“บอร์ดขายตรง”ถกบทเรียน“ดิไอคอน” ปรับกม.-เชื่อมข้อมูล-จัดระบบร้องเรียน
คณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง ถกบทเรียนดิไอคอนชี้ต้องตรวจสอบพฤติกรรมสุ่มเสี่ยง ปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่กำกับดูแลธุรกิจขายตรง สร้างระบบการรับเรื่องร้องเรียน
นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง ครั้งที่ 2/2567 ที่ประชุมได้สรุปผลการดำเนินการของคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบขายตรง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2566 โดยนำข้อเท็จจริงและผลการดำเนินการกรณี บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด ที่มีการนำเสนอข่าวผ่านสื่อต่าง ๆ ในช่วงวันที่ 9 ต.ค. 2567 เป็นต้นมา
รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้เข้าตรวจสอบสถานที่ทำการของ บริษัท ดิไอคอน เพื่อสอบถามข้อเท็จจริง ตรวจดูเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ประกอบการพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้ร่วมกันเสนอแนวทางในการกำกับดูแลกิจการต่าง ๆ สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเมื่อเกิดการร้องเรียนจากประชาชน หากมีเพียงการเจรจา ไกล่เกลี่ย ในอนาคตอาจเกิดปัญหาอย่างเช่นกรณี บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ปฯ จึงต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียดว่ามีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายหรือไม่ ต้องมีการปรับปรุงกฎหมายให้มีความทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์สังคมยุคปัจจุบัน
พร้อมลงพื้นที่ตรวจสอบสถานประกอบการให้มากขึ้น เพื่อป้องกันการกระทำความผิด นอกจากนี้ ควรมีการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่กำกับดูแลธุรกิจขายตรงกับหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภค สร้างระบบการรับเรื่องร้องเรียนให้มีมาตรฐานเพื่อให้เห็นพฤติการณ์ที่ไม่ชอบมาพากลของบริษัทต่าง ๆ พร้อมตรวจสอบ กำกับได้ทันท่วงที ก่อนจะเกิดความเสียหายในวงกว้าง
สำหรับคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง เกิดขึ้นจากพระราชบัญญัติ ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ตามมาตรา 13 คณะกรรมการมีอํานาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1.พิจารณาเรื่องร้องทุกข็จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจาก
การกระทําของผู้จําหน่ายอิสระ ตัวแทนขายตรง ผู้ประกอบธุรกิจขายตรง หรือผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง
2.แจ้งหรือโฆษณาข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่อาจก่อใหเกิดความเสียหายหรือ เสื่อมเสียแก่สทธิของผู้บริโภค ในการนี้จะระบุชื่อสินค้าหรือบริการ หรือชื่อของผู้จําหน่ายอิสระ ตัวแทนขายตรงผู้ประกอบธุรกิจขายตรง หรือผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงด้วยก็ได้ 3. กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจขายตรงและผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงรวมทั้งติดตาม สอดส่องพฤติการณ์ในการประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง
4. วางระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ 5. พิจารณาวินิจฉัยการอุทธรณ์คําสั่งของนายทะเบียน 6.เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)เกี่ยวกับนโยบายและมาตรการในการกํากับดูแลรวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง และพิจารณาให้ความเห็น ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกบการประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรงตามที่ครม.หรือรัฐมนตรีมอบหมาย
7.สอดส่องเร่งรัดพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนราชการ หรือหน่วยงานอนของรัฐใหปฏิบัติการ
ตามอํานาจและหน้าที่ทกฎหมายกำหนด
ตลอดจนเร่งรัดพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินคดีในความผิด ตามพระราชบัญญัตินี้ 8.เสนอแนะในการออกกฎกระทรวง ตามพระราชบัญญัตินี้ 9. เรื่องอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมอบหมาย
โดยฐานความผิดหนึ่งที่กำหนดในกฎหมายฉบับนี้คือ หมวด 2การประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง มาตรา19 ห้ามมิให้
ผู้ประกอบธุรกจขายตรงและผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงดําเนินกิจการในลักษณะที่เป็นการชักชวนให้บุคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการประกอบธุรกิจขายตรงหรือในการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงโดยตกลงว่าจะใหผลประโยชน์ตอบแทนจากการหาผู้เข้าร่วม เครือข่ายดังกล่าวซึ่งคํานวณจากจํานวนผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น