"พ.ร.บ.โซลาร์เซลล์"เพิ่มความสะดวก“ผลิต-ใช้”พลังงานสะอาด

การผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก ประกอบกับ ก๊าซธรรมชาติที่ได้จากอ่าวไทยซึ่งมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการและมีแนวโน้มลดน้อยลง
จึงต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติที่มีราคาแพงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทำให้ต้นทุน การผลิตไฟฟ้าในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ประชาชนมีภาระค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการ ผลิตไฟฟ้าสามารถใช้เทคโนโลยีแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในที่อยู่อาศัยและสถาน ประกอบการทั่วไป ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าของประชาชนและสถานประกอบการทั่วไปได้ ลดการพึ่งพา การผลิตไฟฟ้าที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติและเป็นการเพิ่มความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ
โดยประชาชน สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองเป็นพลังงานสะอาด แต่ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายในการส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าพลังงาน แสงอาทิตย์ จึงจำเป็นต้องกำหนดหลักเกณฑ์การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นการเฉพาะ รวมทั้งลดขั้นตอนการขออนุญาตต่อหลายหน่วยงานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการติดตั้ง และการใช้งานระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
ข้อความข้างต้น ปรากฎใน ตอนต้นขอ ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ พ.ศ. .... เมื่อเร็วๆนี้ มีประกาศว่า กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) อยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (Public Hearing) เกี่ยวกับ “ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ พ.ศ. ....”ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อ ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ใช้เองได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยโดยลดขั้นตอนการดำเนินงานตามกฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบัน กำหนดเปิดรับความคิดเห็นตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. – 10 เม.ย. 2568 สามารถร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ พพ.
พระราชบัญญัติฉบับนี้มีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ 1. กำหนดบทนิยามให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับ การส่งเสริมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ได้แก่ ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ผู้ใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ระบบพลังงาน แสงอาทิตย์ ขนานไฟฟ้า ซากอุปกรณ์ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงสถานรวบรวบและสถานกำจัดซาก อุปกรณ์ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ราชการส่วนท้องถิ่น เจ้าพนักงานท้องถิ่น และพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามร่างมาตรา 3
2. กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับใช้ ในที่อยู่อาศัย หรือในสถานประกอบการ หรือในพื้นที่ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เพื่อประโยชน์ในการ ลดภาระค่าไฟฟ้าของประชาชนและผู้ประกอบการ และลดขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งให้เป็นไปด้วย 4. กำหนดหลักเกณฑ์การขอติดตั้งอุปกรณ์ระบบพลังงานแสงอาทิตย์
5. กำหนดห้ามมิให้จำหน่าย ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน หรือให้กระแสไฟฟ้าที่ได้จากการ แปลงพลังงานแสงอาทิตย์จากอุปกรณ์ระบบพลังงานแสงอาทิตย์เว้นแต่เป็นการจำหน่ายฯ แก่การไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง หรือบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นใด ในสถานประกอบการของตนเองหรือในพื้นที่ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
6. กำหนดมาตรการควบคุมและการทำลายซากอุปกรณ์ระบบพลังงานแสงอาทิตย์
7. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสถานที่ที่ติดตั้งอุปกรณ์ระบบพลังงาน แสงอาทิตย์ ในกรณีที่ทราบหรือได้รับแจ้งเหตุอันมีมูลน่าเชื่อว่าการติดตั้งอาจไม่ได้มาตรฐานหรือก่อให้เกิด อันตรายต่อสาธารณะหรือสถานที่ใกล้เคียง หรือมีการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติฉบับนี้รวมทั้ง มีอ านาจออกหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยค าหรือให้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ ดังกล่าวหรือให้ส่งวัตถุใดมาเพื่อประกอบการพิจารณาตรวจสอบได้ตามร่างมาตรา 21
8. กำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้หรือไม่ปฏิบัติ ตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยให้ชำระค่าปรับเป็นพินัยรวมทั้งกำหนดโทษ จำคุกและโทษปรับ ตามร่างมาตรา 25 ถึงร่างมาตรา 31