ไขรหัสพลังเน็ตเวิร์ก AIS 5G ตัวจริงภาคเหนือ ฟื้นเศรษฐกิจ-บูมท่องเที่ยว

ไขรหัสพลังเน็ตเวิร์ก AIS 5G ตัวจริงภาคเหนือ ฟื้นเศรษฐกิจ-บูมท่องเที่ยว

ไขรหัสพลังเน็ตเวิร์ก AIS 5G กับ 4 กลยุทธ์ผู้นำนวัตกรรมและโซลูชัน ตัวจริงภาคเหนือ ฟื้นเศรษฐกิจ-บูมท่องเที่ยว ที่จะมาช่วยส่งมอบประสบการณ์การดิจิทัลที่ตอบโจทย์ทั้ง ลึก สูง กว้าง ไกล ที่สุดในพื้นที่ภาคเหนือทั้ง 18 จังหวัด

กิตติ งามเจตนรมย์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ AIS กล่าวว่า เราเผชิญกับความท้าทายทั้งควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ เวลาเกิดวิกฤติกับเน็ตเวิร์กในภาคเหนือ ความคาดหวังของลูกค้าเป็นโจทย์สำคัญ ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ ภัยธรรมชาติ และข้อจำกัดทางพลังงานคือโจทย์ที่ เอไอเอส ต้องเผชิญและแก้ไขอยู่ตลอดเวลา ในการวางแผนการสร้างโครงข่ายและขยายเครือข่าย เพื่อทำให้สถานีฐานที่มีกว่า 8,000 แห่ง ในพื้นที่ 18 จังหวัดยังครองบัลลังก์ ที่ 1 ตัวจริงภาคเหนือ ทั้งลึก สูง กว้าง ไกล ทลายทุกข้อจำกัด และยังช่วยเดินหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจ หนุนเศรษฐกิจ รับเทศกาลท่องเที่ยวหน้าหนาว

ชู 4 กลยุทธ์ยกระดับเน็ตเวิร์ก

กิตติ กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าในวันนี้ AIS จะมีโครงข่ายสัญญาณทั้ง 5G และ 4G ครอบคลุมแล้วกว่า 95% ของพื้นที่ประชากร แต่เอไอเอสก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะเดินหน้ายกระดับความแข็งแกร่งของโครงข่ายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดเอไอเอสมีสถานีฐานแล้ว 40,000 แห่ง และในเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือมีสถานีฐานมากกว่า 7,500 แห่ง

ไขรหัสพลังเน็ตเวิร์ก AIS 5G ตัวจริงภาคเหนือ ฟื้นเศรษฐกิจ-บูมท่องเที่ยว

ทั้งนี้ เอไอเอส ได้วางกลยุทธ์การขับเคลื่อนองค์กรด้วยวิสัยทัศน์ 4 ด้าน ที่เป็นตัวนำนวัตกรรมและโซลูชันด้านโครงข่าย ประกอบด้วย

  1. สร้าง Innovis Network เพื่อมาพัฒนาคุณภาพการให้บริการและขยายเน็ตเวิร์กอยู่ตลอดเวลา
  2. การนำ AI และ Autonomous Network เข้าเสริมศักยภาพของโครงข่ายสื่อสารเพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรโทรคมนาคมเทคโนโลยีอัจฉริยะหรือ Cognitive Tech-Co
  3. Sustainable Network เพื่อให้โครงข่ายเอไอเอสมีความยั่งยืนผสานไปกับชุมชน มีการเอาพลังงานสีเขียวมาประยุกต์ ซึ่งปัจจุบันเอไอเอสมีสถานีฐานที่ใช้พลังงานทดแทน อาทิ โซลาร์เซลล์แล้ว 13,384 แห่ง
  4. Uncompromised Network Beyond Limit การวางแผนการสร้างโครงข่ายต้องไม่มีข้อจำกัดว่าทำไม่ได้เพื่อทำให้ช่องว่างและอุปสรรคในการติดต่อสื่อสารในแต่ละพื้นที่ลดน้อยลง

กิตติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในพื้นที่ภาคเหนือมีความท้าทายอย่างมาก ทั้งในด้านทางภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่สูง มีทิวเขา เทือกเขา ภูเขา รวมถึงยังมีข้อจำกัดด้านแหล่งพลังงาน และปัญหาภัยทางธรรมชาติ แต่ AIS ก็ยังคงเป็นผู้นำที่สามารถส่งมอบประสบการณ์การดิจิทัลที่ตอบโจทย์ทั้ง ลึก สูง กว้าง ไกล ที่สุดในพื้นที่ภาคเหนือทั้ง 18 จังหวัด

"เราเผชิญกับความท้าทายทั้งควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ เวลาเกิดวิกฤติกับเน็ตเวิร์กในภาคเหนือ ความคาดหวังของลูกค้าเป็นโจทย์สำคัญ" กิตติ กล่าว

