กลยุทธ์อุตฯเครื่องนุ่งห่มดึงนวัตกรรมส่งfunction garmentท้าทายธุรกิจ
อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอมีเเรงงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเกือบ 2 แสนคน ทำรายได้จากการส่งออกรวมกัน2.1 แสนล้านบาท คาดกว่าปี 2567 จะส่งออกเติบโตได้ 2% ซึ่งถือว่าน้อยมากเพื่อเทียบกับความรุ่งเรื่องในอดีต
ยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) บริษัท พาลาดิน เวิร์คแวร์ จำกัด ผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป แบรนด์ “Blue Bear” และ “Graphenix ” และอดีตนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ให้สัมภาษณ์กรุงเทพธุรกิจว่า ตลาดเครื่องนุ่งห่ม ปี 2567 ยังต้องเผชิญกับความท้าทายของเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว ส่วนตลาดส่งออกถือว่าทรงๆ จากยอดส่งออกเสื้อผ้า 9 เดือนแรกปี 2567 ยังโตบวก 3-4% ยังถือว่าดี แต่หากนำกลุ่มสิ่งทอที่ติดลบ 7-8% มารวมด้วยก็จะทำให้ยอดส่งออกปีนี้เติบโตได้เพียง 2% เท่านั้น สาเหตุหลักๆมาจากปัจจัยการแข่งขันจากต่างประเทศทั้งในรูปแบบขีดความสามารถคู่แข่งที่เพิ่มขึ้นและอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอในประเทศกำลังถูกปลุกให้ลุกขึ้นมาปรับตัว
“ปัจจัยทั้งค่าเงิน อัตราดอกเบี้ยก่อนหน้านี้ ค่าพลังงาน สถานการณ์การแข่งขันจากต่างประเทศและค่าแรงงานกำลังทำให้อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอต้องปรับตัว ซึ่งการมองโอกาสใหม่ผ่านนวัตกรรมคือคำตอบของโจทย์ใหญ่ที่ตอนนี้เป็นทางแยกว่าเรากำลังจะไปสู่วิกฤติ หรือ โอกาส”
ปี 2567 บริษัท ได้วางแนวทางดำเนินธุรกิจโดยมุ่งเน้นการใช้อินโนเวชั่น และกรีน เพื่อนำมาต่อยอดพัฒนาสินค้าเสื้อผ้าที่มีมูลค่าเพิ่ม ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม
“เดิมเราผลิตเสื้อผ้ายูนิฟอร์ม แต่ช่วงวิกฤติโควิด ตลาดชุดยูนิฟอร์มชะลอตัวลงเราจึงปรับโมเดลธุรกิจมองหานวัตกรรมมาช่วยสร้างจุดเด่นในการใช้งาน ประกอบกับหลังโควิดทั่วโลกเริ่มให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น ทั้งยังให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันด้วย จึงนำมาสู่การออกแบบนวัตกรรมที่ตอบโจทย์สองเรื่องนี้ ด้วยการปรับโมเดลธุรกิจมาผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปแบบ function garment เพื่อสร้างจุดเปลี่ยนให้กับธุรกิจเรา”
ทั้งนี้ บริษัทได้พัฒนานวัตกรรมผ้าจากเส้นใยกราฟิน หรือ “ผ้ากราฟีน” แบรนด์ Graphenix จากธาตุใหม่ของโลกที่สกัดมาจากแร่ธาตุกราไฟท์ ทำให้ผ้ากราฟีนมีจุดเด่นหลายด้าน จนเรียกว่าเป็น“วัสดุแห่งอนาคต” เพราะ ช่วยระบบการไหลเวียนของ ,แอนติแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ,ยูวีโปรเทคชั่น และมีนำ้หนักเบาใส่สบาย นอกจากนี้ยังช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์
“สถาบันสิ่งทอคำนวนแล้วพบว่าลดการปลดปล่อยคาร์บอน เฉลี่ยสำหรับการใช้ผ้า 1 เมตร ลดการปล่อยคาร์บอนได้มากกว่า 10 กิโลคาร์บอน โดยได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ECO Tech จากยุโรปแล้วหลัง”
อย่างไรก็ตาม กราฟิน ยังมีราคาสูงจึงมีการใช้งานเฉพาะอุตสาหกรรมไฮแวลู เช่น เซมิคอนดักเตอร์ ออโตโมทีฟ ยา อิเล็กทรอนิกส์ หลังจากผ่านมา 6-7 ปี ความนิยมในการใช้แพร่หลายขึ้น จึงทำให้ราคาถูกลง ส่งผลให้ผู้ผลิต เสื้อผ้าในยุโรป อเมริกา ไต้หวัน จีน เริ่มหันมาใช้วัสดุนี้มากขึ้น
