ศูนย์ AFC โชว์ความสำเร็จ 6 เดือน แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ

ศูนย์ AFC โชว์ความสำเร็จ 6 เดือน แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ

“ประธานศูนย? AFC ” เผย ผลงาน 6 เดือน จับมือภาครัฐ -เอกชน แก้ปัญหาสินค้าเกษตรตกต่ำ ทั้งรับซื้อ เปิดพื้นที่สินค้าเกษตรขายในโมเดิร์นเทรด ย้ำเดินหน้าภารกิจต่อเนื่องมุ่งเน้นขยายศูนย์ AFC ให้กับหอการค้าจังหวัดทั้ง 5 ภูมิภาค เพื่อเป็น Center แก้ไขปัญหาในระดับท้องถิ่น

KEY

POINTS

นายพจน์ กล่าวว่า หอการค้าไทย ยังมีแผนในการขับเคลื่อนศูนย์ AFC ในปี 2568 โดยจะมุ่งเน้นขยายกลไกศูนย์ AFC ให้กับคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดทั้ง 5 ภูมิภาค เพื่อเป็น Center ร่วมแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรในระดับท้องถิ่นร่วมกับเกษตรจังหวัด พาณิชย์จังหวั

นายพจน์  อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานสภาหอการค้าไทย ในฐานะ ประธานคณะทำงานบริหารศูนย์ประสานงานและประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรและอาหาร( ศูนย์ AFC ) เปิดเผยว่า กล่าวว่า ตั้งแต่จัดตั้งศูนย์ AFC (วันที่ 1 ส.ค. 2567) จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา 6 เดือน โดยที่ผ่านมาศูนย์ AFC ได้ดำเนินการเดินหน้าแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรราคาตกต่ำที่สำคัญ เช่น ศูนย์ AFC ได้ร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย ดำเนินการช่วยรับซื้อสัตว์น้ำกลุ่มปลาโอ ในช่วงครึ่งปีหลัง 2567 ปริมาณ 20 ล้านกิโลกรัม มูลค่าประมาณ 800 ล้านบาท และในปี 2568  มีแผนรับซื้อปลาโอจากเรือไทย ปริมาณ 50,000 ตัน มูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาราคาสินค้าสัตว์น้ำตกต่ำ- ล้นตลาด

อีกทั้ง ยังจับมือกับ สมาคมภัตตาคารไทย จัดงาน Thailand Food Travel Mart 2024  กับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อช่วยส่งเสริมสินค้าของเกษตรกร เช่น ปลากะพงขาวและโคเนื้อ ถือเป็นการยกระดับอาหารไทยสู่เวทีโลก และยังช่วยกระตุ้นรายได้มากกว่า 7 แสนล้านบาท

นอกจากนี้ยังร่วมมือกับ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ในการจัดช่องทางระบายสินค้า “มันเส้น” ที่มีคุณภาพ สะอาด และได้มาตรฐาน  ไปยังกลุ่มโรงงานหรืออุตสาหกรรมแปรรูปโดยเฉพาะอาหารสัตว์ โดยช่วยประสานงานระบายมันเส้นในการผลิตอาหารสัตว์ กว่า 2.5 ล้านตันหัวมันสด หรือคิดเป็น มันเส้นประมาณ 1 ล้านตันมันเส้น และร่วมแก้ไขปัญหาหอมแดง  อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเชื่อมโยงและเปิดตลาดรับซื้อหอมแดงให้กับเกษตรกรและผู้ค้าปลีกโดยตรง

นายพจน์ กล่าวว่า ในส่วนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมค้าปลีก-ค้าส่ง ได้ประสานงาน บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) เพื่อสนับสนุนและพัฒนาเกษตรกรในท้องถิ่นให้สามารถจำหน่ายสินค้า และยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร รวมทั้งรับซื้อสินค้าเกษตรตรงจากเกษตรกรท้องถิ่นตลอดทั้งปี 2567 ปริมาณ 218,356 ตัน มูลค่า 14,172 ล้านบาท และ ท็อปส์ ธุรกิจกลุ่มฟู้ด ในเครือเซ็นทรัล รีเทล ได้ให้การสนับสนุนเกษตรกรท้องถิ่นทั้งการรับซื้อสินค้า จัดพื้นที่จัดจำหน่าย ตลอดจนให้ความรู้แก่เกษตรกร เพื่อนำสินค้าเข้ามาจัดจำหน่ายในท็อปส์ ภายใต้ จริงใจ ฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต โดยสามารถช่วยเหลือเกษตรกรไปมากกว่า 11,000 ครัวเรือน

รวมถึง โก โฮลเซลล์ (GO WHOLESALE) ศูนย์ค้าส่งวัตถุดิบอาหาร เพื่อผู้ประกอบการในเครือเซ็นทรัลรีเทลที่มีนโยบายสนับสนุนสินค้าเกษตรจากเกษตรกรรายย่อยและรับซื้อผลผลิตโดยตรง โดยการเพิ่มช่องทางจัดจำหน่ายให้เกษตรกรเข้าถึงกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร โฮเรก้า ผ่านสาขาของ โก โฮลเซลล์ 13 แห่งทั่วประเทศ อาทิ ผักออร์แกนิก จังหวัดสงขลา ปลานิล-ปลาทับทิม จังหวัดขอนแก่น กบอุดรสร้างโลก จังหวัดอุดรธานี ส้มสายน้ำผึ้ง อ.ฝาง จังหวัดเชียงใหม่  รวมถึงช่วยระบายสินค้าในช่วงประสบปัญหาภัยพิบัติ หรือล้นตลาดอย่างต่อเนื่อง