กรมปศุสัตว์ เล็งร่วมเกษตรกรทบทวนกฎASF เลี้ยงหมู รอบใหม่

กรมปศุสัตว์ เล็งร่วมเกษตรกรทบทวนกฎASF เลี้ยงหมู รอบใหม่

กรมปศ​ุสัตว์​ พร้อมทบทวน ​ประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การนำสุกร หรือหมูป่า เข้ามาเลี้ยงใหม่ พ.ศ. 2567 หลังหลายฝ่ายกังวลอาจผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย

นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ตามประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การนำสุกร หรือหมูป่า เข้ามาเลี้ยงใหม่ พ.ศ. 2567 ที่ประกาศ​ในราชกิจจานุเบกษา​แล้ว​ และจะมีผลบังคับใช้​ในวันที่​ 2 เมษายน​ 2568​ มีหลายฝ่ายกังวลว่าอาจมีผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย โดยเฉพาะผู้เลี้ยงสุกร​หลังบ้านของชนเผ่าในพื้นที่สูง

กรมปศุสัตว์ เล็งร่วมเกษตรกรทบทวนกฎASF เลี้ยงหมู รอบใหม่ กรมปศุสัตว์ เล็งร่วมเกษตรกรทบทวนกฎASF เลี้ยงหมู รอบใหม่

 กรมปศุสัตว์พิจารณาแล้วเนื่องจากสาระสำคัญในบางประเด็นของประกาศดังกล่าว อาจจะมีความไม่ชัดเจน กรมปศุสัตว์จึงพร้อมนำมาพิจารณาทบทวนร่วมกับผู้แทนเกษตรกรรายย่อย รวมถึงคณะทำงานด้านวิชาการในการป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร(ASF)แห่งชาติ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนภาคเกษตรกร ภาคเอกชน และภาคการศึกษาเพื่อกำหนดมาตรการในการเลี้ยงสุกรให้มีประสิทธิภาพและสามารถป้องกันโรคได้ ตลอดจนสอดคล้องกับการประกอบอาชีพของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทุกระดับต่อไป

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน “กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานสินค้าการเกษตรสำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. 2566” ได้ถูกประกาศและนำมาบังคับใช้แล้วในฟาร์มสุกรเชิงพาณิชย์ที่เลี้ยงสุกรขุน ตั้งแต่ 500 ตัวขึ้นไป หรือเลี้ยงสุกรแม่พันธุ์ ตั้งแต่ 95 ตัวขึ้นไป ซึ่งมีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) ในการเลี้ยงและการจัดการฟาร์มเพื่อให้เนื้อสุกรมีมาตรฐาน ปลอดโรคและปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยผู้ประกอบการต้องได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านปศุสัตว์ (Good Agricultural Practice: GAP) ด้วย

กรมปศุสัตว์ เล็งร่วมเกษตรกรทบทวนกฎASF เลี้ยงหมู รอบใหม่ กรมปศุสัตว์ เล็งร่วมเกษตรกรทบทวนกฎASF เลี้ยงหมู รอบใหม่

 

สำหรับเกษตรกรรายย่อยและผู้เลี้ยงสุกรหลังบ้านนั้น ในช่วงที่ผ่านมาได้รับความเสียหายจากการเกิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร และโรคระบาดอื่นๆในสุกร เป็นเหตุให้เกษตรกรรายย่อยเลิกเลี้ยงจำนวนมาก กรมปศุสัตว์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องยกระดับการป้องกันควบคุมโรค เนื่องจากโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเป็นโรคติดต่อ​ในสุกรที่มีความรุนแรง​ มีอัตราการป่วยและตายสูง ไม่มีทางรักษาและยัง​ไม่มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการป้องกันโรค ซึ่งการยกระดับการป้องกันควบคุมโรคในการเลี้ยงของเกษตรกรรายย่อยจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคระบาด สามารถเพิ่มผลผลิต สร้างรายได้ และมีอาชีพที่มั่นคงต่อไป

กรมปศุสัตว์ เล็งร่วมเกษตรกรทบทวนกฎASF เลี้ยงหมู รอบใหม่ กรมปศุสัตว์ เล็งร่วมเกษตรกรทบทวนกฎASF เลี้ยงหมู รอบใหม่

ทั้งนี้หาก เกษตรกร หรือประชาชนทั่วไปต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือมีข้อเสนอแนะสามารถแจ้งได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านทางแอพพลิเคชั่น DLD 4.0 ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จาก app store และ google play store ทั้งในระบบ iOS และ android