ม.กรุงเทพ ดันนผลิตนักวิศวกร AI รุ่นใหม่
ครั้งแรกของประเทศไทย! มหาวิทยาลัยกรุงเทพและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมผลิตนักวิศวกร AI รุ่นใหม่ หัวใจ Entrepreneur
อีกหนึ่งก้าวสำคัญของวงการศึกษาไทย ที่ได้มีการร่วมพัฒนาหลักสูตรร่วมระหว่าง มหาวิทยาลัยกรุงเทพและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังในการร่วมพัฒนาหลักสูตร AI Engineering & Entrepreneurship ที่มุ่งเน้นพัฒนานักศึกษาสู่การเป็นนักวิศวกรรุ่นใหม่ ที่มีความถนัดทั้ง Technology และ Entrepreneur Spirit เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยด้วยทักษะผู้ประกอบการสตาร์ทอัพและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในเทคโนโลยีชั้นสูง
ความร่วมมือครั้งนี้เป็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนของความพยายามที่ไม่เคยหยุดพัฒนาหลักสูตรเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต นอกจากความรู้จากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งสอง นักศึกษายังได้รับโอกาสไม่ว่าจะเป็น Education Pathway กับมหาวิทยาลัย Top 50 ทั่วโลก และได้รับการสนับสนุนในการลงมือก่อตั้งบริษัทจริง ที่สามารถต่อยอดสู่การเป็นส่วนหนึ่งของ Holding Company ชั้นนำ
นายภูรัตน์ โอสถานุเคราะห์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า “การออกแบบและพัฒนาหลักสูตรร่วมกันระหว่างสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญในสาขา เพื่อเป็นการศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพหรือการนำความรู้จากหลายศาสตร์มาผสมผสานกันให้เกิดความรู้ใหม่ การทำความร่วมมือที่เข้มแข็งครั้งนี้ เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสลงมือปฏิบัติจริง และการให้ประสบการณ์กับผู้เรียนในการศึกษาลงมือปฏิบัติเพื่อเน้นความเป็นมืออาชีพและพร้อมทำงานได้จริง เมื่อจบหลักสูตรผู้เรียนสามารถกำหนดเส้นทางอาชีพ (Career path) พร้อมมีความรู้ใหม่ๆ จากการบูรณาการข้ามศาสตร์
ทางด้าน รศ.ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มุ่งพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างสรรค์งานวิจัย และนวัตกรรมสู่สังคมโลก ด้วยวิสัยทัศน์การเป็น The World Master of Innovation เพื่อแสดงศักยภาพด้านการวิจัยเชิงประยุกต์และนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
รศ.ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า ในด้านหลักสูตร สจล. ได้มีการพัฒนาหลักสูตรตอบโจทย์ วิสัยทัศน์ของรัฐบาล “เตรียมทัพกำลังคน สร้างอุตสาหกรรมอนาคต” IGNITE THAILAND : Future Workforce for Future Industry โดยการเร่งผลิตบัณฑิตที่เชี่ยวชาญด้าน AI Engineering ความร่วมมือนี้มีความสำคัญต่ออนาคตของการศึกษาเป็นการเชื่อมช่องว่างระหว่างความรู้ทางทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัตินับเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาที่มีความสำคัญ
ต่อความก้าวหน้าของระบบการศึกษาความร่วมมือนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าหลักสูตรของเราสอดคล้องกับความต้องการแรงงานและทิศทางอุตสาหกรรมยุคใหม่
ผศ.ดร.อรรยา สิงห์สงบ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวเสริมว่า “หลักสูตรด้านการเป็นผู้ประกอบการของมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้พัฒนาแนวคิดในการจัดเรียนการสอนจาก Babson College ซึ่งเป็นสถาบันชั้นนำด้านผู้ประกอบการระดับโลก การจัดการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ ผนวกกับความร่วมมือกับภาคธุรกิจ และการมีเครือข่ายกับ Acceleration Center ทั้งในและต่างประเทศ จะช่วยบ่มเพาะให้ผู้เรียนในหลักสูตรนี้ได้รับประสบการณ์จริง ซึ่งจะผลักดันให้บัณฑิตเป็น Engineer Entrepreneurship อย่างแท้จริง”
โปรแกรมปริญญาร่วมนี้ถือเป็น Role model ของการศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพ ที่ผสมผสานองค์ความรู้ที่เป็นจุดเเข็งของทั้งสองมหาวิทยาลัย เพื่อถ่ายถอดศาตร์แห่งวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และการเป็นผู้ประกอบการ ที่เป็นทักษะสำคัญสู่การสร้างผู้นำที่เชี่ยวชาญด้าน AI ที่มีมุมมองและทักษะความเป็นผู้ประกอบกิจการ ซึ่งจะกลายเป็นกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ให้โตทันการแข่งขันและต้องการของโลกธุรกิจ
STEM Education ในวันนี้กำลังถูกบูรณาการความรู้สู่ Version ใหม่ สู่การเป็น STEM+EC (Entrepreneur & Creativity) ซึ่งจะการส่งเสริม STEMEC จะเป็นการประยุกต์ความความสร้างสรรค์มาสร้าง Value ที่สามารถเพิ่มศักยภาพของนักศึกษาเป็นอย่างมาก นักศึกษาสามารถศึกษาเจาะลึกในอุตสาหกรรมเฉพาะทางได้ทั้งหมด 3 สาขาเฉพาะทาง กล่าวคือ สาขาที่ 1: อุตสาหกรรมอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ/ สาขาที่ 2: อุตสาหกรรมดิจิทัลและ IoT/ สาขาที่ 3: อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและโลจิสติกส์
สำหรับนักศึกษาที่เรียนจะได้รับทั้งประสบการณ์การบ่มเพาะจากองค์ความรู้ทั้งในประเทศไทยและจากต่างประเทศ ที่เน้นการ ลงมือทำจริง ได้รับประสบการณ์จริงจากโจทย์จริงของโลกธุรกิจ พร้อมทั้ง นักศึกษาจะได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในอาชีพในการผลักดันนักศึกษาสู่ที่กระบวนการ
จดทะเบียนบริษัท บริหารบริษัทจริงที่มีโอกาสได้รับการคัดเลือกเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทโฮลดิ้งชั้นนำ จากประสบการณ์ที่นักศึกษาจะได้รับในรั้วมหาวิทยาลัยทั้งสองสามารถสร้างโอกาสทางอาชีพเมื่อเรียนจบหลักสูตรมากมาย อย่างเช่น การเป็นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพในเทคโนโลยีขั้นสูง, ผู้จัดการโครงการ, นักออกแบบนวัตกรรม, วิศวกร AI, วิศวกรการเรียนรู้ของเครื่อง, โปรแกรมเมอร์ AI, ผู้เชี่ยวชาญ AI ด้านเทคโนโลยีอาหาร และผู้เชี่ยวชาญ AI ด้านโลจิสติกส์ เป็นต้น.