'แอดวานซ์เทค' แนะรัฐเร่ง 4 นโนบาย ช่วย เทคคอมพานีไทย รับมือนโยบายทรัมป์ 2.0   

'แอดวานซ์เทค' แนะรัฐเร่ง 4  นโนบาย  ช่วย เทคคอมพานีไทย รับมือนโยบายทรัมป์ 2.0   

“แอดวานซ์เทค” แนะรัฐบาลเร่ง 4 นโยบายช่วย “เทคคอมพานี” ไทยรับมือนโนบายกีดกันการค้ายุคทรัมป์ 2.0 เร่งยกระดับผลิตภัณฑ์ ใช้นโยบายภาษี โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และ AI ชูสินค้า-นวัตกรรมคุณภาพยกระดับไทยสู่ Industrial 4.0 ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

ผลการเลือกตั้งของสหรัฐฯที่โดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพลับรีกัน ชนะการเลือกตั้ง และเตรียมจะเข้ามาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯในสมัยที่ 2 ในช่วงกลางเดือน ม.ค.ที่จะถึงนี้ นโยบายของโดนัลด์ทรัมป์ที่มีการเตรียมประกาศเพิ่มกำแพงภาษีและกีดกันทางการค้าส่งผลอย่างมากต่อภาคเอกชน ในหลายธุรกิจและหลายอุตสาหกรรม รวมถึงธุรกิจและอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีที่อาจได้รับผลกระทบ

ซึ่งนอกจากบริษัทเอกชนจะต้องวางแผนตั้งรับกับความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้น ภาครัฐในฐานะผู้กำหนดนโนบายก็ต้องมีการขับเคลื่อนนโยบายที่ช่วยให้ภาคเอกชนสามารถดำเนินธุรกิจ และแข่งขันได้ท่ามกลางความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายนอกที่เพิ่มขึ้น

เมื่อสัปดาห์ก่อนผู้เขียนได้รับเชิญไปร่วมงานของ บริษัท แอดวานซ์เทค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (Advantech Corporation (Thailand) Co., Ltd.) ซึ่งถือเป็นผู้นำด้านโซลูชั่น AI, IoT และคอมพิวเตอร์เฉพาะทางระดับโลก บริษัทเข้ามาทำธุรกิจด้านนี้ในไทยกว่า 20 ปี  และเพิ่งจะจัดงานฉลองครบรอบก่อตั้งบริษัทในประเทศไทยครบ 20 ปี    มีบทบาทนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมและสร้างคุณค่าให้กับสังคมไทย

ภายในงานผู้บริหารของบริษัทได้มีการพูดคุย แลกเปลี่ยนกันเกี่ยวกับกรณีที่โดนัล ทรัมป์ ชนะเลือกตั้งได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯเป็นสมัยที่ 2 (ทรัมป์ 2.0)

แนะ 4 ข้อเร่งนโยบายช่วยผู้ประกอบการไทย

วุฒิศักดิ์ สุวรรณศรี ผู้เชี่ยวชาญด้าน Smart Manufacturing แอดวานซ์เทค คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่าการกลับมาของทรัมป์ในครั้งนี้ ได้ประกาศยกระดับนโยบาย "MAGA" (Make America Great Again) ผ่านการตั้งกำแพงภาษีที่หนักหน่วง สะท้อนแนวคิดที่มุ่งผลักดันผลประโยชน์ของสหรัฐฯ เป็นศูนย์กลาง ประกาศสงครามการค้าโดยไม่จำกัดแค่สินค้าจีน แต่ยังหมายรวมถึงประเทศอื่นๆ ที่ทำให้สหรัฐฯ เสียดุลการค้าด้วย ปัจจุบันไทยอยู่ในลำดับที่ 9 เราจึงต้องเร่งเตรียมตัวใหพร้อมกับผลกระทบโดยเร่งนโยบาย 4 ข้อคือ

1.การเร่งพัฒนาศักยภาพการผลิต โดยเฉพาะในสินค้าสำเร็จรูป เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า วงจรอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนยานยนต์

2.การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้ากับยุโรป ที่ให้ความสำคัญกับ ESG

3.รัฐต้องลงทุนในโครงสร้างดิจิทัลและพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อรองรับอนาคต

 และ 4.นโยบายจูงใจทางภาษี ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน และระบบที่เอื้อต่อการลงทุน โดยเป็นผลจากปัจจัยสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ และสถานการณ์ความขัดแย้งในโลกยังไม่มีทีท่าสงบ ไทยต้องมองการณ์ไกลและวางระบบที่ยั่งยืนที่สุด สร้างเศรษฐกิจที่ไม่เพียงรอดพ้นแรงกระแทกจากวิกฤต แต่ยังสามารถยกระดับตัวเองสู่สถานะผู้เล่นที่มีอำนาจต่อรองบ้างในเวทีโลกด้วย

\'แอดวานซ์เทค\' แนะรัฐเร่ง 4  นโนบาย  ช่วย เทคคอมพานีไทย รับมือนโยบายทรัมป์ 2.0   

วุฒิศักดิ์ กล่าวต่อว่า เทคโนโลยี AI ในโรงงานอุตสาหกรรมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดได้ดียิ่งขึ้น จากการศึกษาของ PwC คาดว่า AI จะเพิ่ม GDP โลก 15.7 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี ค.ศ.2030 โดย 45% ของการเติบโตมาจากการเพิ่มผลิตภาพแรงงานและการปรับกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น ภาครัฐควรเข้ามาร่วมมีส่วนผลักดันเรื่องของคน และการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ระบบ 5G และระบบการขนส่งต่างๆ ยอมรับว่า อุตสาหกรรมหลักของไทยยังเป็นเรื่องการเกษตร แต่เมื่อมองในมุมการอยู่ให้รอดในสงครามการค้านั้น เราต้องโฟกัสที่การดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งไทยยังมีศักยภาพในการแข่งขัน ยกตัวอย่างเช่น จ.ปราจีนบุรี ยังคงมีนักลงทุนจีน และไต้หวันเข้ามาตั้งโรงงานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และแผงวงจรพิมพ์ (Print Circuit Board : PCB) เราจึงยังมีโอกาสพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้

โรงงานไทยยังไปไม่ถึง  Industrial 4.0

นอกจากนี้ในจากการทำงานใกล้ชิดกับโรงงานอุตสาหกรรมในไทย พบว่าหลายแห่งยังคงอยู่ในระดับ Industrial 2.0 ใช้กระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมที่ขาดการนำเทคโนโลยีใหม่ เช่น AI, IoT และระบบ Automation มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต รวมถึงการขาดทรัพยากรมนุษย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สำหรับแนวทางสนับสนุนเพื่อเข้าสู่ Industrial 4.0 เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยสามารถพัฒนาอย่างยั่งยืนและแข่งขันในระดับโลกได้ ต้องเกิดจากความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน โดยสามารถเริ่มต้นด้วย

 1.การส่งเสริมการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ภาครัฐควรมีมาตรการสนับสนุน เช่น การลดหย่อนภาษีหรือเงินช่วยเหลือสำหรับโรงงานที่ลงทุนใน AI, IoT และ ระบบ Automation

2.พัฒนาทักษะแรงงานให้มีความรู้ด้านดิจิทัล พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

 และ 3.ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เพิ่มการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เช่น 5G สำหรับระบบ IoT และการเชื่อมต่อของเครื่องจักรในโรงงาน

ทั้งนี้แอดวานซ์เทค มีผลิตภัณฑ์ทั้งฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟท์แวร์ (Software) ที่จะช่วยยกระดับให้ประเทศไทยก้าวสู่ Industrial 4.0 ได้ เช่น WISE-PaaS แพลตฟอร์ม IoT ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลที่อยู่ในระบบทั้งหมดได้ เพราะปัจจุบันในหลายโรงงานของไทยมี IoT แต่ไม่สามารถรวมระบบให้ทำงานประสานงานกันได้ นอกจากนี้ จากประสบการณ์ที่เราพบในโรงงานไทยคือ การให้เรานำนวัตกรรมเข้าไปทำระบบ 4.0 แต่พบปัญหาที่พนักงานไม่รู้ว่าจะเริ่มที่จุดไหน แต่ WISE-PaaS สามารถช่วยได้ เพราะเรามีระบบครอบคลุมการทำงานทั้งหมด ทำให้ไม่ต้องเริ่มต้นที่ศูนย์ เราเชื่อว่า ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน อุตสาหกรรมไทยจะสามารถพัฒนาไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนและแข่งขันได้ในเวทีโลก ทั้งยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว”

ชู ECOWatch มอนิเตอร์การใช้พลังงาน

นอกจากนี้ สำหรับโรงงานที่ต้องการทำ ESG ยังมีแพลตฟอร์ม แอพพลิเคชั่นที่ชื่อว่า ECOWatch ที่ช่วยมอนิเตอร์การใช้พลังงานในส่วนต่างๆ ของโรงงาน โดยข้อดีคือ ทำให้ทราบว่าในขั้นตอนใดของการผลิตที่ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงาน ถัดไปคือ CarbonR เป็นแอพพลิเคชั่นที่จะช่วยคำนวณคาร์บอนที่โรงงานใช้ ทำให้ทราบว่าตลอดเวลา 1 เดือนที่ผ่านมาโรงงานปล่อยคาร์บอนไปกี่ตัน เพื่อนำข้อมูลไปบริหารจัดการ และลดหย่อนภาษี

ส่วนจิ๊กซอร์ตัวที่ 3 คือ ECOEnterprise ที่ช่วยในการวางแผนการทำ Carbon Zero ทั้งสามส่วนนี้จะช่วยประกอบการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น