สยามคูโบต้า หนุนใช้เทคโนโลยีนวัตกรรม พลิกโฉมเกษตรกรรมสู่ความยั่งยืน
ภาคการเกษตรไทยมีแนวโน้มขยายตัวอยู่ที่ 0.2%และในปี 2025 จะเพิ่มขึ้นถึง 3% จากการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม บริหารจัดการน้ำ เรียนรู้การวางแผน สะท้อนถึงความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกร ภายใต้ภาวะโลกร้อนและต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น
นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่าภาคการเกษตรยังมีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากประเทศไทยมีพื้นที่เกษตรกรรมกว่า46% ของพื้นที่ทั้งหมด อีกทั้งเป็นแหล่งจ้างงานกว่า 51% ของจำนวนแรงงานทั้งหมดในประเทศ สยามคูโบต้าพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโยบายของประเทศที่กำลังผลักดันให้ภาคการเกษตรไทยเดินหน้าไปสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ (Smart Farming)โดยคำนึงถึงValue Chainหรือห่วงโซ่คุณค่าของผลผลิตทางการเกษตรตลอดทั้งกระบวนการ
ซึ่งเชื่อว่าการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเครื่องจักรการเกษตร ตลอดจนองค์ความรู้และโซลูชันทางด้านการเกษตรอย่างครอบคลุมทุกมิติเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการวางแผนการทำเกษตรที่จะช่วยการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต สร้างความยั่งยืนทางอาชีพของเกษตรกร และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในภาคการเกษตรของไทย โดยฉพาะกลุ่ม Smart Farmerกว่า 1 ล้านคนทั่วประเทศที่จะเข้ามาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาภาคการเกษตร
โดยเฉพาะวันนี้AgtechหรือAgricultureTechnologyกลายเป็นหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงภาคเกษตรกรรมทั่วโลกซึ่งคูโบต้าหนึ่งในแบรนด์ผู้นำด้านเครื่องจักรกลการเกษตรและนวัตกรรมเกษตร มุ่งส่งเสริมศักยภาพของเกษตรกรทั่วโลกให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันเกษตรกรไทยมืออาชีพมีการปรับตัวเอาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น โดยอาจจะเริ่มจากการจดบันทึก การใช้ข้อมูลทาง website, application, และ platform ต่างๆมาช่วยในการตัดสินใจ โดยจากข้อมูลกระทรวงเกษตรฯ มี smart farmer ที่เริ่มนำนวัตกรรมต่างๆมาใช้แล้วประมาณกว่า 1,000,000 คน โดยคนกลุ่มดังกล่าวเป็นคนใฝ่เรียนรู้และได้รับการอบรมจากภาครัฐเพื่อไปเป็นต้นแบบในพื้นที่ แต่เกษตรกรส่วนมากยังเป็นผู้สูงอายุกว่า 70% ทำให้การเรียนรู้เป็นไปได้ช้า
หากมองด้านความพร้อมจึงพบว่ามีคนกลุ่ม smart farmer ที่พร้อมจะเรียนรู้เทคโนโลยีไปปรับใช้ หากเทคโนโลยี AI นั้นเหมาะสมและแก้ปัญหาพัฒนาการผลิตของเขาได้ แต่ยังมีเป็นปริมาณน้อยต้องส่งเสริมให้มากขึ้น เช่นการส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ ที่มีความรู้เข้ามาสู่ภาคเกษตรมากขึ้น และคนกลุ่มนี้ควรได้รับการสนับสนุน ด้านการให้ความรู้ เงินทุนเพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีและเป็น role model ในการพัฒนา ขับเคลื่อนภาคเกษตรไทยในอนาคต
