ผู้นำยุคนี้ต้องมี Digital Mindset
ความเข้มข้นของ digital connectivity ที่เติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ
ทำให้การแข่งขันทางธุรกิจต้องอยู่บนพื้นฐานใหม่ในการสร้าง customer values ให้กับลูกค้าให้มากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เราต้องใช้วิธีในการบริหารจัดการแบบผสมผสานระหว่าง การใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจและการจัดการองค์กรที่ต้องใช้ผู้นำแบบใหม่ที่มี Digital Mindset หรือที่เรียกกันว่า Digital Minded Leadership
ผู้นำแบบใหม่นี้คือผู้นำที่มีความสามารถในการใช้สมองทั้งสองซีกสร้างให้เกิดความสำเร็จในยุคดิจิทัล ในบทความของ Harvard Business Publishing ได้แนะนำว่า 5 ทักษะของการเป็นผู้นำที่จะประสพความสำเร็จใน Digital World ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1)มี vision ที่ชัดเจนและ empower คนอื่นโดยการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่กระตุ้นให้พนักงานอยากทดลองไอเดียใหม่ๆ
2)ผ่อนปรนการควบคุมแต่ก็ออกแบบให้คนมีทางเลือก เพราะการ empower คนนั้นต้องทำให้เขามีทางเลือกที่เราได้ออกแบบไว้ให้ เช่น แทนที่จะบังคับพนักงานไม่ให้แชร์ข้อมูลบน social media เราใช้วิธีฝึกอบรมให้ความรู้พวกเขาให้แชร์ข้อมูลได้อย่างปลอดภัย ถูกต้องตามกฎระเบียบ
3) 3)สร้างให้เกิดความยั่งยืนแต่ก็ต้องมีไอเดียใหม่ๆ ที่ disrupt ตัวเองได้ ต้องลด conflict และเป็น bridge ให้คนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ โลกเก่าและโลกใหม่ อยู่ด้วยกันได้ ธุรกิจเดิมที่ทำอยู่แล้วและมี profit ก็ต้องรักษาไว้ ส่วนของใหม่ที่เพิ่งทดลองทำยังไม่มี profit ก็ไม่ถูกฆ่าทิ้ง ต้องให้โอกาสไอเดียใหม่ๆ ได้เกิดขึ้นมาและให้เวลากับมันในการเติบโตเพื่อความอยู่รอดในอนาคต
4)ใช้ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจแต่ก็ต้องเชื่อสัญชาตญาณของตัวเองด้วย การใช้ข้อมูลในอดีตไม่ได้แปลว่าจะทำนายอนาคตได้แม่นยำเสมอไป เพราะสถานการณ์ในโลกปัจจุบันและสภาพแวดล้อมต่างๆ แปรเปลี่ยนไปรวดเร็วมาก คนเป็นผู้นำต้องใช้สัญชาตญาณมองภาพอนาคตให้ชัดและสร้าง hypothesis ใหม่ๆ สำหรับการทดลองสำหรับอนาคต
5)เป็นคนขี้ระแวงแต่ก็ใจกว้าง เปิดโอกาสให้ทดลองได้ ผู้นำต้องออกจาก comfort zone แล้วเปิดใจเรียนรู้การใช้ชีวิตบน technology ใหม่ๆ เพื่อได้ประสบการณ์นั้นๆ เช่นเดียวกับลูกค้า และพร้อมจะนำ insight นั้นๆ มาสร้าง vision และผลักดัน digital transformation ให้กับองค์กร เปิดใจยอมรับเหรียญทั้ง 2 ด้าน เช่น โลกเก่า – โลกใหม่ ผลตอบแทนระยะสั้น – ผลตอบแทนระยะยาว การควบคุม – การให้อำนาจ เป็นต้น
ในยุคดิจิทัลการที่เราถูกห้อมล้อมด้วยข้อมูลที่มากขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็น big data ที่ถูก เก็บ ค้นหา วิเคราะห์ ส่งต่อและถูกแปลงเพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ข้อมูลด้วยต้นทุนที่ถูกลงและด้วยวิธีการที่เกินกว่าเราจะจินตนาการได้ในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะเป็นโอกาสใหม่ในการท้าทายเราให้เปลี่ยนวิธีการทำงาน วิธีคิดบน principles เก่าที่เราเคยใช้ในการวางแผนกลยุทธ์หรือการบริหารจัดการองค์กรที่เราคุ้นเคย ตัวอย่างเช่น ธุรกิจ retail ของ Amazon ที่เคยขายแต่หนังสือผ่านระบบออนไลน์ แต่ด้วยข้อมูลที่มีมากทำให้ Amazon สามารถสร้าง Value Proposition ใหม่ที่ไม่เพียงแค่ทำให้เกิดความสะดวกสบายกับลูกค้า แต่ยังทำให้ลูกค้าเข้าถึง product ใหม่ๆ ผ่านระบบ recommend และประวัติการ review จากลูกค้าเอง นอกจากนี้ก็ยังเพิ่มประสบการณ์ในการสร้าง physical experience ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนได้จับหนังสือจริงๆ ด้วยการอ่านผ่าน e-Book reader ที่เรียกว่า “Kindle” แม้แต่หนังสือที่เพิ่งตีพิมพ์ออกมาวางจำหน่ายเล่มล่าสุด ลูกค้าก็สามารถช้อปมาอ่านผ่าน Kindle ได้ มันได้กลายเป็นเรื่องของ connectivity ระหว่าง online กับ offline ที่ทำออกมาได้อย่างเหมาะเจาะ
Digital density ที่อยู่กันหนาแน่นภายนอกองค์กรทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนองค์กรให้เกิดการกระจายอำนาจในการตัดสินใจให้มากขึ้น เพราะข้อมูลที่มากมายทำให้การควบคุมภายในมันยากขึ้น สุดท้ายแล้วก็ต้อง decentralize และลดการควบคุมลงเพราะพนักงานทุกคนมีมือถือที่สามารถเข้าถึงข้อมูลผ่าน Google และ social media ต่างๆ ได้ไม่ยาก พนักงานจึงพยายามตัดสินใจเอง มี creativity และ initiatives ได้เอง จึงเป็นเรื่องยากสำหรับองค์กรที่จะควบคุม แต่ในฝั่งของพนักงานกลับรู้สึกดีมี motivation เพราะสามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง ซึ่งถ้ามองในแง่ดีก็เป็นโอกาสขององค์กรในการสร้าง Agility และ scale up ได้ง่ายขึ้นเพราะพนักงานได้มีส่วนร่วม บางองค์กรก็ใช้ social media และเครือข่ายต่างๆ ในการสร้างและกระตุ้นให้พนักงานในองค์กรเกิดวัฒนธรรมการทำงานโดยมีความร่วมมือกันมากขึ้น
จะเห็นได้ว่าจากตัวอย่างที่เล่ามานี้มันเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยผู้นำที่มี Digital Mindset ดิฉันคิดว่า mindset เป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่า skill เพราะมันเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของผู้นำในองค์กร ดังนั้น digital mindset จึงเป็นเรื่องที่ทุกองค์กรจำเป็นต้องเติม ต้องเสริม ต้องสร้าง ให้เกิดผู้นำแบบใหม่ที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ในโลกดิจิทัล