เปิดสาระสำคัญ กฎหมายคอมพิวเตอร์ (ตอนที่ 7)

เปิดสาระสำคัญ กฎหมายคอมพิวเตอร์ (ตอนที่ 7)

สรุปสาระสำคัญในการแก้ไขปรับปรุงพ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

มาเป็น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 อ้างอิงข้อความบางส่วนจากเอกสารสรุปจาก สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

2.อํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่

เนื่องจากมาตรา 18 ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้อํานาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดําเนินการได้เฉพาะกรณีที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เท่านั้น ทําให้ในกรณีที่เป็นความผิดตามกฎหมายฉบับอื่น ซึ่งมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการกระทําความผิด หรือเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ตํารวจหรือเจ้าพนักงานตามกฎหมายอื่นไม่สามารถใช้อํานาจตามกฎหมายฉบับนี้ได้ 

ขณะเดียวกันพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายฉบับนี้ก็ไม่สามารถใช้อํานาจตามกฎหมายฉบับนี้ในการสืบค้นและรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อนําไปใช้ในคดีอื่นได้ จึงมีการพิจารณาทบทวนเพื่อให้สามารถนําหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กําหนดในกฎหมายนี้ไปใช้ บังคับกับการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดําเนินคดีตามกฎหมายอื่นได้ด้วย 

ทั้งนี้ เพื่อให้ขั้นตอนและวิธีการในการดําเนินการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์ซึ่งมีลักษณะเฉพาะเป็นไปโดยถูกต้อง

การกําหนดอํานาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่ สามารถใช้อํานาจตามกฎหมายที่กําหนดในกรณีที่เป็นการกระทําความผิดตามกฎหมายอื่นได้ด้วยนั้น น่าจะช่วยแก้ปัญหาการหลีกเลี่ยงไปใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ โดยเฉพาะอยางยิ่งการใช้อํานาจตามมาตรา 18(4) – (8) เนื่องจากกฎหมายฉบับที่ใช้บังคับอยูในปัจจุบัน ไม้ได้ให้อํานาจไว้ ทําให้ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจต้องเลี่ยงไปใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแทน ซึ่งกลายเป็นว่าไม่ตกอยู่ภายใต้ เงื่อนไขตามที่กําหนดในกฎหมายฉบับนี้อันก่อให้เกิดผลกระทบเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอยางยิ่งต่อตัวผู้ให้บริการ 

เช่น การไปยึดเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งกระบวนการตามกฎหมายโดยเฉพาะอยางยิ่งตามมาตรา 18(4) – (8) นั้นเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับสังคมว่า การเก็บรวบรวมหรือหาพยานหลักฐานนั้น ต้องใช้ผู้มีความรู้ความสามารถ และต้องรู้กลไกทางเครื่องมือและทางธุรกิจ เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ประกอบการ ทั้งยังมีกระบวนการตรวจสอบโดยศาล 

แม้จะกําหนดให้ ต้องขอหมายศาลแล้ว กฎหมายไม่ได้กล่าวถึงเรื่องการเข้าค้น ดังนั้นในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ หากต้องเขาตรวจค้นและยึด ก็จะต้องขอต่อศาลเพื่อออกหมายค้นและต้องขอหมายตามมาตรา 18 อีก ด้วยนั่นก็ยิ่งเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือในกระบวนการอันเป็นหลักประกันได้ว่า กระบวนการจัดเก็บพยานหลักฐานทําโดยมืออาชีพ อยู่บนหลักการ Chain of Custody คือหลักการห่วงโซ่ในการคุ้มครองพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นหลักประกันในการนําสืบพยานหลักฐานในชั้นศาลที่สร้างความน่าเชื่อถือว่า กระบวนการทั้งหมดมีความนาเชื่อถือ มีความครบถ้วนและกระบวนการชอบด้วยกฎหมาย 

นอกจากนี้ พยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้มีความสําคัญเฉพาะคดีความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ดังนั้น หากเอาหลักที่มีอยู่ของกฎหมายฉบับนี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์กับกฎหมายอื่นก็จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างมาก เช่น คดีหมิ่นประมาทโดยการโพสต์ในเว็บพันธุ์ทิพย์ จะเห็นได้ว่าไม่มีพยานหลักฐานอย่างอื่นเลย หากเจ้าพนักงานตํารวจไปเก็บพยานหลักฐานโดยวิธีทั่วไป เช่น สั่งพิมพ์ออกมาจากหน้าเว็บ ก็จะกลายเป็นช่องว่างในการยกขึ้นเป็นขอต่อสู้ในการจัดเก็บรวบรวมพยานหลักฐาน และการยกข้อต่อสู้ถึงความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานแล้วจะหาหลักฐานได้อย่างไร และหลักฐานที่ได้มานั้นจะมีความน่าเชื่อถือเพียงใดหากไม่ให้ใช้กระบวนการตามกฎหมายฉบับนี้

หลักการที่นําเสนอขึ้นใหม่โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถใช้อํานาจตามกฎหมายที่กําหนดในการสืบสวนและสอบสวนเพื่อประโยชน์ในการใช้ เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทําความผิดและหาตัวผู้กระทําความผิด สามารถนําไปใช้ในกรณีที่เป็นการกระทําความผิดตามกฎหมายอื่นได้ และขณะเดียวกันก็ให้อํานาจพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจในการสืบสวนและสอบสวนกรณี มีการกระทําความผิดที่มีระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูล คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องสามารถดําเนินการตามกฎหมายฉบับนี้ได้เช่นเดียวกันนั้น ซึ่งในหลักการที่นําเสนอนี้ให้อํานาจแก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้โดยมีอํานาจตาม มาตรา 18(1) – (3) นั้น 

อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่น อาจขาดความรู้ความชํานาญ หรือความเข้าใจในทางเทคนิคที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงานและอาจจําเป็นต้องขอความร่วมมือจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนี้ จึงเสนอเปิดช่องไว้เพื่อให้ดําเนินการได้ด้วย

สําหรับการดําเนินการตามมาตรา 18(4) – (8)นั้น ได้กําหนดให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่นต้องร้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ดําเนินการ เนื่องจากกรณีดังกล่าว เป็นเรื่องที่กระทบต่อสิทธิของบุคคลอื่นและต้องอาศัยความรู้ความชํานาญทางเทคโนโลยี จึงต้องการจํากัดอํานาจของเจ้าพนักงานตามกฎหมายอื่นในการใช้อํานาจตามกฎหมายนี้ โดยกําหนดให้กระทําได้ต่อเมื่อร้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนี้เป็นผู้ดําเนินการ ดังนั้น จึงมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังนี้(กรุณาติดตามต่อในตอนที่ 8 นะครับ)