‘กูเกิล‘ประกาศแผนลงทุนในไทย 3.6 หมื่นล้าน เพิ่มมูลค่าศก. 1.4 แสนล้าน ในปี 72

‘กูเกิล‘ประกาศแผนลงทุนในไทย 3.6 หมื่นล้าน เพิ่มมูลค่าศก. 1.4 แสนล้าน ในปี 72

’กูเกิล’ ประกาศแผนลงทุนในไทย 3.6 หมื่นล้าน ภายในปี 2572 สร้างงาน 14,000 ตำแหน่ง เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ 1.4 แสนล้าน

วันนี้ (30 ก.ย.) ที่ทำเนียยรัฐบาล นางรูธ โพรัท (Mrs. Ruth Porat) ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการลงทุนบริษัท Alphabet และ Google และคณะ เดินทางเข้าเยี่ยมคารวะ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี วันนี้ (30 กันยายน 2567) ที่ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังได้มีการแถลงข่าวร่วมกัน 

โดยทางกูเกิลได้ประกาศแผนการลงทุนมูลค่า 3.6 หมื่นล้านบาท (1 พันล้านดอลล่าร์) เพื่อขยายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในประเทศไทย โดยวางแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์และศูนย์ข้อมูล (Data Center) ในกรุงเทพฯ และชลบุรี ซึ่งจะช่วยตอบสนองความต้องการในการใช้งานคลาวด์ที่

มากขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทั่วโลก นอกจากนี้ Google ยังได้เดินหน้าโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเติบโตในเศรษฐกิจ AI และช่วยให้คนไทยทุกคนเข้าถึงทักษะด้านดิจิทัลและ AI ได้มากขึ้นตามพันธกิจ "Leave No Thai Behind"

‘กูเกิล‘ประกาศแผนลงทุนในไทย 3.6 หมื่นล้าน เพิ่มมูลค่าศก. 1.4 แสนล้าน ในปี 72

ทั้งนี้การลงทุนนี้จะกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานเพิ่ม 14,000 ตำแหน่ง และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจไทยได้ 1.4 แสนล้านบาทภายในปี 2572

จากการศึกษาของบริษัท Deloitte โดยโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์และศูนย์ข้อมูลของ Google ในกรุงเทพฯ และซลบุรีจะช่วยรองรับความต้องการที่ขึ้นของการใช้งาน Google Cloud และ นวัตกรรม AI อีกทั้งบริการต่างๆ ของ Google ซึ่งรวมถึง Google Search, Google Maps wa: Google Workspace ที่องค์กรต่างๆ ประขาชนคนไทย ตลอดจนผู้คนหลายพันล้านคนทั่วโลกใช้ในชีวิตประจำวัน

การประกาศแผนการลงทุนในวันนี้ต่อเนื่องมาจากประกาศของ Google Cloud เมื่อปี 2565 ที่เคยได้ประกาศไว้

ด้านนางสาวแพทองธารกล่าวว่าขอบคุณบริษัท Google ที่ไว้วางใจในศักยภาพของไทยในการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของ Google และเชื่อมั่นว่าการหารือในวันนี้จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับบริษัทให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยรัฐบาลมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างกันให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในระยะยาว และดำเนินการหาแนวทางเพื่อให้ความร่วมมือระหว่างกันมีความคืบหน้าและเกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะในเรื่องนโยบาย Cloud First Policy ของรัฐบาล

ซึ่งมุ่งเน้นที่การจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานและการบริการของภาครัฐแก่ประชาชนให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น รวมถึงเทคโนโลยี AI ซึ่งรัฐบาลพร้อมให้มีการให้องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับแนวทางของ Google รวมถึง สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีให้ความมั่นใจแก่บริษัทถึงความต่อเนื่องด้านนโยบายและการดำเนินโครงการต่าง ๆ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มีการพูดคุยกับนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี อย่างต่อเนื่อง

 "Google ซึ่งเป็นบริษัทที่เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่คนไทย และใช้ผลิตภัณฑ์ของ Google อย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวัน อาทิ Google Search, Google Maps, Gmail, YouTube และ Google Cloud"

นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีความร่วมมือที่เข้มแข็งกับบริษัทฯ โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ผลักดันให้เกิดการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างบริษัท Google กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านดิจิทัลของไทย และเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลด้วยการให้ความสำคัญกับระบบคลาวด์ ถือเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งและทำให้เกิดงานในวันนี้ขึ้น ซึ่งนายกรัฐมนตรีมุ่งมั่นที่จะสานต่อความร่วมมือระหว่างกันให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อไป 

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจดิจิทัลถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของไทย โดยรัฐบาลมุ่งเสริมศักยภาพด้านดิจิทัลที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาตนเอง ประสิทธิภาพการทำงาน และนวัตกรรม ซึ่งจะช่วยลดความไม่เท่าเทียมและสร้างโอกาสที่มากขึ้นสำหรับทุกคน นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีย้ำถึงศักยภาพของไทย ซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ยืดหยุ่นและระบบสาธารณูปโภคที่มีเสถียรภาพ ควบคู่กับมีการรักษาความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (Technological Neutrality) รวมถึงความต้องการด้านดิจิทัลของไทยยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการมีเครือข่าย 5G ที่ครอบคลุมและมีประชากรที่ใช้งานดิจิทัลจำนวนมาก 

รัฐบาลจะเดินหน้าขยายโครงการริเริ่มด้านพลังงานสะอาด และปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านกฎระเบียบ เพื่อส่งเสริมระบบนิเวศทางดิจิทัลที่เจริญรุ่งเรือง โดยรัฐบาลกำลังดำเนินการอย่างแข็งขันเพื่อสร้างกลไกด้านพลังงานสะอาด อาทิ การทำสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง (Direct PPA) และการเพิ่มทางเลือกใหม่ ๆ เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงพลังงานสะอาดได้มากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลเห็นถึงความสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบดิจิทัลที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล โดยอีกหนึ่งโครงการริเริ่มที่สำคัญของรัฐบาล คือ นโยบายการใช้ระบบคลาวด์เป็นหลัก (Cloud First Policy) เพื่อยกระดับการบริการดิจิทัลของรัฐบาล การกำกับดูแลข้อมูล และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ขณะเดียวกัน รัฐบาลยังได้ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล สร้างความเชื่อมั่นให้ภาคธุรกิจ พร้อมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมดิจิทัล 

นายกรัฐมนตรียินดีที่บริษัท Google ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อสำรวจการจัดตั้งศูนย์ข้อมูล (Data Center) แห่งแรกในไทย สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของ Google และความพร้อมของไทยทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่งและแรงงานที่มีทักษะ นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังสนับสนุนให้ Google สำรวจโอกาสความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในไทย เพื่อพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของแรงงานในอนาคต และเตรียมความพร้อมสำหรับอุตสาหกรรมดิจิทัลที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว 

ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรียืนยันว่า รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางที่รุ่งเรืองของ Google เพื่อส่งเสริมการเติบโตของคนไทยและธุรกิจทั้งในประเทศและภายในภูมิภาคอาเซียน