ธรรมนัส ชงแผน 3 ปี 5.4 แสนล้าน แก้ภัยพิบัติ ขณะลานีญาแช่ไทยยาวถึงปี 68
ธรรมนัส วางแผนบริหารน้ำ 3 ปี วงเงิน5.48แสนล้าน เตรียมเสนอ ครม. เดือนนี้ หลังนายกฯ ติดตามสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝน เร่งทำแผน ด้านทรัพยากรน้ำ และโครงการสำคัญ เพื่อให้ น้ำถึงไร่นา น้ำสะอาดทุกหมู่บ้าน แก้ปัญหาภัยพิบัติด้านน้ำ ด้านกรมอุตุฯแจ้งลานีญาจะอยู่ไทยถึงเดือน ก.พ. 68
ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในการประชุมการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนปี 2567 ที่มีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้เห็นชอบ ร่างแผน 3 ปี( พ.ศ. 2568-70) ด้านทรัพยากรและโครงการสำคัญ โดยให้สำนักงานทรัพยากรแห่งชาติ (สทนช.) จัดทำโครงการเสนอ คณะรัฐมนตรี(ครม.)ภายในเดือนส.ค.2567 สำหรับแผน 3 ปี มีวงเงิน 548,485 ล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณ ปี 2568 วงเงิน 155,986 ล้านบาท ปี 2569 วงเงิน 208,815 ล้านบาท และปีที่ 3 วเงิน 183,684 ล้านบาท เพื่อบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้ง ในระดับประเทศลงลึกถึงระดับตำบลและหมู่บ้าน
ทั้งนี้งบประมาณดำเนินโครงการต่างๆ 548,485 ล้านบาท ในแผน 3 ปี ยังไม่รวมโครงการขนาดใหญ่ ที่ต้องร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) โดยโครงการต่างๆบรรจุในแผน 20 ปีของรัฐบาล แต่นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้เร่งดำเนินการในโครงการที่สามารถดำเนินการและมีความเป็นไปได้ก่อน จะเห็นได้ว่าการดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำต้นทุนครั้งนี้ จะมีอายุโครงการสอดคล้องการอายุรัฐบาล คืออีก 3 ปีที่เหลือสิ้นสุด ปี 2570 น้ำท่วมและแล้งซ้ำซากจะต้องลดลง
ทั้งนี้งบประมาณดำเนินโครงการต่างๆ 548,485 ล้านบาท ในแผน 3 ปี ยังไม่รวมโครงการขนาดใหญ่ ที่ต้องร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) โดยโครงการต่างๆบรรจุในแผน 20 ปีของรัฐบาล แต่นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้เร่งดำเนินการในโครงการที่สามารถดำเนินการและมีความเป็นไปได้ก่อน จะเห็นได้ว่า การดำเนินโครงการการบริหารจัดการน้ำต้นทุนครั้งนี้ จะมีอายุโครงการสอดคล้องการอายุรัฐบาล คืออีก 3 ปีที่เหลือสิ้นสุด ปี 2570 น้ำท่วมและแล้งซ้ำซากจะต้องลดลง
“ในแผน 20 ปีของรัฐบาลมีโครงการมากมาย ที่ประชุมเลือกโครงการที่จำเป็นเร่งด่วนมาดำเนินการก่อน เพื่อให้ให้เห็นว่ารัฐบาล ตั้งใจลดน้ำท่วมและน้ำแล้งซ้ำซาก ให้เกิดเป็นรูปธรรม ในยุครัฐบาลปัจจุบันบริหารประเทศน้ำท่วมน้ำแล้งต้องลดลง เพื่อให้ เห็นผลงานชัดเจนลดความเสี่ยงจากปริมาณน้ำที่ไม่สมดุล คือน้ำมากไปก็จะท่วมและน้ำน้อยไปก็จะแล้งจนกระทบทำให้เกษตรกรและประชาชนเดือดร้อน”
เป้าหมายการดำเนินแผน 3 ปี(ปี2568-70) ด้านทรัพยากรและโครงการสำคัญ เพื่อให้ทุกครัวเรือนเข้าถึงระบบประปา และน้ำสะอาด เพิ่มขึ้น 4.5 ล้านครัวเรือน พื้นที่ทำการเกษตรนอกเขตชลประทานที่มีโอกาสเกิดภัยแล้ง 22.36 ล้านไร่ ได้รับการพัฒนาเป็นพื้นที่การเกษตรที่มีแหล่งน้ำและระบบชลประทานระบบกระจายน้ำ จำนวน 12.34 ล้านไร่ คิดเป็น 54% ของพื้นที่ที่ทำการเกษตรนอกเขตชลประทานที่มีโอกาสเกิดภัยแล้ง
พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซากที่เกิดประจำทุกปี 1.6 ล้านไร่ ได้รับการแก้ไขและบรรเทาน้ำท่วมจำนวน 0.68 ล้านไร่ คิดเป็นสัดส่วน 42% ของพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก และจากเป้าหมายการเพิ่มพื้นที่สีเขียวตามนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ปี 2562 จำนวน 27.27 ล้านไร่ จะได้รับการฟื้นฟูจำนวน 3.32 ล้านไร่ หรือ 12.17% ของเป้าหมายเพิ่มพื้นที่สีเขียวฯ
