ของเล่นคนรวยเปิดลิสต์“Super Yacht”ท่องเที่ยวหมื่นล้าน
รายได้โดยตรงจากการท่องเที่ยวคิดเป็นสัดส่วนต่อจีดีพีประเทศไทย 18% ยังไม่นับรวมรายได้ทางอ้อม และหากไทยจะเพิ่มมูลค่าจากภาคการท่องเที่ยวโดยนำแหล่งท่องเที่ยวล้ำค่าประเทศเข้าลิสต์เส้นทางระดับโลก‘เวิลด์คลาสเดสติเนชั่น’ก็จะทำให้ไทยมีมูลค่าจีดีพีที่เพิ่มขึ้น
ในโลกนี้มีรูปแบบการท่องเที่ยวที่หลากหลาย การท่องเที่ยวทางทะเลด้วยเรื่อยอร์ชส่วนตัวก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูงเพราะนักท่องเที่ยวที่ว่านี้อยู่ในกลุ่มเศรษฐีที่พร้อมจับจ่าย เวบไซด์ “yachtiecareers.com” เปิดเผย 10 อันดับเรือยอร์ชหรูหราราคาแพงที่สุดในโลก
เริ่มต้นที่เรือ“History Supreme” มีมูลค่า 4.8 พันล้านดอลลาร์ และถือเป็นหนึ่งในเรือยอทช์ที่แพงที่สุดในโลกจนถึงปัจจุบัน เรือยอร์ชลำนี้มีรูปลักษณ์ที่สวยงามอลังการเนื่องจากถูกเคลือบด้วยทองคำแท้ทั้งลำ ความยาว 100 ฟุต ใช้ทองคำแท้ 10,000 กิโลกรัม เจ้าของคือ Robert Knok ซึ่งเป็นคนมาเลเซียที่ร่ำรวยที่สุดคนหนึ่ง
เรือ Streets of Monaco มีมูลค่า 1.1 พันล้านดอลลาร์มีสระว่ายน้ำขนาดใหญ่ มีความยาว 500 ฟุตและมีการตกแต่งภายในที่หรูหรามาก มีทั้งหมด 3 ชั้น เมื่อคุณเข้าไป มีลิฟต์และห้องพักสำหรับแขกประมาณเจ็ดห้อง และแต่ละห้องมีการจัดวางและพื้นที่ที่หรูหราพร้อมระเบียงส่วนตัว ห้องแต่งตัว และห้องน้ำสุดหรู
เรือ Eclipse เป็นเรือยอทช์ที่มีราคาแพงที่สุดลำหนึ่ง โดยมีมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ยังเป็นเรือยอทช์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองอีกด้วย สร้างขึ้นโดยคำนึงถึงความซับซ้อนและความหรูหราเป็นหลัก มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ 2 แห่ง ห้องโถงดิสโก้สุดอลังการ บ้านพักแขกสุดหรู 24 ห้อง สระว่ายน้ำ และอ่างน้ำร้อน Eclipse ยังมีเรือดำน้ำขนาดเล็กที่หรูหราเกินบรรยาย และสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 50 เมตร เรือลำนี้หรูหรามาก โรมัน อับรามอวิช มหาเศรษฐีชาวรัสเซีย เป็นเจ้าของ
เรือ Azzam มูลค่า 600 ล้านดอลลาร์ เป็นของราชวงศ์แห่งหนึ่งในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ การออกแบบมีเอกลักษณ์และซับซ้อน วิศวกรรมศาสตร์ก็ดูน่าทึ่งมีความหรูหรา แต่ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ความเร็วและความคล่องตัวของเรือก็น่าประทับใจ เรือยอร์ชแล่นได้อย่างสวยงามเหนือน้ำตื้นและน้ำอุ่น นับสิ่งมหัศจรรย์ทางเทคโนโลยีอันสง่างามนี้ไม่เหมือนใคร
เรือ Dubai มูฮัมหมัด ราชิด อัลมักทูม ผู้ปกครองดูไบและนายกรัฐมนตรีของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นเจ้าของเรือยอร์ชลำนี้ มีมูลค่า 400 ล้านดอลลาร์ สามารถถ่ายทอดแก่นแท้ของความหรูหราได้สำเร็จ ด้วยความยิ่งใหญ่ ล้ำสมัย และหรูหรา เรือยอทช์ลำนี้มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ สระว่ายน้ำที่มีพื้นและผนังโมเสก อ่างจากุซซี่และพื้นที่อาบแดดมากมาย รวมถึงบันไดกระจกเปลี่ยนสีที่สวยงามซึ่งจะเปลี่ยนสีเมื่อได้รับแสง
