AI แฮคอารมณ์ผู้บริโภคถูก
ในปัจจุบันเราได้ใช้ ปัญญาประดิษฐ์ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า AI ในการทำงานบางอย่างแทนมนุษย์ไปแล้วโดยเราอาจไม่ทันรู้ตัว
ไม่ว่าจะในส่วนของภาคธุรกิจที่นำ AI เข้ามาช่วยในงานบริการลูกค้า เช่น Chatbot , ระบบการสั่งการด้วยเสียงอย่าง Apple-siri หรือ Google Assistant จึงไม่แปลกที่ในอนาคตเราจะนำ AI มาช่วยในการทำงานในส่วนงานต่าง ๆ เพื่อความรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ ลดเวลาและต้นทุน ในอนาคต AI จะค่อย ๆ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น และต้องยอมรับว่า AI เข้ามามีบทบาทมากมายในธุรกิจ และอุตสาหกรรมต่างๆมากขึ้น ทำให้ทุกวันนี้ความสามารถในการประมวลผลของ AI ได้รับการพัฒนาให้ฉลาดและมีความคิดวิเคราะห์ที่ซับซ้อนมากขึ้น ยิ่งเทคโนโลยี AI ได้รับการพัฒนาให้ฉลาดและมีความคิดวิเคราะห์ที่ซับซ้อนมากขึ้นเท่าไร ธุรกิจต่างๆก็สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อสร้างประโยชน์ให้ธุรกิจได้อย่างสูงสุด
ธุรกิจต่างๆจึงควรเริ่มต้นศึกษาและติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI ว่าในปัจจุบันนี้ได้รับการปรับปรุงและได้นำมาใช้ประโยชน์ในธุรกิจใดบ้าง เพราะในอนาคต AI จะก้าวเข้ามาเป็นตัวช่วยอัจฉริยะในด้านต่าง ๆ ทดแทนการทำงานโดยมนุษย์ และความสามารถของ AI อาจไม่ได้หยุดยั้งเพียงแค่การสั่งงานโดยเสียง หรือ Chatbot เท่านั้น AI จะกลายเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตประจำวันของคนทั่วไป หรือเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในทีมงานผู้บริหารในองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งทุกวันนี้ AI พัฒนาไปไปจนสามารถเก็บข้อมูลผู้บริโภคได้โดยละเอียด และสามารถนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค ทำให้แนะนำสินค้า หรือบริการให้ผู้บริโภคได้อย่างโดนใจ รีเทลและนักการตลาดบางบริษัท พัฒนาไปถึงขั้นการจับอารมณ์ผู้บริโภคได้ เราจึงนำเทคโนโลยี AI ที่ทุกธุรกิจควรรู้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ โดยยกตัวอย่างของธุรกิจที่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ ดังต่อไปนี้
- Walmart เริ่มทดลองเทคโนโลยีการจับ mood หรือ อารมณ์ การช้อป ทำให้รู้ว่า ผู้บริโภค ชอบไม่ชอบอะไร และนำข้อมูลมาพัฒนาเลย์เอาท์ และ สินค้าที่จะขาย
- สถานีรถไฟฟ้าบราซิล สามารถจับใบหน้าจาก biometric technology ทำให้รู้ว่าคนรอรถไฟฟ้าเป็นเพศอะไร วัยอะไร ที่สำคัญ อยู่ในอารมณ์ไหน เพื่อเลือกยิงโฆษณาให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมาก และ เพื่อให้ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากที่สุด แทนที่จะสุ่มยิงโฆษณาไปเรื่อยๆ แบบไม่มีเป้าหมาย
- บริษัทโฆษณาเอง ก็มีการใช้ข้อมูล อารมณ์ ว่าผู้บริโภคเวลาดูโฆษณาแล้วชอบฉากไหน และ ฉากใดที่กระตุ้นความต้องการซื้อได้ เพื่อจะตัดต่อโฆษณาให้ได้ประสิทธิผลมากที่สุด
- crypto mood ใช้ข้อมูลทางอารมณ์ เพื่อวิเคราะห์อารมณ์ของตลาดหุ้น และ ส่งสัญญาณ ป้องกันภาวะความผันผวนของตลาดหุ้น รวมทั้งช่วยตัดสินใจในการเทรดหุ้น
- sentiment analysis หรือ การวิเคราะห์ความรู้สึก ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความรู้สึก ที่แปลงข้อความบน Social Media ผ่านโครงสร้าง Algorithm ได้ Output ออกมาเป็นความรู้สึกดี (Positive) และความรู้สึกไม่ดี (Negative) ซึ่ง Facebook ก็ใช้ข้อมูลทางอารมณ์ของผู้บริโภค เพื่อทำการวิเคราะห์กระแส อารมณ์ของสังคมในประเด็นร้อน ซึ่งแบรนด์สามารถใช้ประโยชน์ได้ง่ายๆ เพราะข้อมูลจะคำนวณให้เลยว่า มีกี่ % ที่ชอบ ที่โกรธ ว้าว หรือ รู้สึกเฉยๆ ต่อโพสต์ เป็นต้น
การที่ AI สามารถจับอารมณ์ผู้บริโภคได้แล้วนำมาวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคได้นั้นข้อมูลทางอารมณ์ต่างๆนี้ไม่ได้จากไหน นอกจากตัวผู้บริโภคเอง ทำให้รีเทลและนักการตลาดจะใช้ข้อมูลของผู้บริโภคเองเป็น influencer มากกว่าจะใช้ ดารา หรือการยัดเยียดสินค้าผ่านโฆษณา หรือ สงครามราคา ใดๆ และนี่คือการสร้าง ‘trust’ และ ‘brand loyalty’ รูปแบบใหม่ โดยที่ผู้บริโภคแทบไม่ต้องเสียเวลาคิดเยอะ เลือกเยอะ โลเล อีกต่อไป
ดังนั้นต่อจากนี้ไป รีเทลและนักตลาดจึงควรเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ในการนำ AI มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในธุรกิจอย่างสูงสุด