‘สศค.’ หั่น GDP ปี 67 เหลือ 2.5% หลังภาคผลิตอุตสาหกรรมไตรมาส 4 ชะลอตัว

สศค.แถลงคาดการณ์ GDP ปี 67 หั่นตัวเลขจาก 2.7% เป็น 2.5% หลังตัวเลขภาคอุตสาหกรรมชะลอตัว โดยเฉพาะภาคการผลิตรถยนต์ ชี้เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวต่อเนื่องจากปี 66 ที่ขยายตัวได้ 1.9%
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงข่าวการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะขยายตัวได้ 2.5% (ค่ากลาง 2.3-2.8%) ปรับลดลงจากครั้งก่อนที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2567 จะขยายตัวได้ 2.7%
ทั้งนี้ การปรับลดจีดีพี ปี 2567 เป็นผลมา จากข้อมูลการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่สี่ที่มีการผิดไปจากภาพเดิมที่มีการคาดการณ์ไว้ค่อนข้างมากโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสำคัญ จากข้อมูลการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่สี่ที่มีการผิดไปจากภาพเดิมที่มีการคาดการณ์ไว้ค่อนข้างมากโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการชะลอตัวลงอย่ามาดตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศ และต่างประเทศ
ขณะที่ ภาคอุตสาหกรรมมีน้ำหนักต่อการคำนวผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ค่อนข้างมากโดยเป็นสัดส่วนถึง 26% และอุตสาหกรรมยานยนต์มีน้ำหนักในการคำนวณดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมถึง 11% และการผลิตยานยนต์ก็มีสัญญาณชะลอตัวมาตลอดโดยเฉพาะในไตรมาสที่ 4 โดยเดือน พ.ย.ตัวเลขลดลงถึง 21% ซึ่งตอนนี้แนวโน้มการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทยต้องปรับแนวโน้มไปในทางเทคโนโลยีรถไฟฟ้าควบคู่กับสันดาป
ผอ.สศค.กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยที่จะขยายตัวได้ 2.5% ในปี 2567 จะขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2566 ที่ขยายตัวที่ 1.9% ต่อปี โดยได้แรงสนับสนุนหลักจาก
1. การฟื้นตัวต่อเมืองของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งจำนวนนักท่องเทียวต่างชาติเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเท่ากับ 35.5 ล้านคน
2.การบริโภคภาคเอกชนที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.7 (ช่วงคาดการณ์ที่ 4.5% - 5%) ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่สูงขึ้น
และ 3.มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐตามเกณฑ์สถิติดุลการชำระเงิน(Balance of Payments: BOP) ที่คาดว่าจะขยายตัว 5.9%(ช่วงคาดการณ์ที่ 5.7% -6.2%)
สำหรับการบริโภคภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวที่ 0.6 % (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.4 %ถึง 0.9%) และการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวที่ 2.1% (ช่วงคาดการณ์ที่ 1.9 %ถึง 2.4%) อย่างไรก็ดี การลงทุนภาคเอกชนจะติดลบ -2.7% (ช่วงคาดการณ์ที่ -3.0% ถึง-2.5%) เนื่องจากการหดตัวของการลงทุนด้านเครื่องจักร และยอดขายรถยนต์สันดาปที่ลดลง ประกอบกับการเข้าถึงสินเชื่อที่ยากทำให้ผู้ประกอบการ อสังหาชะลอการลงทุน
ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.4% (ช่วงคาดการณ์ที่ 0.2% - 0.7%) เนื่องจากราคาพลังงานในตลาดโลกปรับตัวลดลง สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2567 มีแนวโน้มที่จะเกินดุล 10.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 2.0% ของ GDP