พาณิชย์ ปลดล๊อคปัญหา พร้อมส่งออก “ผลไม้ไทย” สู่ตลาดจีน

พาณิชย์   ปลดล๊อคปัญหา พร้อมส่งออก “ผลไม้ไทย” สู่ตลาดจีน

พาณิชย์ เตรียมพร้อมดันส่งออก”ผลไม้ไทย”  หวังส่งออกผลไม้ได้ตามเป้า ลุย “ตลาดจีน”เร่งแก้ปัญหา เปิดทางสะดวกรับฤดูผลไม้

KEY

POINTS

“สินค้าเกษตร” ถือเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทย โดยในแต่ละปีสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศได้มากกว่าปีละกว่า 1.5 แสนล้านบาท  โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง เป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับที่ 1 ของไทย โดยมูลค่าการส่งออกได้แซงสินค้าข้าว และยางพารา ตั้งแต่ปี 63 และยังคงเป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับที่ 1 จนถึงปัจจุบัน   

โดยในปี 67 ไทยส่งออกผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง มูลค่ารวม 6,510.6 ล้าน คิดเป็นสัดส่วน 22.58% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย ซึ่งปีนี้กระทรวงพาณิชย์ ตั้งเป่าส่งออก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 2 % มูลค่า  3 แสนกว่าล้านบาท และผลไม้สด ตั้งเป้าส่งออก 3 % มูลค่า 1.8 แสนล้านบาท 

ช่วงไตรมาส 2 ถือเป็นไทม์ไลน์สำคัญของการส่งออกผลไม้ไทย เพราะเป็นช่วงฤดูผลไม้ไทย ซึ่งในปี 68 คาดว่า  ผลผลิตผลไม้สำคัญ 9 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน ลำไย มะม่วง สับปะรด มังคุด ส้มเขียวหวาน เงาะ ลองกอง และลิ้นจี่ เพิ่มขึ้นทุกรายการ คาดว่า จะมีประมาณ 6.736 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 15%  โดยผลผลิตผลไม้ทั้งหมด 6.736 ล้านตัน จะส่งออก 74% เป็นการส่งออกแบบสด 62% แปรรูป 38% และบริโภคในประเทศ 26% เป็นการบริโภคแบบสด 73% แปรรูป 27%

เพื่อเป็นการรองรับฤดูผลไม้ที่จะมาถึงกระทรวงพาณิชย์ ได้ร่วมประชุมกับผู้แทนเกษตรกร สมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ ห้างค้าปลีก-ค้าส่ง โลจิสติกส์ และสถาบันการเงิน เพื่อร่วมกันผลักดันมาตรการเชิงรุกก่อนที่ผลผลิตฤดูกาลใหม่จะออกสู่ตลาด โดยมีเป้าหมายช่วยระบายผลผลิตผลไม้ 950,000 แสนตัน ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ วาง  7 มาตรการ 25 แผนงาน

พาณิชย์   ปลดล๊อคปัญหา พร้อมส่งออก “ผลไม้ไทย” สู่ตลาดจีน

ทั้งนี้ “ตลาดจีน”ถือเป็นตลาดผลไม้อันดับ1 ของไทย  โดยเฉพาะ “ทุเรียน-ลำไย-มังคุด-มะพร้าวอ่อน  ” หากมีปัญหา ย่อมส่งผลต่อการส่งออกผลไม้ของไทย  ทำให้กระทรวงพาณิชย์ต้อง “โฟกัส” เป็นพิเศษ โดยได้ดำเนินการแก้ปัญหาที่ติดขัดก่อนที่จะมีการส่งออกผลไปจีน โดยเฉพาะการ “เคลียร์” เส้นทางขนส่งทางบกซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญในการขนส่งผลไม้ของไทย ในเส้นทางรถบรรทุก

