ปตท.ยกอินเดียเบอร์1บริโภคน้ำมันโลก ลุยปรับตัวรับโลกผันผวน-สงครามยื้อ

ปตท.ยกอินเดียเบอร์1บริโภคน้ำมันโลก ลุยปรับตัวรับโลกผันผวน-สงครามยื้อ

ปตท.ชี้อินเดียจ่อแซงผู้นำตลาดน้ำมันเบอร์ 1 บริโภคน้ำมันโลก “ส.อ.ท.” จับตาทรัมป์ชี้ชะตาสงคราม “รัสเซีย-ยูเครน” ลดความกังวลราคาน้ำมันตลาดโลก “สนพ.” รับนโยบายเร่งใช้เชื้อเพลิงฟอสซิผู้นำสหรัฐคนใหม่ หนุนราคาเชื้อเพลิงถูก ป่วนแผนพลังงานชาติ ล่าช้าเสร็จต้นปีหน้า

กลุ่ม ปตท.จัดงาน 2024 The Annual Petroleum Outlook Forum “Regenerative Thailand with Cleanergy คิดนำ ล้ำหน้า ขับเคลื่อนอนาคตไทย ด้วยพลังงานสะอาด”

จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั่วโลกต่างมุ่งนโยบายลดปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งปตท. ในกลุ่มที่ดำเนินธุรกิจน้ำมัน ต้องเตรียมความพร้อมจัดหาน้ำมันดิบรับมือกับสถานการณ์ผันผวนและความขัดแย้งจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์เพื่อความยั่งยืนด้านพลังงาน นับเป็นความท้าทายกลุ่มโรงกลั่นเพื่อปรับตัวสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาด

นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โลกจะเผชิญกับสภาวะต่าง ๆ มากมายโดยเฉพาะปัญหาโลกร้อน จึงต้องช่วยกันลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่งประเทศไทยอยู่ในบริบทของอาเซียนที่ต้องปรับตัวมุ่งสู่พลังงานสะอาดมากขึ้นโดยพลังงานหมุนเวียนจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น แต่ขณะนี้ยังมีข้อจำกัดในหลายเรื่อง ดังนั้น การใช้ก๊าซธรรมชาติซึ่งถือเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลแตาสะอาดกว่าน้ำมันและถ่านหินจะยังเป็นพนักงานที่สำคัญ

ทั้งนี้ จึงต้องเข้าใจและรู้ว่าความเป็นไปต่างๆ ว่ายังต้องใช้ควบคู่กับการลดคารบอนผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การนำไฮโดรเจนมาใช้ร่วมกับก๊าซฯ และการนำเทคโนโลยีการกับเก็บคาร์บอน (CCS) เข้าร่วม สิ่งเหล่านี้จึงต้องช่วยกันพัฒนาเทคโนโลยี เพราะในอาเซียนหรือในอนาคตเทคโนโลยีนิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) จะเข้ามาเปลี่ยนผ่านพลังงานหมุนเวียน เพราะการเปลี่ยนแปลงจะทำให้ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของคนไทยแน่นอน ถือเป็นวาระสำคัญเป็นหัวข้อที่สำคัญ

“ส.อ.ท.”มองนโยบายทรัมป์กระทบ6ด้าน

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) บรรยายพิเศษในหัวข้อ “สถานการณ์โลกเรื่องพลังงาน หลังเลือกตั้ง USA” ว่า นโยบายโดนัลด์ ทรัมป์ 2.0 หากมองนโยบายสหรัฐฯ สิ่งที่เป็นนโยบายเดียวกันคือ make America great again กดดันเศรษฐกิจโลก จะส่งผลให้กระทบ 6 ด้าน คือ 1. ความผันผวนเศรษฐกิจสูงจากความไม่แน่นอนในการทำงานนโยบายเศรษฐกิจและการต่างประเทศ 2. เร่งให้เกิดการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจ ทำให้การค้าโลกรอตัวและเกิดการย้ายฐานการผลิตจากนโยบาย America first

3. เกิดการแบ่งขั้วทางเทคโนโลยีและการค้าจากการกลับมาของ Trade war and Tech war ระลอกใหม่ที่รุนแรงกว่าเดิม 4. ต้นทุนสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสหรัฐและสินค้าจีนทะลักเข้ามาแข่งขันในตลาดอื่นๆ มากขึ้น 5. มาตรการติดกันทางการค้าที่เข้มงวดขึ้นกับประเทศที่ได้ดุลการค้าจากสหรัฐรวมทั้งอาจถูกกล่าวหาเป็นฐานการผลิตของจีนและ 6. การแก้ไขปัญหาโลกร้อนชะลอออกไปเป้าหมาย Net Zero ช้ากว่าที่กำหนดและอาจกลับไปสู่ยุคการแข่งขันด้านต้นทุน

