เงินเฟ้อสหรัฐเพิ่มสูงถึง 9.1% จีนจะยังไปต่อได้ไหม?
จีนยังคงใช้ zero-COVID policy อยู่ มีการล็อกดาวน์เมืองซีอานและเมืองอู๋ซีหลังพบการระบาด โดยเมื่อเดือน มิ.ย. จีนได้มีการคลายล็อกดาวน์เมืองเซียงไฮ้และปักกิ่งไป ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง
ตั้งแต่ตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing PMI) เดือน มิ.ย. ขยายตัว 50.2 และดัชนี ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อที่ไม่ใช่ภาคการผลิต (Non-Manufacturing PMI) ขยายตัว 54.7 ดีขึ้นหลังจากดัชนี ทั้งสองอยู่ในโซนหดตัว(ต่ำกว่า 50) เป็นระยะเวลา 3 เดือนติดต่อกัน
ขณะที่เงินเฟ้อสหรัฐ (CPI) ยังเพิ่มขึ้นถึง 9.1% สูงสุดในรอบ 40 ปี แต่เงินเฟ้อในจีนเพิ่มขึ้นเพียง 2.5% ซึ่งยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ทางการจีนยังไม่จำเป็นต้องรีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ก่อนหน้านี้ IMF มีการหั่นเป้าหมาย GDP จีนปีนี้ลงเหลือ 4.4% และ World bank ก็ปรับเป้าหมายลงเป็น 4.3% ล่าสุด GDP ไตรมาส 2 ของจีนเติบโตเพียง 0.4% แต่ก่อนหน้านี้ปธน. สี จิ้นผิง ยังยืนยันเป้าหมาย GDP ของจีนปีนี้จะเติบโตได้ถึง 5.5% นั่นหมายความว่าจีนจะยังต้องมีการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น และยังคงมีการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินต่อไป ช่วงต้น
เดือนที่ผ่านมาจีนมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานราว 75,000 ล้านเหรียญ และอนุญาตให้รัฐบาลท้องถิ่นออกหุ้นกู้พิเศษวงเงิน 220,000 ล้านเหรียญ ในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เรียกได้ว่าอัดการใช้จ่ายภาครัฐ (Government spending) อย่างเต็มที่เพื่อให้ GDP ขยายตัวในช่วงที่เหลือของปีนี้
รวมถึงด้านการท่องเที่ยว จีนได้ลดวันกักตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติลงเหลือ 10 วันจากเดิม 21 วัน แต่ความเสี่ยงก็มีในเรื่องของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา
กองทุนต่างประเทศที่ลงทุนในหุ้นจีนในจีนแผ่นดินใหญ่ หรือที่เรียกว่าหุ้น A-Shares คือหุ้นจีนที่ซื้อขายกันในตลาดเซี่ยงไฮ้และเซินเจิ้น มีดังนี้
Allianz China A-Shares ได้ Morning star 5 ดาว มีนโยบายการลงทุนเพื่อสร้างการเติบโตของเงินลงทุนระยะยาว ในตลาดหุ้นจีน A-shares โดยกองทุนมีการกระจายการลงทุนในหุ้นราว 60 ตัว ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น Financials, IT, Consumer Staples, Industrials, Materials, etc. หุ้น 5 อันดับแรกประกอบด้วย
1. CITIC Securities เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในจีน
2. Shanxi Xinghuacun Fen Wine เป็นบริษัทผลิตสุราชื่อดังของจีน อาทิ Fenjiu
3. Wuliangye Yibin เป็นบริษัทผลิตสุราชื่อดังของจีนอันดับ 2 รองจาก Moutai
4. Longi Green Energy เป็นบริษัทผลิตแผงโซล่าเซลล์
5. Contemporary Amperex เป็นบริษัทผลิตแบตเตอรี่รถไฟฟ้าชั้นนำของจีน
กองทุนเปิดเคแทม ไชน่า เอแชร์ อิควิตี้ ฟันด์ (KT-Ashares-A), กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไชน่า อิควิตี้ (MCHINAGA) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นจีนเอแชร์ แอคทีฟ (SCBASHARES) มีการลงทุนใน Allianz China A-Shares เป็นกองทุนหลัก ส่วนกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน (B-CHINE-EQ) มีการลงทุน 50% ในกองทุนนี้
China A Opportunity ปัจจุบันได้ Morningstar 3 ดาว กองทุนนี้เป็นที่รู้จักของนักลงทุนกองทุนหุ้นจีนเป็นอย่างดี ด้วยการบริหารกองทุนแบบเชิงรุก แบบ High conviction คือลงทุนในหุ้นที่ผู้จัดการกองทุนมีความเชื่อมั่นสูงที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับพอร์ตการลงทุนได้
โดยกองทุนมีการลงทุนในหุ้นราว 30 ตัว หุ้น 10 ตัวแรกที่กองทุนลงทุนมีสัดส่วนสูงถึง 61.59% ของพอร์ต เน้นลงทุนใน 3 กลุ่มหลักคือ Consumer Staples, Healthcare และ Financial Services หุ้น 5 อันดับแรกประกอบด้วย
1. Kweichow Moutai เป็นบริษัทสุราอันดับหนึ่งของจีน
2. China Merchants Bank ธนาคารพาณิชย์ของจีน ให้บริการทั้งลูกค้าบริษัทและรายย่อย
3. Yunnan Baiyao Group บริษัทผลิตยาชั้นนำในจีน โดยเฉพาะยาสมุนไพรจีนในรูปแบบแคปซูลหรือยาผงรับประทานง่าย
4. Ping An Bank เป็นธนาคารเพื่อลูกค้าบริษัทและรายย่อย รวมถึงเป็นบริษัทในเครือ Ping An Insurance
5. Netease เป็นบริษัทผู้ให้บริการด้านไอที อินเตอร์เน็ต และธุรกิจเกมส์ชั้นนำของจีน
กองทุนเปิดกรุงศรีไชน่าเอแชร์อิควิตี้ (KFACHINA-A) และ กองทุนเปิดทีเอ็มบี อีสท์สปริง China A Active (TMB-ES-CHINA-A) มีการลงทุนใน UBS (Lux) Investment SICAV - China A Opportunity เป็นกองทุนหลัก ส่วนกองทุนเปิดพรินซิเพิล ไชน่า อิควิตี้ (PRINCIPAL CHEQ-A) ลงทุน 57% และกองทุนเปิดเค ไชน่า คอนโทรล โวลาติลิตี้ (K-CCTV) ลงทุน 50% ในกองทุนนี้
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลจากหนังสือชี้ชวนก่อนตัดสินใจลงทุนครับ