ตัวอย่างการนำ AI มาใช้ในภาคเกษตร
การเกษตรแม่นยำ: การใช้ AI ร่วมกับเครื่องจักร ช่วยให้เกษตรกรสามารถทำกิจกรรมการเกษตรได้อย่างแม่นยำ เช่นการวเคราะห์ดินและใช้เครื่องจักรที่มี AI ใส่ปุ๋ยตรงตามความต้องการของพืชแต่ละชนิดในแต่ละพื้นที่ ทำให้ลดการใช้ปัจจัยการผลิต เช่น ยา ปุ๋ย ลง, AI ช่วยให้การใช้เครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเช่นการวาดแปลงและการสร้างรูทการทำงานอัตโนมัติที่ลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการใช้เครื่องจักรลง
ระบบชลประทานอัตโนมัติ: AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและลดการสูญเสีย โดยสามารถลดการใช้น้ำลงได้ ด้วยการประมวลผลปัจจัยภายนอก ควบคู่กับข้อมูลความต้องการน้ำของพืชแต่ละชนิด
การจัดการศัตรูพืช โรคพืช: AI ช่วยให้เกษตรกรสามารถตรวจสอบพืชผลและสุขภาพพืชได้อย่างรวดเร็วตรวจพบปัญหาในระยะเริ่มต้น โดยการถ่ายภาพหรือสีลักษณะของใบที่เปลี่ยนไปสามารถนำมาพยากรณ์โรคพืชและแมลง รวมถึงให้คำแนะนำในการจัดการที่ถูกต้องได้อย่างทันเวลา ลดการสูญเสียของผลผลิต
การตัดสินใจโดยอิงตามข้อมูล: AI ช่วยให้เกษตรกรสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากเพื่อระบุแนวโน้มและตัดสินใจอย่างรอบรู้เกี่ยวกับการปลูก การใส่ปุ๋ย และการควบคุมศัตรูพืช เช่นการใช้ AI ประกอบกับข้อมูลจาก weather station (สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ) สามารถนำมาประมวลผลคาดการณ์อากาศได้อย่างแม่นยำ เช่น วันนี้ฝนตกหรือไม่ ข่วงเวลาใด ทำให้ตัดสินใจทำกิจกรรมต่างได้ถูกต้อง ลดความเสี่ยงต่างๆ
การเพิ่มคุณภาพผลผลิต ด้วย crop calendar ที่แนะนำการปลูกที่ถูกต้องใช้ AI ปรับตารางการทำงานตามความเหมาะสมของแต่ละพืชแต่ละพื้นที่ทำให้ผลผลิตออกมามีคุณภาพดี เช่น อ้อยมีค่าความหวานที่สูง มันสำปะหลังมี % แป้งที่ดี ปาล์มน้ำมันมีปริมาณน้ำมันมาก
นอกจากนี้ยังนำ AI มาช่วยในการตรวจสอบย้อนกลับของอาหาร (traceability) ช่วยให้สามารถติดตามข้อมูลตั้งแต่การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การแปรรูป จนถึงการจัดส่งสินค้า ทำให้สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ได้อย่างละเอียด มีความมั่นใจในความปลอดภัยของสินค้า รับประกันคุณภาพสินค้าอินทรีย์ หรือปลอดสารพิษได้
การพัฒนา AI ของสยามคูโบต้าเพื่อให้สอดรับกับการปรับตัวของภาคเกษตรไทยและภูมิภาค แบ่งเป็น 2 ส่วน ในด้าน hardware(เครื่องจักร) /software (platform, application)
