพฤติกรรมการก่อหนี้โดยขาดวินัยทางการเงินที่ดี

ขณะที่หนี้ภาคธุรกิจ ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า  ภาครวมหนี้ธุรกิจ ณ ไตรมาสที่ 4/66 ธุรกิจในประเทศไทยมีหนี้สินสะสมเป็นมูลค่า 12.7 ล้านล้านบาท ขยายตัว 0.7 %  (YoY) ทำให้ภาพรวมทั้งประเทศมีหนี้ภาคธุรกิจคิดเป็นสัดส่วน 87.4 % ต่อ GDP

ส่วนหนี้สาธารณะ ข้อมูลจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ  พบว่า ปัจจุบันไทยมีหนี้สาธารณะ 11.3 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 62.5 %  ต่อ GDP

คนไทยหนี้ท่วม ปัญหาระยะยาวกระทบ\"ขีดความสามารถแข่งขัน\"

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ได้วิเคราะห์สถานการณ์หนี้ครัวเรือนและหนี้ภาคธุรกิจของไทยและผลกระทบต่อขีดความสามารถทางการแข่งขันของเศรษฐกิจ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่จัดอยู่ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ หรือ Emerging market economies เช่นเดียวกับไทย จากข้อมูลธนาคารเพื่อการชำระเงินระหว่างประเทศ (Bank of International Settlement: BIS) ปรากฏว่าประเทศไทยมีสัดส่วนของหนี้ครัวเรือนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging market economies) ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 47.6 %  ต่อ GDP (ข้อมูลไตรมาสที่ 3/66) โดยประเทศตลาดเกิดใหม่อื่น ๆ ที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น อินโดนีเซียมีสัดส่วนของหนี้ครัวเรือนต่อ GDP อยู่ในระดับ  16.3  % อินเดีย 37.2 % จีน 62.4  % และมาเลเซีย 68. 5%   

ปัจจุบันประเทศไทยมีหนี้ครัวเรือนและหนี้ภาคธุรกิจรวมกันกว่า 28.9 ล้านล้านบาท ซึ่งหนี้ครัวเรือน เป็นหนี้ที่มีความน่ากังวลมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากระดับหนี้ครัวเรือนของประเทศไทยอยู่ที่ 90.9%  ต่อ GDP สูงกว่าระดับหนี้สูงสุดที่จะสามารถยังคงเสถียรภาพและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเอาไว้ได้ตามผลการศึกษา หลายฉบับทั้งของไทยและต่างประเทศ อีกทั้งยังมีระดับหนี้ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของระดับหนี้ครัวเรือนของ กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market Economies)

โดยหนี้ภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นหนี้ที่มีสัดส่วน มากที่สุด ขณะที่หนี้จากสินเชื่อส่วนบุคคลมีอัตราการเติบโตเร็วที่สุด หากพิจารณารายพื้นที่ ปรากฏว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีจำนวนครัวเรือนและสัดส่วนของครัวเรือนที่มีหนี้สินสูงกว่าภาคอื่น ๆ โดยเปรียบเทียบ อย่างไรก็ดี กรุงเทพฯ และ 3 จังหวัดปริมณฑล (นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปรากร) มีสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน

“พูนพงษ์ นัยนาภากรณ์” ผอ.สนค. กล่าวว่า หนี้ครัวเรือนและหนี้ภาคธุรกิจต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะในระยะปานกลางถึงยาว ส่วนใหญ่จะส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวภายในอย่างน้อย 3 ปีข้างหน้า

นอกจากนี้ หนี้ครัวเรือนยังส่งผลกระทบไปยังภาคธุรกิจทั้งผลกระทบทางตรงและผลกระทบ ทางอ้อมจากความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มธุรกิจ โดยมีตัวอย่างกรณีศึกษาผลกระทบของหนี้ครัวเรือนต่อสินเชื่อ ภาคอสังหาริมทรัพย์ พบว่า หากเกิดการชะลอตัวของภาคการก่อสร้างที่อยู่อาศัย จะส่งผลกระทบไปยังธุรกิจที่ เกี่ยวเนื่องแบบ backward linkage โดยธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เกี่ยวโยงกับธุรกิจก่อสร้างที่อยู่อาศัยในฐานะธุรกิจผลิตสินค้าที่เป็นปัจจัยการผลิตให้แก่ธุรกิจ ก่อสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 14.5 %   ของมูลค่าการใช้ปัจจัยการผลิตทั้งหมดของธุรกิจก่อสร้าง ที่อยู่อาศัย

รองลงมาเป็นธุรกิจผลิตซีเมนต์ บริการค้าปลีก บริการค้าส่ง บริการขนส่งทางถนนโดยรถบรรทุก ตามลำดับ ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐที่เป็นผู้ดูแลและกำกับนโยบายจึงควรตระหนักต่อหนี้สินต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และลุกลามไปยังเสถียรภาพของระบบการเงินและ ระบบเศรษฐกิจของประเทศ

นอกจากนี้ ความมีวินัยทางการเงินส่วนบุคคลมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้เศรษฐกิจ สามารถพัฒนาไปข้างหน้าได้เนื่องจากการที่ครัวเรือนและภาคธุรกิจมีหนี้สินอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ภาครัฐไม่ต้อง นำเงินงบประมาณไปแก้ไขจัดการกับปัญหาดังกล่าว ซึ่งเป็นการเบียดบังทรัพยากรและงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด และนำงบประมาณเหล่านั้นไปใช้ในทางการพัฒนาที่เอื้อต่อขีดความสามารถทางการแข่งขัน อาทิ โครงสร้าง พื้นฐานด้านดิจิทัลและนวัตกรรม การส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว การส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง สำหรับรองรับอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตต่อไป