ส.อ.ท. จี้หาสาเหตุตึก สตง.ถล่ม ตั้งข้อสังเกตเทคโนโลยีก่อสร้างจีน

ส.อ.ท. จี้หาสาเหตุตึก สตง.ถล่ม ตั้งข้อสังเกตเทคโนโลยีก่อสร้างจีน

ส.อ.ท. ห่วงแผ่นดินไหวกระทบความเชื่อมั่นท่องเที่ยว อสังหาฯ แนะรัฐเร่งหาสาเหตุ ตึก สตง.ถล่ม หลายตึกกำลังก่อสร้างแต่ไม่ถล่ม ตั้งข้อสังเกตเทคโนโลยีก่อนสร้างใหม่ของจีน

KEY

POINTS

  • ตอนนี้สิ่งที่ต้องทำคือเร

ภายหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในช่วงบ่ายวันที่ 28 มี.ค.2568 ซึ่งสร้างความรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งทำให้เกิดความกังวลต่อผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ 

ภัยพิบัติแผ่นดินไหว ที่มีศูนย์กลางบริเวณเมืองมัณฑะเลย์ในประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2568 ส่งผลให้ประเทศไทยได้รับแรงสั่นสะเทือนใน 57 จังหวัดทั่วประเทศ

กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้รับผลกระทบหนักเมื่ออาคารก่อสร้างสูง 30 ชั้น ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม โดยข้อมูลวันที่ 30 มี.ค.2568 มีผู้เสียชีวิต 18 ราย บาดเจ็บ 33 ราย สูญหาย 78 ราย ซึ่งยังประกาศเขตพื้นที่ประสบภัยพิบัติใน กทม.และจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ

ขณะที่สถานการณ์ล่าสุดในพื้นที่ตึกถล่มยังคงเร่งค้นหาผูู้ติดในอาคาร ขณะเดียวกันรัฐบาลสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบและยืนยันความปลอดภัยของอาคาร

โดยข้อมูลสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กทม.ระบุอาคารใน กทม.ปัจจุบันมี 2.09 ล้านหลัง ในจำนวนนี้เป็นอาคารเดี่ยว 107,100 หลัง หรือ 6.2% , โรงแรม 1,100 หลัง หรือ 0.06% , อาคารสำนักงาน 8,500 หลัง หรือ 0.49%

อาคารที่จดทะเบียน(แฟลต หอพัก อาคารชุด แมนชั่น เกสต์เฮาส์) 13,300 หลัง หรือ 0.77% และอาคารที่ไม่จดทะเบียน 11,300 หลัง หรือ 0.66%

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวกับกรุงเทพธุรกิจว่า ผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น จะเกิดผลกระทบกับหลายอุตสาหกรรม สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่กระทบหลักๆ จากเหตุการณ์ดังกล่าว คือ 

1. ภาคท่องเที่ยว ที่เดิมเป็นจุดแข็งประเทศที่ใครๆ ก็อยากเข้ามาในไทยได้รับผลกระทบ ทางจิตวิทยากระทบแน่นอน ทั้งร้านอาหาร Shopping Center ศูนย์การค้าได้รับผลกระทบหมดที่ชัดเจน จึงต้องรีบวางแผนเรียกความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยวกลับมา เพราะภาพตึกถล่มเป็นไวรัลไปทั่วโลก

2. ภาคอสังหาริมทรัพย์ ต้องยอมรับว่าช่วงนี้เป็นช่วงขาลง เพราะเศรษฐกิจไม่ดี อย่างคอนโดมิเนียมที่เป็นที่นิยมอาจจะทำให้ขายลำบากยิ่งขึ้น หรือทำให้ชะลอการตัดสินใจลงไปอีกหรือกลัว และขายทิ้ง

 3. ภาคก่อสร้าง ที่อาจจะส่งผลให้วัสดุก่อสร้าง เหล็กที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างทั้งหลายชะลอตัวไปด้วย 

นอกจากนี้ ตอนนี้สิ่งที่ต้องทำคือเร่งช่วยเหลือผู้ที่ประสบอุบัติเหตุอยู่ในซากตึกของ สตง.ที่ถล่มอย่างเร็วที่สุด แล้วต้องดูว่าเหตุผลไหนที่ทำให้เกิดตึกถล่มทั้งที่ยังมีตึกอีกมากมายกำลังก่อสร้างก็ไม่ถล่ม ไม่ได้รับผลกระทบเท่าไหร่ 

ขณะนี้นายเอกณัฐ พร้อมพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อยู่ระหว่างตรวจสอบว่าเหล็กและวัสดุว่ามีมาตรฐานหรือไม่ เรื่องนี้ถือเป็นการจะต้องมาวิเคราะห์ ซึ่งเท่าที่เห็นข้อมูลจากสื่ออ้างว่าเป็นเทคโนโลยีการก่อสร้างสมัยใหม่ 

ทั้งนี้ มีการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นเทคนิค ซึ่งไม่รู้ว่ามาเริ่มในประเทศไทยเป็นที่แรกหรือไม่ จึงต้องตรวจสอบว่าเทคนิคต่างๆ นี้ เคยทำในประเทศจีนหรือประเทศอื่นๆ และสำเร็จความประสบและได้มาตรฐานรับรองหรือไม่ หรือมาก่อสร้างที่ประเทศไทยเป็นที่แรก