“แม้ว่าปัจจุบันราคากราฟีนที่ลดลงมาแล้ว แต่ยังสูงถึง กก.ละ เกือบ 1 ล้านบาท แต่ด้วยคุณสมบัติพิเศษทำให้แบรนด์ดังระดับโลกเริ่มออกผลิตภัณฑ์ที่ผสมกราฟินมาแล้ว แต่เราเป็นแบรนด์แรกในไทย”
สำหรับจุดเริ่มต้นของบริษัทได้เริ่มพัฒนาผ้ากราฟีนเมื่อ 2 ปีก่อน โดยได้งบประมาณจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) จัดสรรทุนวิจัยและสร้างนวัตกรรมให้ หลังจากผลงานวิจัยประสบความสำเร็จ ในขณะนี้อยู่ระหว่างการจดสิทธิบัตรเพิ่มเติมจากก่อนหน้านี้
คาดว่ากลางเดือนพ.ย.2567 และเริ่มวางตลาดได้ช่วงธ.ค.ถึงต้นปี 2568 โดยมีเป้าหมายรายได้ปีแรก 50 ล้านบาท เบื้องต้นกำหนดทำตลาดในประเทศก่อน เพราะผ้ารัดขาแก้เส้นเลือดขอดมีตลาดที่กว้างมาก เพราะจัดอยู่ในกลุ่มที่สามารถเบิกในประกันสังคมได้ และช่วยลดการนำเข้าสินค้าเพราะสินค้าที่ผลิตเองจะมีราคาถูกลงกว่าครึ่ง
หากตลาดในประเทศตอบรับดีเป็นไปตามเป้าหมายก็จะเป็นแรงส่งไปสู่กลยุทธ์เฟสต่อไปคือการทำตลาดในต่างประเทศ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือทำให้ตลาดรู้จักสินค้าและเข้าใจถึงนวัตกรรมใหม่นี้ เพราะต้องยอมรับว่าราคาที่สูงขึ้นกว่าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอทั่วไปอาจเป็นทั้งจุดอ่อนแต่หากสร้างความเข้าใจในวงกว้างแล้วก็เชื่อว่าจะสามารถพลิกสถานการณ์เป็นจุดแข็งที่มีเรื่องของนวัตกรรมและการออกแบบมาเป็นเเรงส่งของอุตสาหกรรมนี้ต่อไป ส่วนแผนธุรกิจในอีก 3 ปีข้างหน้าจะทำให้วัตถุดิกราฟิน ไปร่วมมือกับแบรนด์ดังระดับโลกเพื่อผลิตสินค้าที่ตอบโจทย์สุขภาพซึ่งยังคงเป็นเทรนด์อมตะของการบริโภคต่อไป
ดังนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวคือ ถ้าเป็นในส่วนของผู้ผลิต ต้องทำสินค้าที่มีมูลค่าสูง ขึ้น มีนวัตกรรม ฟังค์ชั่นการใช้งานที่หลากหลายและตอบโจทย์ เปลี่ยนหมวดสินค้าที่ทำไม่ใช่ทำแต่เสื้อยืดคอกลม ซึ่งไม่สามารถไปแข่งกับจีน อินเดียที่มีต้นทุนที่ถูกกว่าไม่ได้ ต้องเปลี่ยนไปหมวดอื่นที่ยากขึ้น ผลิตจำนวนน้อยลง มีความเป็นสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะ ทำสินค้าที่มีคุณภาพสูงขึ้น
อยากให้รัฐบาล ช่วยในเรื่อง การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆผ่านหน่วยงานรัฐที่มีบุคลากร เครื่องไม้เครื่องมือ ส่วนใหญ่จะอยู่ในอุตสาหกรรม New S-Curve และ อุตสาหกรรม S-Curve ทั้งหมด ในขณะที่อุตสาหกรรมเก่าแบบดั้งเดิมที่หาเงินให้รัฐปีละ 200,000 ล้านบาท รัฐกลับไม่มีตัวช่วยแต่ไปช่วยให้ตัดเย็บเร็วขึ้นถือหมดยุคแล้ว
ดังนั้นรัฐบาลต้องมาช่วยเรื่องการวิจัย การสร้างนวัตกรรม รูปแบบดีไซน์ หรือแพลตฟอร์มที่จะช่วยร่นระยะเวลาในการทำงานต่างๆให้มีมูลค่าสูงขึ้น ไทยยังขาดอีโคซิสเต็ม ให้นวัตกรรมเกิด ไทยยังไม่พร้อมซึ่งหากไทยยังไม่มีนวัตกรรมเพื่อแข่งขันในตลาดโลกได้ ก็ทำให้ผู้ประกอบการเหนื่อย
“หากไทยยังไม่พัฒนาปรับตัว อุตสาหกรรมเสี่ยงที่จะถดถอย เช่น ฟิลิปปินส์เคยเป็นผู้นำส่งออกเสื้อผ้า พอไม่มีการสนับสนุนจากรัฐ ส่งผลให้ต้องนำเข้าเพียงอย่างเดียว ประเทศไทยไม่เคยเป็นผู้นำด้านส่งออกแต่ไทยเป็นเพียงผู้รักษาให้อุตสาหกรรมยังคงอยู่เท่านั้น"
อุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มอยู่มานานถึง 70ปี ถือว่ายู่มานานเกินไป เพราะรัฐช่วยเพียงเรื่องเดียวคือ ฝึกอบรม ตัดเย็บ ซึ่งเป็นการยืดอายุให้ตายช้าลงเพราะช่วยไม่ถูกที่