ไขรหัสพลังเน็ตเวิร์ก AIS 5G ตัวจริงภาคเหนือ ฟื้นเศรษฐกิจ-บูมท่องเที่ยว

ดีไซน์เน็ตเวิร์กเพื่อลูกค้าทุกคน

หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี AIS เผยว่า เอไอเอส ให้ความสำคัญในการออกแบบนวัตกรรมโครงข่ายและความชำนาญด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมโครงข่ายมาตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภคในพื้นที่ภาคเหนือทุกกลุ่ม ทั้งผู้บริโภคทั่วไป คนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบการเดินทางพร้อมทำงานได้ทุกที่ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม หรือ Digital Nomad ซึ่งตามข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า นอกจากกรุงเทพฯ แล้ว เชียงใหม่ถือเป็นจุดหมายที่ได้รับความสนใจติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก จากการจัดอันดับของหลายสำนัก ซึ่งเชียงใหม่ติดอันดับ 3 ของโลก เมืองที่เหมาะกับทำงานแบบไร้ออฟฟิศ และอันดับที่ 16 ของโลก เมืองที่ Digital nomad ให้ความสนใจด้วย

ไขรหัสพลังเน็ตเวิร์ก AIS 5G ตัวจริงภาคเหนือ ฟื้นเศรษฐกิจ-บูมท่องเที่ยว

กิตติ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจาก กทม. การใช้งานดาต้าของลูกค้าที่มากยังอยู่ที่ภาคอีสานด้วยพื้นที่และจำนวนอัตราการใช้งานต่อจำนวนประชากรที่หนาแน่นกว่าภาคอื่น แต่หากมองที่ภาคเหนือ ต้องยอมรับว่าด้วยลักษณะทางภูมิประเทศคือโจทย์ที่ต้องตีให้แตก และเอไอเอสก็ทำได้ซึ่งทำให้ยังคงเป็นผู้นำตลาดในพื้นที่ภาคเหนือ

"ในพื้นที่ภาคเหนือยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ ชนเผ่าพื้นเมือง แรงงานต่างชาติ และภาคธุรกิจบริการ ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหารในพื้นที่สูงหรือพื้นที่ห่างไกล ซึ่งหากเรามีโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแรง โดยเฉพาะด้านดิจิทัล ยิ่งจะทำให้การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤติอุทกภัยครั้งใหญ่ที่ผ่านมา สามารถเดินหน้าฝ่าฟันไปได้ ด้วยการผสานพลังร่วมกับทุกภาคส่วนนำศักยภาพด้านโครงข่ายอัจฉริยะปูพรมทุกพื้นที่ยืนยันความพร้อมต้อนรับช่วงพีคการท่องเที่ยวของภาคเหนือในช่วงฤดูหนาว" กิตติ กล่าว

ไขรหัสพลังเน็ตเวิร์ก AIS 5G ตัวจริงภาคเหนือ ฟื้นเศรษฐกิจ-บูมท่องเที่ยว

บริหารโครงข่ายคือกุญแจสำคัญ

วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ AIS กล่าวว่า จากข้อจำกัดในพื้นที่ภาคเหนือค่อนข้างมีความท้าทายอย่างมากในการวางแผนและออกแบบโครงข่ายให้ตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้า ด้วยพื้นที่สูง ทิวเขา หรือดอยต่างๆ ที่มีความสลับซับซ้อน ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ และแหล่งพลังงาน 

วสิษฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทำให้ทีมวิศวกรต้องใช้ความมุ่งมั่นอย่างมากในการทำงาน ประกอบการใช้พลังงานธรรมชาติอย่างโซลาร์เซลล์ กังหันลม และไฮโดรเจน และผสมผสานระบบการกระจายสัญญาณและไมโครเวฟ ด้วย Super Cell LINK ที่จะเป็นการขยายระยะการส่งสัญญาณเพื่อเชื่อมโยงจากจุดต่อจุดทั้งจากพื้นที่ราบและพื้นที่หลังทิวเขามาสู่พื้นที่ร่องเขาด้านล่าง เพื่อยกระดับ Digital Inclusion ในพื้นที่ห่างไกลหรือในมุมอับสัญญาณที่อาจจะถูกบดบังจากภูเขาและพื้นที่สูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น การบริหารจัดการคุณภาพโครงข่ายสัญญาณของภาคเหนือจึงเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญของ AIS ที่พวกเราทุ่มเทสรรพกำลัง เพื่อให้คนไทยในพื้นที่ภาคเหนือทุกกลุ่มสามารถใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่มีความแข็งแรง อันจะนำไปสู่การสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคเหนือได้ในทุกมิติ