เรือ A+ เดิมเรียกว่า Topaz มีมูลค่าสูงถึง 527 ล้านดอลลาร์ เจ้าของเรือคือรองนายกรัฐมนตรีของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ชีค มานซูร์ บิน ซายิด อัล นายาน A+ มีรูปลักษณ์ที่โอ่อ่าและความเร็วที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้กันด้วยเครื่องยนต์ที่ทรงพลังซึ่งมีความเร็วประมาณ 23 นอต
เรือMotor Yacht มีรูปร่างหน้าตาที่ไม่เหมือนใคร เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายกับเรือดำน้ำ เรือลำนี้สร้างขึ้นโดยความร่วมมือของสุดยอดนักคิดอย่าง Martin Francis สถาปนิก Philippe Stark นักออกแบบ และ Blohm และ Voss ช่างฝีมือ ผลงานชิ้นเอกจากความร่วมมือนี้เป็นของมีเจ้าของชื่อ Andrey Melnichenko ชาวรัสเซีย และมีมูลค่า 440 ล้านดอลลาร์ มีดิสโก้ที่น่าตื่นตาตื่นใจ ห้องนอนใหญ่ และห้องรับรองแขกขนาดใหญ่ 6 ห้อง ซึ่งมีผนังที่เคลื่อนย้ายได้ซึ่งสามารถแปลงเป็นห้องนอน 4 ห้องได้
เรือ Al Said มีมูลค่า 300 ล้านดอลลาร์และมีห้องแสดงคอนเสิร์ตขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับวงออเคสตรา 50 ชิ้นได้ เชื่อกันว่าเป็นของสมาชิกราชวงศ์โอมาน เรือลำนี้เป็นหนึ่งในเรือยอร์ชที่สวยงามที่สุดและดูสง่างามที่สุด
เรือ Serene หรือพระราชวังลอยน้ำด้วยเหตุผลบางประการ เรือยอทช์ลำนี้เต็มไปด้วยกิจกรรมต่างๆ มากมาย ไม่ว่าคุณจะนึกถึงอะไร เรือยอทช์ลำนี้มีทุกอย่าง เจ้าของคือโมฮัมหมัด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย เรือยอทช์ลำนี้มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 330 ล้านดอลลาร์
“มีห้องอบไอน้ำ ศูนย์ความงามแบบฮัมมัม ห้องสังเกตการณ์ โรงภาพยนตร์กลางแจ้ง ห้องเปียโน ฟลอร์เต้นรำ ห้องเล่นหิมะ คลับชายหาด และสระน้ำทะเล หนึ่งในคุณสมบัติที่น่าทึ่งของเรือลำนี้คือการสังเกตสัตว์ทะเลใต้น้ำ”
มูลค่าเรือแต่ละลำสูงมาก ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายจากคนบนเรือ และค่าบำรุงรักษาเรือ Super Yacht เหล่านี้ หากทำให้เรือเหล่านี้มาจอดที่ประเทศไทยได้ก็จะเท่ากับนำมูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจส่งเงินลงพื้นที่ได้โดยตรง
มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กรมเจ้าท่า ได้ปรับปรุงประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการอนุญาตให้เรือสำราญและกีฬาขนาดใหญ่ (Super Yacht) ของบุคคลผู้ไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะถือกรรมสิทธิ์เรือไทยทำการค้าในน่านน้ำไทยตามมาตรา 47 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ. 2481 เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายกระทรวงคมนาคมที่ส่งเสริมการประกอบธุรกิจเรือสำราญและกีฬาขนาดใหญ่ (Super Yacht)
