ใช้ความรู้สึกของผู้บริโภคในการทำการตลาด

ใช้ความรู้สึกของผู้บริโภคในการทำการตลาด

เป็นที่ยอมรับกันว่า ผู้บริโภคทุกวันนี้ไม่ได้ดำรงชีพเพียงแค่ปัจจัยสี่ อีกต่อไป ไม่เช่นนั้น สินค้ามากมายคงขายกันไม่ได้ เรื่องนี้มีงานวิจัยมารอ

งานวิจัยนี้มีการนำลูกลิงที่กำพร้าแม่มาศึกษาดูว่า ลูกลิงที่ไม่เคยสัมผัสไออุ่นอันแท้จริงของแม่ลิงเลย จะมีปฎิกิริยาอย่างไรกับแม่ลิงปลอม 

โดยนักวิจัยสร้างแม่ลิงปลอมสองแบบคือ แม่ลิงที่ทำจากตุ๊กตาขนนุ่ม และ แม่ลิงที่ทำจากเหล็ก โดยที่แม่ลิงเหล็ก มีนมให้ลูกลิงสามารถดูดได้จริง ในขณะที่แม่ลิงตุ๊กตาขนนุ่มไม่มีอาหารอะไรให้เลย นอกจากความนุ่มอย่างเดียว ปรากฎว่า ลูกลิง เข้ากอดแม่ลิงตุ๊กตาขนนุ่มแทบจะตลอดเวลา ขณะที่จะเข้าไปดูดนมจากแม่ลิงเหล็ก เฉพาะเวลาที่หิวเท่านั้น แต่เวลาอื่นที่ไม่ได้ดูดนม ลูกลิงไม่เข้าหาแม่ลิงเหล็กเลย เมื่อดูดนมเสร็จ ก็กลับไปกอดแม่ลิงตุ๊กตาขนนุ่มเหมือนเดิม ทั้งที่แม่ลิงตุ๊กตาขนนุ่มไม่ได้มีนมให้ดูด 

การวิจัยครั้งนี้สร้างสมมติฐานที่น่าสนใจมากว่า ผลประโยชน์ หรือ function เพียงอย่างเดียวไม่สามารถสร้างความผูกพัน ความภักดีได้ขณะที่การตอบสนองด้านอารมณ์ หรือ feeling ถึงแม้ไม่มีผลประโยชน์ที่จับต้องได้ แต่กลับสร้างความผูกพันได้ยั่งยืนกว่า ดั่งตัวอย่างแม่ลิงเหล็ก ถึงแม้ว่าจะมีผลประโยชน์ (function ) โดยการให้นม คือสามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานด้านปัจจัยสี่ได้ แต่ความเป็นเหล็กแข็งทื่อไม่สามารถตอบสนองด้านอารมณ์ (feeling) อย่างที่แม่ตุ๊กตาขนนุ่มให้ได้ 

ในทางการตลาด ถ้าแบรนด์ ต้องการขายสินค้าโดยนำเสนอด้วยผลประโยชน์ต่างๆ เช่นโปรโมชั่น ของแถม ก็สามารถดึงดูดลูกค้าได้เพียงระยะสั้นๆ และ ต้องคอยหา ลูกค้าใหม่ๆ มาเติมเต็มเสมอ ต่างจากแบรนด์ที่สามารถสร้างความผูกพันกับลูกค้า นอกจากที่ไม่ต้องหาลูกค้าใหม่ บางทีลูกค้ากลับเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ คอยแนะนำแบรนด์ให้ด้วยซ้ำ คงจะชัดเจนแล้วนะคะว่าผลประโยชน์อย่างเดียวไม่เวิร์ค แต่การตอบสนองทางด้านอารมณ์ จะสามารถสร้างความผูกพันได้ การสร้างความผูกพัน มันคือการขาย feeling แล้วการขาย feeling คืออะไร? คุณชอบเที่ยวมั้ยคะ? คงไม่มีใครไม่ชอบเที่ยว ทั้งที่การเที่ยวแสนจะเหนื่อย แถมเสียเงินอีกต่างหาก แต่ทำไมเรายังชอบเที่ยว? การเที่ยวไม่ได้ตอบสนอง function อะไรในชีวิตมากเท่าไรเลย การเที่ยวเรียกได้ว่าตอบสนอง feeling ล้วนๆ ไม่ว่าจะความรู้สึกผ่อนคลาย สนุก มีความสุข หรือ ปลดปล่อย

เพราะฉะนั้นการขายของให้ผู้บริโภคยุคนี้ อย่าลืมออกแบบ feeling ว่าคุณต้องการให้ผู้บริโภครู้สึกอย่างไร จากการใช้ผลิตภัณฑ์ของคุณ ธุรกิจ โรงแรม เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีในการขาย feeling โรงแรมที่มีการ ดีไซน์ บรรยากาศ (ambience) การบริการ (service) ที่มุ่งตอบสนองความรู้สึกผ่อนคลาย จะให้ความรู้สึกถึงการพักผ่อนได้จริง และทำให้คุณถวิลหา อยากกลับมาอีก ทั้งที่อาจจะต้องจ่ายแพงกว่า

ดังนั้นถ้าคุณจะขายของผู้บริโภคยุคใหม่ก็อย่าลืมดีไซน์ feeling กันนะคะ ว่าคุณอยากให้ผู้บริโภคที่มาใช้บริการ หรือผลิตภัณฑ์ของคุณ ใช้แล้วรู้สึกอย่างไร ซึ่งถ้าคุณเข้าไปถึงใจผู้บริโภคได้ รับรองว่าอยู่นานค่ะ

จะต้องรู้สึก ฟิน อร่อย อยากกลับมากินอีก  ดังนั้นถ้าคุณจะขายของผู้บริโภคยุคใหม่ก็อย่าลืมดีไซน์ feeling กันนะคะ ว่าคุณอยากให้ผู้บริโภคที่มาใช้บริการ หรือผลิตภัณฑ์ของคุณ ใช้แล้วรู้สึกอย่างไร ซึ่งถ้าคุณเข้าไปถึงใจผู้บริโภคได้ รับรองว่าอยู่นานค่ะ