โดยด้าน hardware (เครื่องจักร) ในเครื่องจักรกลการเกษตร มีการใช้ควบคู่กับ digital platform ระบบบริหารจัดการเครื่องจักร(KIS, Ki-Drone) และมีเก็บข้อมูลเครื่องจักรที่ใช้ (sensors, ECU, GPS telematics)เพื่อนำมาคาดการณ์เรื่องการบำรุงรักษาได้อย่างแม่นยำและใช้ข้อมูลมาประมวลผลด้วย AI ในการวางแผนการทำงานเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น เช่น การวางเส้นทางการทำงานของโดรนให้ใช้เวลาน้อยสุดพัฒนาเครื่องจักรในการทำเกษตรแม่นยำ เช่น อุปกรณ์ต่อพ่วงแทรกเตอร์ที่ใส่ปุ๋ยตามค่าดิน Variable rate) , LLL เครื่องปรับหน้าดินอัตโนมัติด้วยระบบเลเซอร์เครื่องจักรที่ทำงานอัตโนมัติ เช่น Agri-Robo ที่มีการนำเทคโนโลยี AI ไปใช้เพื่อให้ทำงานแทนผู้สูงอายุในอนาคตได้
ด้าน software (platform, application) KAS crop calendar ปฏิทินเพาะปลูกที่สามารถช่วยเกษตรกรให้ปลูกพืชได้อย่างถูกต้องเพื่อเพิ่มผลผลิตและเก็บข้อมูลต่างๆไว้ใช้ในการปรัปปรุงการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไปKi-field application เพื่อใช้ในการบริหารจัดการฟาร์ม โดยมีปฏิทินการเพาะปลูกให้เกษตรกรบันทึกข้อมูลที่จำเป็นในการยื่นมาตรฐานเช่น GAP เกษตรอินทรีย์ เก็บข้อมูลค่าใช้จ่าย ติดตาม ประเมินสุขภาพพืช โดยข้อมูล real time จากภาพถ่ายดาวเทียม มีการแจ้งเตือนการทำกิจกรรม อัตโนมัติ และมีการคาดการณ์สภาพอากาศในแต่ละช่วงเพื่อปรับเปลี่ยนกิจกรรมตามความเหมาะสม ทำให้คาดการณ์ผลผลิตได้ดีขึ้น ส่งผลต่อการวางแผนใช้เครื่องจักรที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตามอุปสรรคสำคัญสยามคูโบต้า ในการสนับสนุนการใช้AI ในภาคการเกษตร ยังมีในเรื่องของการลงทุน การพัฒนา AI เป็นการลงทุนที่สูงและต้องใช้เวลาเพื่อให้เกิดความแม่นยำ ภาคเอกชนที่พัฒนาขึ้นมาก็หวังให้เกษตรได้เข้าถึงอย่างแพร่หลาย เพื่อพัฒนาภาคเกษตรอย่างยั่งยืน ส่วนมากจึงเป็นลักษณะการให้ใช้ฟรีหรือเก็บจากองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการช่วยพัฒนาการเพาะปลูก ซึ่งยังไม่สามารถสร้างรายได้ที่เพียงพอกับการพัฒนา AI อย่างยั่งยืนได้ หากเก็บค่าใช้จ่ายกับเกษตรกรทั้งหมดก็อาจจะเป็นจำนวนเงินที่สูง เกษตรกรอาจจะไม่สามารถจ่ายได้ ทำให้เข้าถึงได้แค่เกษตรกรรายใหญ่หรือที่มีรายได้สูง
เรื่องการขยายผลในระดับประเทศ ไปสู่เกษตรกรรายย่อย จำเป็นต้องมีบุคคลากรจำนวนมากซึ่งภาคเอกชนอาจจะมีบุคคลากรไม่เพียงพอ เพราะการทำให้เกิดการใช้จริงอย่างยั่งยืน จะต้องไปให้ความรู้ ช่วยสอน ลองให้เกษตรกรปฏิบัติจริง แก้ปัญหาร่วมกัน จนกว่าจะเข้าใจและใช้งานได้คล่อง
ด้วยแนวคิดดังกล่าว จึงนำมาสู่การสร้าง คูโบต้าฟาร์ม เพื่อเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ด้านนวัตกรรมการเกษตรของประเทศไทย โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน สถาบันการศึกษา เข้ามาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการวิจัยและพัฒนาสำหรับ เกษตรกร หน่วยงานต่างๆ และผู้สนใจในการทำเกษตรทั้งไทยและต่างประเทศเติมเต็มประสบการณ์ใหม่ๆ ได้สัมผัสพร้อมเปิดมุมมองใหม่ๆ ซึ่งนับตั้งแต่ก่อตั้งในปี2562เป็นต้นมา มีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมแล้วกว่า70,000คน