ครม.ไฟเขียวงบ 450 ล้าน แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ

ครม.ไฟเขียวงบ 450 ล้าน แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ

ครม.ไฟเขียวแผนแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ 450 ล้านบาท โดยให้กรมประมงใช้งบประมาณไปก่อน หวังควบคุม กำจัด และลดประชากรปลาหมอคางดำที่แพร่ระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทยเป็นเวลา 3 ปี

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่าในวันนี้ (20 ส.ค.67) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ( ครม.) เห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ  แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ พ.ศ.2567 - 2570 เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ 1 พ.ศ.2567 – 2570 (แผนปฏิบัติการปลาหมอคางดำฯ) วงเงิน 450 ล้านบาท โดยให้กรมประมงใช้งบประมาณประจำปีที่กรมประมงได้รับการจัดสรรมาดำเนินการ

นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบแผนปฏิบัติการปลาหมอคางดำฯ เป็นวาระแห่งชาติ โดยให้ยกเว้นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563 เรื่องแนวทางการจัดทำแผนระดับที่ 3 ที่เป็นแผนปฏิบัติการด้าน .... เพื่อเสนอให้สามารถนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีได้โดยเร็วต่อไป

รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากปลาหมอคางดำ การฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของแหล่งน้ำที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ สร้างเครือข่ายความร่วมมือในพื้นที่ของทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน และการมีส่วนร่วมในการรับมือกับการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในพื้นที่รอยต่อ และพื้นที่มีความเสี่ยง

เร่งประชาสัมพันธ์ และการสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนส่วนให้ทราบถึงผลกระทบ และการดำเนินการร่วมแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ และพัฒนางานวิจัย และนวัตกรรมด้านการประมงในการป้องกันสัตว์น้ำต่างถิ่นรุกราน

ทั้งนี้ในแผนงานแต่ละด้านได้มีการกำหนดเป้าหมายดังนี้

- กำจัดประชากรปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า 5,000 ตัน

- ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพตามความเหมาะสมของแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า 20 ล้านตัว

- ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริม สร้างความรู้ และแรงจูงใจให้ประชาชนทุกภาคส่วนตระหนักถึงผลกระทบ รวมทั้งจัดให้มีการใช้ประโยชน์จากปลาหมอคางดำเพื่อกำจัด และบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบ

ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รายงานให้ ครม.รับทราบว่าคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในการประชุมครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน) มีมติเห็นชอบในหลักการของแผนปฏิบัติการปลาหมอคางดำ4 โดยแผนปฏิบัติการดังกล่าวประกอบด้วย 7 มาตรการ (14 กิจกรรม)

โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ การสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายประชากรปลาหมอคางดำในพื้นที่เขตกันชน - วัตถุประสงค์ สร้างความรู้ และการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง และเตรียมความพร้อมในการรับมือการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำให้กับประชาชนในพื้นที่เขตกันชน และพื้นที่ ที่มีความเสี่ยง- ตัวชี้วัด

มีช่องทางการรับแจ้งการแจ้งการแพร่ระบาดไม่น้อยกว่า 1 ช่องทาง และเฝ้าระวัง และป้องกันแหล่งน้ำที่ยังไม่พบการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำไม่น้อยกว่า 4 จังหวัด - งบประมาณ 10 ล้านบาท - หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมประมง สำนักงานประมงจังหวัด ศูนย์วิจัยประมงในพื้นที่ และด่านตรวจสัตว์น้ำ

มาตรการที่ สร้างความรู้ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการกำจัดปลาหมอคางดำ - วัตถุประสงค์ ประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ ความตระหนัก ให้กับทุกภาคส่วนเพื่อเป็นการป้องกันและพร้อมรับมือการแพร่ระบาด และข้อมูลด้านกฎหมาย - ตัวชี้วัด มีสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ คู่มือประชาชน และคู่มือเจ้าหน้าที่เพื่อใช้รับมือปลาหมอคางดำ - งบประมาณ 10 ล้านบาท - หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมประมง สำนักงานประมงจังหวัด ศูนย์วิจัยประมงในพื้นที่ และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มาตรการที่ 6 การพัฒนางานวิจัย และนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ - วัตถุประสงค์  พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ และ (นำองค์ความรู้ไปจัดทำมาตรการในการแก้ไขปัญหา - ตัวชี้วัด (บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์เผยแพร่เป็นองค์ความรู้ในการจัดการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ   ระบบสารสนเทศที่สามารถวิเคราะห์ผลเชิงพื้นที่แบบเวลาจริง และ ระบบการจัดเก็บตัวอย่างสามารถใช้อ้างอิงประชาชนเป็นมาตรฐานสากล - งบประมาณ 100 ล้านบาท โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมประมง

มาตรการที่ 7 การฟื้นฟูระบบนิเวศ - วัตถุประสงค์ ฟื้นฟูความหลากหลาย และความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ - ตัวชี้วัด ( จำนวนสัตว์น้ำประจำถิ่นที่ปล่อยลงในแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า 5 ล้านตัว และแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำประจำถิ่นได้รับการฟื้นฟูไม่น้อยกว่า 16 แห่ง - งบประมาณ 100 ล้านบาท - หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมประมง

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์