โดยปัจจุบันมีเส้นทางการขนส่งระหว่าง 3 ประเทศ (ไทย ลาว จีน) คือ เส้น R3A จากเชียงของ ห้วยทราย ผ่านบ่อเต็น เข้าโม่ฮานของจีน และเส้น R12 ซึ่งเป็นเส้นทางผลไม้หลักจากนครพนมเข้าสู่ลาวที่ด่านท่าแขก ผ่านเวียดนามที่ด่านลางเซิน หูหงิ เข้าจีนที่ด่านโหยวอี้กวน ที่มีการปรับปรุงเส้นทางให้มีความพร้อมมากขึ้น

ล่าสุดเมื่อปลายเดือน มี.ค. “นภินทร ศรีสรรพางค์”รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นำทีมพาณิชย์  เยือนนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ตรวจสอบเส้นทางโลจิสติกส์ ไทย-สปป.ลาว-จีน และหารือหน่วยงานรัฐ ผู้ประกอบธุรกิจโลจิสติกส์รายใหญ่ เปิดทางสะดวกผลไม้ไทย ทั้งผ่านเส้นทางทางบก ทางรถไฟ  

จากนั้นเดินทางต่อไปยังมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อหารือกับผู้บริหารระดับสูงมณฑลยูนนาน ในการขออำนวยความสะดวกสินค้าเกษตรไทย โดยเฉพาะทุเรียนที่กำลังจะเข้าสู่จีนเป็นจำนวนมาก

“นภินทร” กล่าวว่า ได้ขอให้ศุลกากรจีนอำนวยความสะดวกทางการค้าในการขนส่งทุเรียนไทยมายังจีน โดยเสนอให้จีนพิจารณาเกี่ยวกับการตรวจสอบสารตกค้างในผลไม้ที่นำเข้าสู่จีน ไทยได้ยืนยันว่าได้ดำเนินมาตรการเรื่องสินค้าทุเรียนอย่างเคร่งครัด

โดยมีมาตรการ “4ไม่” คือ ไม่ตัดอ่อน ไม่มีศัตรูพืช ไม่สวมสิทธิ์ ไม่มีสารเคมีต้องห้าม และปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบคุณภาพเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตลาดจีน จึงเสนอให้จีนลดมาตรการตรวจสารตกค้างจาก 100% เป็น 30% เพื่อให้การค้าขายดำเนินไปอย่างราบรื่น โดยทางศุลกากรคุนหมิง ระบุว่าจะเสนอเรื่องนี้ต่อรัฐบาลกลางในเร็วนี้

ขณะที่ปัญหา“สารย้อมสี Basic Yellow 2 – BY2” ที่ก่อนหน้านี้ทางศุลกากรจีน ตรวจสอบและสั่งระงับห้ามนำเข้าทุเรียนจากไทย นั้นทางกระทรวงพาณิชย์ได้นำทีมลงพื้นที่ตรวจสอบ “ล้งผลไม้-ผู้ส่งออก” ใน จ.จันทบุรี  พร้อมทั้งเข้มงวดห้ามใช้สารดังกล่าวเด็ดขาด โดยมั่นใจว่า จะมีปัญหาอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ยังขอให้มีการขยายระยะเวลาในการปิดด่านเพิ่มขึ้น ซึ่งทางศุลกากรจีนดังกล่าวยืนยันว่าจะมีการขยายเวลาให้ จากปิด 17.30 น. เป็น 20.30 น.

การเตรียมความพร้อมและวางแผนงานทั้งนี้ก็เพื่อรองรับฤดูการผลไม้ของไทยเพื่อไม่ให้ “การส่งออกผลไม้” ไทยติดขัดส่งออกได้ด้วยความสะดวกรวดเร็วส่งถึง”ตลาดจีน”  ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จะทำให้เป้าหมายการส่งออก “ผลไม้”ไทยได้ตามเป้านำรายได้เข้าสู่ประเทศ และจะดันตัวเลขการส่งออกไทยในไตรมาส 2 เพิ่มขึ้นได้