กนช. รุกแผนรับมือแล้ง ปี 2567/68 เริ่ม 1 พ.ย. นี้

กนช. รุกแผนรับมือแล้ง ปี 2567/68 เริ่ม 1 พ.ย. นี้

กนช. สั่งตั้งคณะอนุกรรมการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำ ปี 2567 ร่วมสนับสนุนการดำเนินงาน แก้ปัญหาน้ำท่วมช่วงฤดูฝนนี้ เร่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติตาม 8 มาตรการรองรับฤดูแล้งปี 2567/68 ที่จะมาถึงวันที่ 1 พ.ย. 67

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 4/2567  ว่า ที่ประชุมได้ติดตามการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและดินโคลนถล่มในพื้นที่ภาคเหนือในช่วงที่ผ่านมา ได้รับข้อสั่งการจากนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด 

กนช. รุกแผนรับมือแล้ง ปี 2567/68 เริ่ม 1 พ.ย. นี้

รวมทั้งให้บริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนหรือส่งผลกระทบน้อยที่สุด โดยปัจจุบันยังมีพื้นที่ประสบปัญหาอุทกภัย 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก นครสวรรค์ สุโขทัย อุดรธานี กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ มหาสารคาม อุบลราชธานี ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และนครปฐม ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งบริหารจัดการน้ำให้กลับคืนสู่ภาวะปกติ รวมถึงเร่งเยียวยาผู้ประสบภัยและฟื้นฟูพื้นที่ให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็วที่สุด

 

ทั้งนี้ เนื่องจากในระยะนี้ ประเทศไทยยังมีแนวโน้มที่จะเกิดสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง น้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่เปราะบางและพื้นที่ที่มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจ ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำ ปี 2567 ตามมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ. ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561

 โดยมีเลขาธิการ สทนช. เป็นประธานอนุกรรมการฯ เพื่อทำหน้าที่ ในการวิเคราะห์และประเมินสภาพอากาศ 

สถานการณ์ฝน สถานการณ์น้ำ สนับสนุนข้อมูลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้กับ กนช. และศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) รวมถึงให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามหลักวิชาการที่เหมาะสมต่อ กนช. 

พร้อมทั้งดำเนินการถอดบทเรียนด้านการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำและอุทกภัยจากอิทธิพลของพายุจรที่ผ่านมาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป โดยให้รายงานผลการดำเนินงานต่อ กนช. อย่างต่อเนื่อง

กนช. รุกแผนรับมือแล้ง ปี 2567/68 เริ่ม 1 พ.ย. นี้

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากจากการบริหารจัดการน้ำเพื่อเร่งลดผลกระทบต่อประชาชนในช่วงฤดูฝนแล้ว กนช. ยังให้ความสำคัญต่อการเตรียมพร้อมรับมือฤดูแล้งปี 2567/68 ที่จะมาถึงในวันที่ 1 พ.ย. 67 จึงมีมติเห็นชอบ (ร่าง) มาตรการรองรับ ฤดูแล้ง ปี 2567/2568 ตามที่ สทนช. เสนอ จำนวน 8 มาตรการ ซึ่งนำผลการถอดบทเรียนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฤดูแล้งปีที่ผ่านมา มาปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ให้สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้อย่างทันท่วงที 

 

 

โดยแบ่งเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านน้ำต้นทุน มาตรการที่ 1 คาดการณ์และป้องกันพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ มาตรการที่ 2 สร้างความมั่นคงน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรพร้อมปฏิบัติการเติมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านความต้องการใช้น้ำ มาตรการที่ 3 กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง บริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด มาตรการที่ 4 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ประหยัดน้ำและลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วน มาตรการที่ 5 เฝ้าระวังและแก้ไขคุณภาพน้ำ ด้านการบริหารจัดการ

กนช. รุกแผนรับมือแล้ง ปี 2567/68 เริ่ม 1 พ.ย. นี้

มาตรการที่ 6 เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน/องค์กรผู้ใช้น้ำ มาตรการที่ 7 สร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์ และมาตรการที่ 8 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน โดยมอบหมายให้ สทนช. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการตามมติ กนช. และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป

ด้าน นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า  ที่ประชุมวันนี้ยังได้เห็นชอบโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2568 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2567/68 พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินการให้ สทนช. ทราบทุกเดือน จนกว่าจะสิ้นสุดฤดูแล้ง 

กนช. รุกแผนรับมือแล้ง ปี 2567/68 เริ่ม 1 พ.ย. นี้

เพื่อให้การขับเคลื่อนมาตรการเป็นไปตามแผนและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ ให้คณะกรรมการลุ่มน้ำนำมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2567/68 ไปดำเนินการร่วมกับแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งของลุ่มน้ำ ปี 2567/68 และให้หน่วยงานเตรียมแผนงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2568 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันต่อสถานการณ์ ซึ่ง สทนช. จะติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด