2020…ปีแห่ง “ความยั่งยืน” (จบ)
สวัสดีปีใหม่ค่ะ คุณผู้อ่านทุกท่าน ปีใหม่เวียนมาบรรจบอีกครั้ง หวังว่าคุณผู้อ่านคงได้ใช้เวลาในช่วงวันหยุดเทศกาลที่ผ่านมา
อย่างมีคุณภาพกับครอบครัวและคนที่รัก และได้ชาร์จพลังกายพลังใจอย่างเต็มเปี่ยมเพื่อกลับมาเริ่มต้นปี2563อย่างสดใสต่อไปนะคะ
เรากลับมาต่อกันที่เรื่องของ “ความยั่งยืน” ซึ่งจะเป็นแนวโน้มที่สำคัญอย่างยิ่งของภาคธุรกิจและองค์กรต่างๆ ที่ “จอนควิล แฮคแคนเบิร์ก” ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน ได้เขียนไว้ในเวบไซต์Forbesกันต่อเลยค่ะ
เทรนด์รับงานอิสระ (Gig Economy)กำลังมาในอนาคต องค์กรต่างๆ ล้วนต้องหันมาทำให้ธุรกิจของตนมีความยั่งยืน ซึ่งหมายถึงการให้ทางเลือกแก่คน ในการทำงานจากที่ไหนหรือเมื่อไหร่ก็ได้(Work anywhere, anytime)โดยความยืดหยุ่นหรือFlexibilityจะเป็นปัจจัยพื้นฐานของการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งจะมีความสำคัญมากในยุคของGig Economyซึ่งก็คือเศรษฐกิจที่ถูกขับเคลื่อนด้วยการทำงานชั่วคราวหรือการทำงานอิสระ อาทิเช่น เหล่าฟรีแลนซ์ พาร์ทไทม์ เอาท์ซอร์ส ไปจนถึงคนที่รับจ้างผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น คนขับGrabเป็นต้น
โดยในปี 2020 เราจะเห็นองค์กรใหญ่ๆ เริ่มนำแนวคิดของGig Economyเข้ามาใช้มากขึ้น (ซึ่งจากเดิมจะจำกัดอยู่ใน งานที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอลเท่านั้น) แต่ต่อไป จะธุรกิจจะให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนกระบวนการและแนวคิดขององค์กร โดยจะหันมายอมรับการทำงานแบบเสรีในลักษณะนี้มากขึ้น
เพราะด้วยแท้จริงแล้วGig Economyหรือการรับงานอย่างอิสระจะทำให้องค์กรต่างๆเข้าถึงคนที่มีศักยภาพ หรือTalent Poolsซึ่งเดิมอาจจะเข้าถึงยากได้ง่ายมากขึ้น แม้แต่กลุ่มTalent Poolsที่อาจมีข้อจำกัดบางประการ เช่นกลุ่มคนที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ คนพิการ หรือคนที่ไม่ได้อยู่ในเมืองใหญ่ต่างๆ โดยปัจจุบัน เกือบทุกอุตสาหกรรมกำลังประสบปัญหาขาดแคลนทักษะที่จำเป็น ดังนั้นGig Economyหรือการทำงานอย่างอิสระจะมีความหมายอย่างมาก ในปี 2020 เราจะเห็น กลุ่มคนมีศักยภาพที่องค์กรต่างๆ ยังไม่เคยเข้าถึง เข้ามาช่วยเพิ่มทักษะใหม่ๆ ให้แก่ตลาดแรงงาน
ดังนั้น องค์กรขนาดใหญ่ จึงต้องก้าวไปสู่การจัดหาทรัพยากรบุคคลอย่างยั่งยืน โดยให้พนักงานเลือกได้ว่า จะทำงานหรือจากองค์กรไปตอนไหน ในขณะเดียวกัน พนักงานคนนั้นก็ต้องสร้างผลการดำเนินงานที่ดีให้แก่องค์กรด้วยเช่นกัน
ทำงานกันด้วยความไว้ใจ แบบ “Trust Economy”การใช้โมเดลทั้งหมดที่กล่าวมาด้านบน ต้องมีความไว้วางใจ เป็นองค์ประกอบหลัก ทั้งระหว่างคู่ค้าหรือซัพพลายเออร์ (Supplier)และบริษัท และระหว่างนายจ้างและพนักงาน โดยการไว้วางใจกันจะนำมาสู่ความโปร่งใส และความโปร่งใสจะนำมาซึ่งความเป็นไปได้ต่างๆ ทั้งภายในองค์กร และในห่วงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ดังนั้นเราจะเห็นการเกิดขึ้นของTrust Economyในปี 2020
ทั้งนี้ การสร้างTrust Economyให้เกิดขึ้นนั้นจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนแนวคิดหรือนโยบายขององค์กร ในระบบซัพพลายเชนแบบCircularการสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องทั้งหมดนั้นมีความสำคัญต่อความยั่งยืน และการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม โดยองค์กรต้องได้รับความไว้วางใจและความเชื่อมั่นว่ามีการสรรหาวัตถุดิบอย่างมีจริยธรรม และปฏิบัติต่อพนักงานอย่างมีความเท่าเทียม ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคก็ให้ความไว้วางใจต่อองค์กรที่ให้ความสำคัญต่อการสร้างความยั่งยืนด้วยการกระทำไม่ใช่แค่เพียงคำพูด เป็นต้น
ในแง่มุมขององค์กรและพนักงาน ดังจะเห็นได้จากตัวอย่าง คือบริษัทMicrosoftที่ได้ทดลองให้พนักงานทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งพบว่า ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ดังนั้น องค์กรต่างๆ จึงควรเปลี่ยนจากการวัดผลงานจากระยะเวลาที่ใช้ ไปสู่การวัดจากผลลัพธ์ที่ได้ ซึ่งระบบนี้เป็นระบบที่นายจ้างต้องมีความไว้วางใจพนักงาน ว่าสามารถทำงานให้สำเร็จลุล่วง และให้ผลตอบแทนโดยขึ้นอยู่กับงานที่สำเร็จลุล่วงนั้น
ทั้งนี้ การหมุนเวียน หรือเซอร์คูล่า อาจเป็นคำที่คนส่วนใหญ่อาจยังไม่เห็นความสำคัญ แต่ภายในปีหน้า เราจะเห็นโมเดลทั้งหมดที่กล่าวมานี้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาในองค์กรใหญ่ๆ ทั่วโลกอย่างแน่นอน
และนั่นทำให้ ปี 2020 จะเป็นปีที่ “ความยั่งยืน” เข้ามามีบทบาทในโลกธุรกิจอย่างมากทีเดียวค่ะ