“เมื่อทรัมป์มาเกิดความผันผวนเรื่องค่าเงินเป็นอย่างมาก รวมถึงการหาเสียงเรื่องภาษีนำเข้าแต่ยกเว้นจริง 60 - 100% ซึ่งจีนย้ายฐานผลิตรถ EV ที่เม็กซิโกจะขึ้นอีก 200% จึงเป็นที่มาจากนี้ไปการแบ่งขั้วสงครามการค้าจะดุเดือดและรุนแรงขึ้นส่วนเทคโนโลยีก็เช่นกัน เพราะโดนจีนแย่งเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาดทั้งเรื่องโซลาร์ และยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

รับเทรดวอร์จีน-สหรัฐทำไทยขาดดุลการค้า

อย่างไรก็ตาม จากภูมิรัฐศาสตร์จีนกับสหรัฐ เกิดการย้ายฐานห่วงโซ่อุปทานเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมเป้าหมายมาในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งรวมถึงไทย แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดและช่วยให้ไทยได้โอกาสคือการขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นทุกปีโดยปีที่แล้วสูงระดับ 1.4 ล้านล้านบาท ปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 1.5 ล้านล้านบาท และเมื่อเทียบดูแล้วเวียดนามจะได้ประโยชน์สูงสุดช่วง 3 ปีเวียดนาม ทำตัวเลขส่งไปสหรัฐเพิ่มขึ้นทุกปี รองลงมา คือ อินโดนีเซีย แม้ไทยจะส่งออกให้สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นแต่ก็นำเข้าจากจีนเยอะขึ้นเช่นกัน

“รัสเซีย-ยูเครน” กระทบน้ำมันโลก

สำหรับผลกระทบนโยบายทำทรัมป์ 2.0 ด้านพลังงาน คือ 1.เพิ่มการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิล น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน จะทำให้ต้นทุนต่ำลงที่ประมาณ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล 2. ถอนตัวออกจากข้อตกลงปารีสปี 2015 ที่เคยสัญญาไว้ 

3.ชะลอการดำเนินงานสำหรับการลงทุนด้านพลังงานสะอาด 4. ส่งเสริมเทคโนโลยีนิวเคลียร์ขนาดเล็ก SMR และโซลาร์แต่ลดการให้เงินอุดหนุนหรือการให้เครดิตภาษีการลงทุนในส่วนของพลังงานลม ไฮโดรเจนและ CCS เป็นต้น และ 5. เจรจาให้ยุติสงครามรัสเซียยูเครน ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่คาดเดาได้ยาก และจะส่งผลต่อราคาน้ำมันโลก

นโยบายทรัมป์ทำ“แผนพลังงานชาติ”สะดุด

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวเสวนาหัวข้อ “Future Energy in Thailand” ว่า เทรนด์โลกกำลังไปในเรื่องพลังงานสะอาด ภาครัฐต้องปรับกระบวนการทำงานโดยเฉพาะนโยบายเน้นเรื่องความมั่นคง ราคาไม่แพงและยั่งยืน ตามแผนเพื่อลดปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภาคพลังงานเป็นตัวหลัก หากไม่ใช้พลังงานสะอาดจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย Net Zero ปี 2065

นอกจากนี้ มาตรการทางภาษีจะมาการกีดกันทางการค้า ภาครัฐต้องจัดหาพลังงานสะอาดให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น กระทรวงพลังงานจะมีกรอบในการลดการปลดปล่อยคาร์บอนแผนตอนนี้จะอยู่ที่ 2037 ซึ่งทิศทางพลังงานการใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้ายังพึ่งก๊าซธรรมชาติ 58% จึงต้องเพิ่มพลังงานหมุนเวียนอีก 10% และให้มากกว่า

“ที่ผ่านมาเราการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานฟอสซิลเยอะ ทั้งก๊าซธรรมชาติ ระบบท่อ terminal และคลังต่าง ๆ เมื่อเปลี่ยนผ่านโดยไม่คำนึงเงินที่ลงทุนคงเป็นไปไม่ได้จึงต้องพยายามลดเท่าที่ทำได้”

สำหรับแนวทางหลักขับเคลื่อน คือ 1. เทคโนโลยี 2. การบริหารจัดการพลังงาน 3. เร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ดังนั้น ยอมรับว่า แผนพลังงานชาติ อาจจะต้องเลื่อนเวลาประกาศใช้ไปเป็นต้นปี 2568 เนื่องจากนโยบายทรัมป์ และการจะเข้ามาของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา (OCA)