"นายกรัฐมนตรี สั่งให้เร่งทำแผนและโครงการสำคัญ เพื่อให้ “น้ำถึงไร่นา น้ำสะอาดทุกหมู่บ้าน แก้ปัญหาภัยพิบัติด้านน้ำ” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมอบหมายให้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เร่งรัดการยกร่างแผนฯ ให้แล้วเสร็จ เพื่อเสนอต่อ ครม. ภายในเดือนสิงหาคมนี้ และให้ สทนช. รับผิดชอบในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ"
ให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ สทนช. บูรณาการการดำเนินงานตามแผนงานดังกล่าว เพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามที่ได้ตั้งเป้าไว้ และให้สทนช. ติดตามและกำกับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนดำเนินงานตามแนวทางการบริหารจัดการน้ำ และปฏิบัติงานตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝนอย่างเคร่งครัด
นอกจากนี้ ยังมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หาแนวทางการดำเนินงาน ทั้งในเรื่องภารกิจการถ่ายโอนอำนาจไปสู่ท้องถิ่น และการขอใช้พื้นที่ที่เป็นที่ดินของรัฐ เพื่อลดปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นต่อไปด้วย
ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาว่า ขณะนี้ปรากฏการณ์เอนโซที่อยู่ในสภาวะปกติได้เปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาแล้ว ตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคมไปจนถึงกันยายน 2567 และมีแนวโน้มต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งจะส่งผลให้มีปริมาณฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายไปทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทานได้ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำท่าอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง พร้อมนำข้อมูลการคาดการณ์ปริมาณฝน และปริมาณน้ำท่าจากสถานีโทรมาตรมาวิเคราะห์วางแผนการบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดและสอดคล้องกับสถานการณ์ มีการจัดจราจรน้ำให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกันระหว่างพื้นที่ เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
นอกจากนี้ ยังได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการติดตามสถานการณ์น้ำท่ารายชั่วโมง เพื่อให้สามารถแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำได้อย่างทันต่อเหตุการณ์ มีการกำหนดพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย จัดเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือ อาทิ เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำเครื่องจักรสนับสนุนอื่น ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่เสี่ยง ที่พร้อมจะเข้าไปช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที ตลอดจนบูรณาการร่วมกับจังหวัด องค์กรปกครองท้องถิ่น สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนถึงสถานการณ์น้ำให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญได้เน้นย้ำให้ทุกโครงการชลประทานปฏิบัติตาม 10 มาตรการรองรับฤดูฝนปี 67 ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบอย่างเคร่งครัด เพื่อให้สามารถป้องกันและบรรเทาปัญหาที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด
อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทานมีแนวทางการพัฒนาโครงการเพื่อป้องกันอุทกภัย ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก 3 ปี (ปี 2564 - 2566) ทั้งลุ่มน้ำยม-น่าน ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำชี-มูล ลุ่มน้ำบางปะกง ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน และลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง
โดยขณะนี้มีโครงการที่อยู่ระหว่างเร่งรัดงานก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามแผนงาน จำนวน 3 โครงการ โครงการที่สามารถเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2569 จำนวน 5 โครงการ และโครงการที่อยู่ระหว่างการติดตามเร่งรัดกระบวนการศึกษา จำนวน 2 โครงการ