คืบหน้า ‘รถไฟฟ้าสายสีชมพู’ ส่วนต่อขยายเข้า ‘เมืองทอง’ เปิดปี 68

คืบหน้า ‘รถไฟฟ้าสายสีชมพู’ ส่วนต่อขยายเข้า ‘เมืองทอง’ เปิดปี 68

รฟม. เปิดภาพความคืบหน้างานโยธาส่วนต่อขยาย “รถไฟฟ้าสายสีชมพู” เชื่อมถนนแจ้งวัฒนะเข้าเมืองทองธานี เดินหน้างานกว่า 60% มั่นใจเปิดให้บริการทันเป้าหมายปี 2568 หนุนผู้โดยสารเข้าระบบเพิ่มกว่า 1.3 หมื่นคนต่อเที่ยวต่อวัน ดันธุรกิจกลุ่มไมซ์และอีเวนต์คอนเสิร์ต

KEY

POINTS

  • รฟม. เปิดภาพความคืบหน้างานโยธาส่วนต่อขยาย “รถไฟฟ้าสายสีชมพู” เชื่อมถนนแจ้งวัฒนะเข้าเมืองทองธานี เดินหน้างานกว่า 60% มั่นใจเปิดให้บริการทันเป้าหมายปี 2568
  • กลุ่ม BSR มั่นใจเป็นโครงข่ายหนุนเศรษฐกิจ ประเมินเปิดให้บริการดึงผู้โดยสารเข้าระบบเพิ่มกว่า 1.3 หมื่นคนต่อเที่ยวต่อวัน ดันธุรกิจกลุ่มไมซ์และอีเวนต์คอนเสิร์ต
  • เผยตัวเลขถนนเมืองทองธานีมีผู้อยู่อาศัยจำนวนมากกว่า 3 แสนคน รวมทั้งผู้ที่เดินทางเข้ามาร่วมงานแสดงสินค้าและการประชุมที่มีกว่า 10 ล้านคนต่อปี

 

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดภาพความคืบหน้างานโยธาก่อสร้าง “รถไฟฟ้าสายสีชมพู” ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี สถานะล่าสุดในเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา พบว่าภาพรวมมีความก้าวหน้า 60.24% แบ่งเป็น ความก้าวหน้างานโยธา 66.90% และความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 47.12% ซึ่งเป้าหมายโครงการนี้ รฟม.ตั้งเป้าจะเปิดให้บริการภายในปี 2568

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี ดำเนินการโดยบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR JV consortium) ที่ร่วมทุนกันระหว่างบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (BTSG) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (STEC) และบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งกลุ่ม BSR เป็นผู้ลงทุนดำเนินโครงการทั้งหมดภายใต้งบ 4,072.60 ล้านบาท แบ่งเป็น

คืบหน้า ‘รถไฟฟ้าสายสีชมพู’ ส่วนต่อขยายเข้า ‘เมืองทอง’ เปิดปี 68

  • ค่างานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 656.20 ล้านบาท
  • ค่าก่อสร้างงานโยธา 1,792.44 ล้านบาท
  • ค่างานระบบไฟฟ้า 930.89 ล้านบาท
  • ค่าขบวนรถไฟฟ้า 440.00 ล้านบาท
  • ค่าจ้างที่ปรึกษา 94.90 ล้านบาท
  • ค่าสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด 158.17 ล้านบาท

โดยโครงการดังกล่าวเริ่มก่อสร้างในวันที่ 20 มิ.ย.2565 กำหนดระยะเวลาก่อสร้าง 37 เดือน จะสิ้นสุดระยะเวลาก่อสร้างในวันที่ 19 ก.ค.2568 ซึ่งลักษณะงานออกแบบและก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งระยะทาง 3 กิโลเมตร และสถานีรถไฟฟ้า 2 สถานี ประกอบด้วย สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี (ชาเลนเจอร์อาคาร1) และ สถานีทะเลสาบ เมืองทองธานี โดยโครงการมีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากถนนแจ้งวัฒนะไปตามซอยแจ้งวัฒนะ - ปากเกร็ด 39 และสิ้นสุดบริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี

อย่างไรก็ดี ทางกลุ่ม BSR เคยออกมาประเมินผลบวกต่อการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายนี้ว่า โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีชมพู นับว่าเป็นโครงการสำคัญที่จะอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนอย่างมาก เพราะถนนเมืองทองธานีมีผู้อยู่อาศัยจำนวนมากกว่า 3 แสนคน รวมทั้งผู้ที่เดินทางเข้ามาร่วมงานแสดงสินค้าและการประชุมที่มีกว่า 10 ล้านคนต่อปี

พื้นที่เมืองทองธานีจึงถือเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ มีความจำเป็นในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าเพื่อรองรับ อำนวยความสะดวกให้กับประชาชน แก้ปัญหาการจราจรแออัด และจะเป็นโครงข่ายสนับสนุนธุรกิจในพื้นที่นี้ โดยเฉพาะงานจัดประชุมสัมมนา กิจกรรมงานแสดงและคอนเสิร์ตต่างๆ ทั้งนี้ BSR คาดว่าภายหลังเปิดให้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีชมพูจะมีปริมาณผู้โดยสารเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 13,785 คนต่อเที่ยวต่อวัน

ภาพความคืบหน้า MT 01 สถานีอิมแพ็คเมืองทองธานี

คืบหน้า ‘รถไฟฟ้าสายสีชมพู’ ส่วนต่อขยายเข้า ‘เมืองทอง’ เปิดปี 68

คืบหน้า ‘รถไฟฟ้าสายสีชมพู’ ส่วนต่อขยายเข้า ‘เมืองทอง’ เปิดปี 68

คืบหน้า ‘รถไฟฟ้าสายสีชมพู’ ส่วนต่อขยายเข้า ‘เมืองทอง’ เปิดปี 68

ภาพความคืบหน้า MT 02 สถานีทะเลสาบ เมืองทองธานี

คืบหน้า ‘รถไฟฟ้าสายสีชมพู’ ส่วนต่อขยายเข้า ‘เมืองทอง’ เปิดปี 68

คืบหน้า ‘รถไฟฟ้าสายสีชมพู’ ส่วนต่อขยายเข้า ‘เมืองทอง’ เปิดปี 68

คืบหน้า ‘รถไฟฟ้าสายสีชมพู’ ส่วนต่อขยายเข้า ‘เมืองทอง’ เปิดปี 68