“สร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว ทำให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญของการท่องเที่ยวระดับโลก ดึงดูดนักท่องเที่ยวทุกระดับและเพิ่มสัดส่วนของนักท่องเที่ยว ที่มีคุณภาพสูง สร้างรายได้จาก การท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ”
นอกจากนี้ จังหวัดภูเก็ต มียุทธศาสตร์ที่มีจุดเด่นเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก(World Maritime Destination Hub)โดยที่ผ่านมา มีการบังคับใช้มาเป็นระยะเวลาพอสมควร ตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค. 2558 จนถึงปัจจุบัน (ก.ย. 2567) รวมระยะเวลา 9 ปี ดังนั้น จึงมีนโยบายให้ดำเนินการปรับปรุงประกาศกระทรวงคมนาคมเรื่องดังกล่าวใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวทางทะเลโดยปัจจุบันเรือสำราญและกีฬาขนาดใหญ่ (Super Yacht) ยังมีเรือไทยไม่เพียงพอกับความต้องการอีกด้วย
กริชเพชร ชัยช่วย อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า สำหรับการปรับปรุงประกาศเรื่องดังกล่าว ได้ปรับขนาด ของเรือสำราญและกีฬาขนาดใหญ่ (Super Yacht) จากเดิมที่เป็นเรือต้องมีความยาวตั้งแต่ 30 เมตรขึ้นไปบรรทุกคนโดยสารได้ไม่เกิน 12 คน ให้เป็นเรือที่มีขนาดตั้งแต่ 24 เมตรขึ้นไป บรรทุกคนโดยสารได้ไม่เกิน 12 คน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
พร้อมทั้งกำหนดกรมธรรม์ประกันภัย ให้เหมาะสมครอบคลุมตามมาตรฐานและหลักการประกันภัยทางทะเล ที่มีวงเงินคุ้มครองความเสียหายไม่ต่ำกว่า 5 ล้านดอลลาร์ต่อครั้ง หรือราว 171 ล้านบาทต่อครั้ง ทั้งนี้ การยื่นขออนุญาตสามารถดำเนินการได้โดยผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์และสามารถใช้เอกสารประกอบคำขอได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งกำหนดกรอบระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตให้เสร็จภายใน 25 วันทำการ
อย่างไรก็ตาม การอนุญาตให้เรือสำราญและกีฬาขนาดใหญ่ (Super Yacht) เข้ามาทำการค้าในน่านน้ำไทยได้ จะเพิ่มขีดความสามารถในการท่องเที่ยว สนับสนุนประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางน้ำและเรือสำราญในภูมิภาคเอเชีย (Marina Hub Of Asia) ตามนโยบายรัฐบาล กระตุ้นการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ช่วยสร้างรายได้ให้ประเทศ โดยการแวะท่องเที่ยว เช่าท่าที่จอดเรือ จ้างซ่อมบำรุงรักษาเรือ ใช้บริการโรงแรม ร้านอาหาร ร้านขายเสบียงอาหาร เป็นต้น
รวมถึงสร้างงานให้กับคนในพื้นที่ ได้แก่ การจ้างกัปตันและลูกเรือเพื่อดูแลเรือ การจ้างช่างซ่อมเรือ อีกทั้งช่วยพัฒนาความรู้ด้านวิชาชีพเกี่ยวกับการซ่อมเรือและการเป็นกัปตันเรือ ส่งเสริมให้รัฐบาลมีรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการใช้จ่ายในประเทศ ตลอดจนเกิดการท่องเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวเศรษฐีต่างชาติ โดยเรือซุปเปอร์ยอร์ชที่ต้องการมาเที่ยวในเขตภูมิภาคเอเชีย ส่งผลให้เกิดเม็ดเงินจากการใช้จ่ายที่สูงมากของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้อีกด้วย