เทคโนโลยี - นวัตกรรม ทางออกกู้โลกร้อนก่อนเกินแก้

เทคโนโลยี - นวัตกรรม  ทางออกกู้โลกร้อนก่อนเกินแก้

ผลกระทบจากปัญหาโลกร้อนคงไม่ต้องนำมาอ้างอิงถึง เพื่อถามหาความชอบธรรมการเรียกร้องให้ทุกฝ่ายมาร่วมแรงร่วมใจกันแก้ไขปัญหา แต่ตอนนี้มาถึงจุดที่ว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร ในงาน “GC Circular Living Symposium 2022 : Together to Net Zero”

 จัดโดยบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เมื่อเร็วๆ นี้ มีความเห็นที่ชี้เป้าว่าการแก้ปัญหาโลกร้อนทำได้ถ้าจะทำ

มาซามบา ทรอย์ ผู้แทนกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรืออนุสัญญา UNFCCC  กล่าวว่า ภัยธรรมชาติเป็นภัยท้าทายที่มนุษย์เผชิญอยู่ และรุนแรงใหญ่หลวงที่สุด เนื่องจากกระทบต่อการเมือง และสังคม แนวทางการจัดการควรมุ่งไปสู่การจัดการไลฟ์สไตล์ หรือการใช้ชีวิต การใช้สินค้า และบริการต่างๆ การทำงาน หรือแม้แต่ห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มของการขนส่งสินค้า ก็ควรเป็นไปเพื่อไม่เป็นการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเป็นต้นเหตุการเกิดภัยพิบัติต่างๆ       

   "การแก้ไขจะต้องมีการปรับปรุงทางวิศวกรรมใหม่ มีการจัดระเบียบห่วงโซ่มูลค่าใหม่ที่จะมาอยู่ใน Net zero  การคำนึงถึงเป้าหมายเพื่อสิ่งแวดล้อม การทำงานร่วมกันระหว่างรัฐ และเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะแก้ปัญหาโลกร้อนซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งภัยพิบัตินี้ " 

 อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า นวัตกรรมเป็นทางออกที่จะช่วยดูแลสถานการณ์โลกร้อนได้  เช่น การลดการปล่อยคาร์บอนในภาคพลังงาน โดย พลังงานก่อให้เกิดคาร์บอน 37% ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมสร้างคาร์บอน 30% และการขนส่งอีก 5% 

ดังนั้น หัวเว่ย ได้ส่งนวัตกรรมพลังงานสีเขียวทั้ง smart pv ที่สามารถให้บ้านแต่ละหลังสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยตัวเองได้ สามารถคาร์บอนในไทย 6.72 ล้านตัน  หรือแม้แต่ Grid Revolution ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายไฟฟ้าทำงานร่วมกับ 5G ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ Smart ict เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน

 

 

 

เทคโนโลยี - นวัตกรรม  ทางออกกู้โลกร้อนก่อนเกินแก้

อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า นวัตกรรมเป็นทางออกที่จะช่วยดูแลสถานการณ์โลกร้อนได้  เช่น การลดการปล่อยคาร์บอนในภาคพลังงาน โดย พลังงานก่อให้เกิดคาร์บอน 37% ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมสร้างคาร์บอน 30% และการขนส่งอีก 5% 

ดังนั้น หัวเว่ย ได้ส่งนวัตกรรมพลังงานสีเขียวทั้ง smart pv ที่สามารถให้บ้านแต่ละหลังสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยตัวเองได้ สามารถคาร์บอนในไทย 6.72 ล้านตัน  หรือแม้แต่ Grid Revolution ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายไฟฟ้าทำงานร่วมกับ 5G ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ Smart ict เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน

พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นทุกองศา หมายถึงความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งตลาด 3-4 ปี ความเสี่ยงที่ว่านี้ เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ปัจจัยสำคัญมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอน 

“ประเทศไทย ปล่อยก๊าซคาร์บอน 0.8% แต่มีความเสี่ยงภัยพิบัติ ที่อยู่ในอับดับ 1 ใน 10 ของโลก ขณะที่เยอรมนี มีการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงโอกาสทางธุรกิจไปแล้ว 100,000 ล้านบาท ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา เรื่องนี้ปล่อยไว้ไม่ได้แล้วคงไม่ปล่อยเรื่องเหล่านี้เดินหน้าต่อไปได้”

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์