วสิษฐ์ ยกตัวอย่างว่า นอกจากที่ภาคเหนือแล้ว ที่ผ่านมาการบริหารจัดการคุณภาพเครือข่ายบริเวณชายฝั่งและกลางทะเล หรือ SEA COVERAGE เอไอเอสก็ถือเป็นภารกิจหลักที่เราทุ่มเท เพราะว่ามีลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์ตั้งแต่ชายฝั่ง เกาะ ไปจนถึงพื้นที่กลางทะเล รวมไปถึงแหล่งพลังงาน ทำให้ทีมวิศวกรต้องใช้ทักษะและประสบการณ์ในการออกแบบสถาปัตยกรรมโครงข่าย

ทั้งการผสมผสานระบบสื่อสัญญาณ พร้อมเลือกใช้นวัตกรรมโซลูชัน และรูปแบบของพลังงานทดแทนจากธรรมชาติอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับภูมิประเทศและพฤติกรรมของลูกค้าในแต่ละกลุ่ม เพื่อให้โครงข่ายอัจฉริยะ AIS 5G มีความพร้อมมากกว่าระบบสื่อสาร แต่สามารถตอบโจทย์ทุกประสบการณ์ดิจิทัลของลูกค้า

วสิษฐ์ ยังเชื่อว่า โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่งเป็นอีกเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาสังคมไทยในทุกมิติ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าศักยภาพของโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั้งลึกสุด สูงสุด กว้างสุด และไกลที่สุดในไทยและที่ 1 ตัวจริงในภาคเหนือ จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยว นำไปสู่การสร้างรายได้ สร้างเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงเทศกาลท่องเที่ยวหน้าหนาวได้อย่างแน่นอน

"อุ่นใจ" ทั้งคน และช้างด้วยเน็ตเวิร์ก

อาทยา หยู่เย็น หัวหน้างานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคเหนือ AIS กล่าวต่อไปอีกว่า วันนี้ความพร้อมโครงข่ายสื่อสารของ AIS ภาคเหนือมีความพร้อมมากกว่าการเป็นระบบสื่อสาร ที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าทุกกลุ่ม ซึ่งมีความครอบคลุมแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ อาทิ อุทยานแห่งชาติศรีลานนา, อุทยานแห่งชาติแม่ปิง, ห้วยกุ๊บกั๊บ, ทุ่งเกี๊ยะ, บ้านป่าข้าวหลาม, และดอยม่อนล้าน เพื่อเติมเต็มประสบการณ์การท่องเที่ยวให้มีความสะดวกสบาย พร้อมส่งต่อคอนเทนต์ผ่านโลกออนไลน์ได้แบบไร้ขีดจำกัด

อาทยา กล่าวเพิ่มอีกว่า อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ถือเป็นแหล่งแลนด์มาร์กท่องเที่ยวสำคัญ เพราะมีปางช้างมากที่สุดในประเทศ มีช้างรวมทั้งสิ้น 418 เชือก กระจายไปหลายปาง ผสมผสานการท่องเที่ยวแบบเชิงพาณิชย์และแบบอนุรักษ์ ทั้งนี้ มีข้อมูลว่าที่อำเภอแม่แตงสามารถสร้างรายได้วันละ 1 ล้านบาท พอโควิดไปก็ลดเหลือ 600,000 บาท ส่วนช่วงโลว์ซีซันลดเหลือเพียง 300,000 บาทต่อวันเท่านั้น

การสร้างเน็ตเวิร์กของ เอไอเอส ต้องการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชุน ดูแลชุมชน พอเกิดปางช้างมีนักท่องเที่ยว มีใครเข้ามาท่องเที่ยวก็สามารถปั้นเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างไม่ยาก นอกจากนี้ เอไอเอสยังเป็นส่วนหนึ่งที่ยกระดับเครือข่าย ในช่วงวิกฤติน้ำท่วมที่ผ่านมา เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าเครือข่ายสื่อสารจะสามารถใช้งานได้ และส่งต่อความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที

"เรายังมุ่งสร้างการเข้าถึงดิจิทัลให้คนไทยด้วยการเดินหน้าขยายโครงข่ายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้กับผู้คน และสนับสนุนการทำงานของทุกภาคส่วน อาทิ การขยายเครือข่ายสัญญาณและอินเทอร์เน็ตโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในพื้นที่ห่างไกล, การนำ AI เข้ามาช่วยบริหาร, สนับสนุนโครงข่ายดิจิทัลเพื่อระบบโทรมาตรอัตโนมัติ, การทำงานร่วมกับ GULF และ สวพส. ในโครงการ Green Energy Green Network For Thais พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและโครงข่ายดิจิทัลในพื้นที่ห่างไกล" อาทยา กล่าว

ไขรหัสพลังเน็ตเวิร์ก AIS 5G ตัวจริงภาคเหนือ ฟื้นเศรษฐกิจ-บูมท่องเที่ยว