กลุ่มปตท.มองอินเดียตลาดใหญ่น้ำมัน

ภายในงานยังมีการวิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้มพลังงานในอนาคต (Market Outlook Session) โดย PRISM Experts ของกลุ่มปตท. มองว่าอนาคตอันใกล้นี้ อินเดียจะกลายเป็นประเทศที่มีความต้องการใช้น้ำมันเยอะสุด แซงสหรัฐ จีน และ EU ตามลำดับ จากปัจจุบันมีการบริโภคอันดับที่ 4 โดยการใช้งานน้ำมันมีการใช้งานภาคขนส่งมากที่สุดถึง 58% รองลงมาคือภาคอุตสาหกรรม 28% ทำให้ในปีนี้การเติบโตทั่วโลกที่ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ทั้งนี้ IMF คาดการว่าการเติบโตเศรษฐกิจโลกจะอยู่ที่ 3.2% ถือว่าคงที่เมื่อเทียบกับปีนี้ทั้ง ๆ ที่เห็นปัจจัยที่การสนับสนุนเศรษฐกิจโตแต่อัตราการเติบโตยังคงที่เนื่องจากยังมีปัจจัยหลายปัจจัยที่เป็นแรงกดดันเศรษฐกิจ คือ ปัญหาหนี้สาธารณะตั้งแต่โควิดเป็นต้นมา เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ดังนั้น การจะเศรษฐกิจโลกเติบโต คือ นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของสหรัฐในรอบ 4 ปี

นโยบายทรัมป์ซ้ำเติมเศรษฐกิจจีน

ดังนั้น นโยบายทรัมป์จะแก้ไขการขาดทุนการค้าโดยเพิ่มกำแพงภาษีสินค้านำเข้า ประเทศที่ได้รับผลกระทบมากสุด คือจีน และทำให้สินค้าอื่นๆ ได้รับผลกระทบอีก ซ้ำเติมประเทศจีนจะเห็นความอ่อนแอจากเศรษฐกิจจีน อีกทั้งยังเผชิญกับปัญหารุมเร้าภายในอาทิ วิกฤติอสังหาฯ และหนี้ครัวเรือน หากจีนแก้ปัญหาได้เป็นรูปธรรมการใช้น้ำมันของคนจีนก็จะเพิ่มขึ้นในปีหน้าเช่นกัน ส่วนราคาน้ำมันตลาดโลกยังคงมีความผันผวนโดยเฉพาะสงครามรัสเซีย-ยูเครน

“อนาคตการใช้น้ำมันของคนจีนอาจไม่รุ่งเรืองเหมือนที่ผ่านมา แต่จะเป็นประเทศอินเดียขึ้นมาแทนตั้งแต่ปี 2325 น่าจะถึง 75% ของการใช้ทั้งโลกในปี 2025-2030 มาจากจำนวนประชากรที่สูง และมีประชากรวัยทำงานเยอะกว่าประเทศอื่นที่เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย อีกทั้งอินเดียยังเป็นจุดเชื่อมระหว่างเซาท์อีสเอเชียและภูมิภาคตะวันออกกลาง มีระบบไฟเบอร์ออปติกที่พัฒนาและรัฐบาลสนับสนุนให้มีการลงทุนจากต่างประเทศ 100%”

ยัน “เทค-AI” ตัวแปรช่วยลดโลกร้อน

นอกจากนี้ หัวใจหลักที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ โลกปัจจุบันเปลี่ยนไปพลังงานสะอาด ซึ่งจะสามารถเปลี่ยนเป็น 2 ทาง คือ ใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ และใช้คู่กับพลังงานหมุนเวียนเนื่องจากปัจจุบันมีการใช้ฟอสซิลสูงประมาณ 73% ของพลังงานทั่วโลก ขณะที่พลังงานหมุนเวียนมีแค่ 27% เท่านั้นแต่ในทศวรรษนี้อาจจะเปลี่ยนภาพการใช้พลังงานไปเลยคือพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนกว่า 53% มากกว่าครึ่งของพลังงานทั่วโลกในปี 2040

ทั้งนี้ การปฏิวัติอุตสาหกรรมแต่ละครั้งเปลี่ยนภาพการใช้ชีวิตของมนุษย์ทุกคน และในทศวรรษนี้ทั้งที่ 4 นี้ เป็นเรื่องของ AI และแบตเตอรีจะมาเปลี่ยน ข้อดีคือ ประสิทธิภาพสามารถบริหารต้นทุนได้ง่ายขึ้น สิ่งสำคัญคือนโยบายรัฐบาลที่จะสนับสนุนเอกชนให้เปลี่ยนเทคโนโลยีและผู้บริโภคร่วมกันประหยัดไฟเพื่อให้มีพลังงานสะอาดเพิ่มมากยิ่งขึ้น