การเลือกตั้งทั่วไปและระบบเลือกตั้งของสหรัฐ
เมื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐงวดเข้ามา การหาเสียงโจมตีซึ่งกันและกันก็เข้มข้นขึ้นทุกวันบ้านเรานั้น
จะว่าไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลยจากรัฐบาลสหรัฐก็คงไม่ได้ ไม่งั้นคงไม่ออกมาทั้งค้านทั้งสนับสนุนการแทรกแซงของสหรัฐในการบริหารจัดการบ้านเมืองเราอยู่บ่อยๆ
ขอยกตัวอย่างการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ระหว่างฮิลลารี คลินตั้น ตัวแทนจากพรรคเดโมแครต และ โดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนของพรรครีพับลิกัน
ประการแรก...การเลือกตั้งประธานาธิบดี เป็นการเลือกตั้งทางอ้อม เช่นในสมัยที่แล้ว เวลาออกข่าวมักจะออกมาว่าประชาชนที่นั่นที่นี่เลือกฮิลลารี คลินตัน หรือโดนัลด์ทรัมป์.. แต่ในกระบวนการเลือกตั้งแล้ว ไม่ได้เป็นเช่นนั้นการเลือกตั้งทั่วไปของสหรัฐเป็นการเลือกตั้งในระบบที่เรียกว่า... ผู้ชนะกินรวบ หรือ The Winner-take-all System...สำหรับ 48 รัฐกับDistrict of Columbia อีกหนึ่ง เท่านั้น.. แต่มีอีก 2 รัฐ คือ รัฐเมน (Maine) กับเนบราสก้า (Nebraska) ที่ไม่ใช้ระบบนี้ แต่ใช้ระบบสัดส่วนที่เรียกว่า Proportional Representation แต่ทั้ง 2 รัฐมีจำนวนประชากรน้อยมากและมีจำนวนผู้เลือกในคณะแค่ 4 - 5 คน จึงไม่ค่อยมีนัยสำคัญและถูกมองข้ามถึงระบบที่แตกต่างนี้ไป
ประการที่ 2 การเลือกประธานาธิบดีเรียกว่า เลือกคณะเลือกตั้ง หรือ Electoral College คำว่า College นี้ ไม่ได้หมายถึงสถาบันอะไรตามความหมายทั่วๆ ไป แต่หมายถึงกระบวนการ หรือ Process กระบวนการเลือกตั้งกว่าจะได้ประธานาธิบดีซับซ้อนพอสมควร กล่าวแบบคร่าวๆ ได้ดังนี้
- เริ่มจากการเลือกตั้งในวันที่กำหนดไว้ทุก 4 ปี คือวันอังคารที่ถัดจากวันจันทร์สัปดาห์แรกของเดือน พ.ย.ของปี
- เมื่อเลือกตั้งและนับคะแนนรวมถึงผู้ที่เลือกตั้งล่วงหน้าตามวิธีการที่กำหนดไว้แล้ว ผู้ว่าการรัฐ (Governor)ของแต่ละรัฐ ก็จะออกเอกสารรับรองที่เรียกว่า Certificate of Ascertainment กำหนดว่าใครบ้างที่เป็นผู้เลือก (Electors)
- ผู้เลือก หรือ Electors จะมีการประชุมกันในแต่ละรัฐในเดือน ธ.ค. และจะออกหนังสือรับรองเรียกว่า Certificate of Vote เพื่อส่งไปให้รัฐสภา(Congress) และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ (National Archives)
- รัฐสภาจะจัดให้มีการนับคะแนนโดยกำหนดให้มีการประชุมร่วมกันทั้งสภาผู้แทน (US Representative) และ วุฒิสภา (US Senate)โดยรองประธานาธิบดีสหรัฐ ในฐานะประธานวุฒิสภา (President of the Senate) ไม่ใช่ผู้นำเสียงส่วนใหญ่ (Majority)ที่อาจอยู่คนละพรรคกับรัฐบาล) ทำหน้าที่เป็นประธานในการนับคะแนน ในวันที่ 6 ม.ค.ของปีถัดจากปีเลือกตั้ง
- ประกาศผลการนับคะแนนโดยสภาร่วม และประกาศผู้ที่จะได้เป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีของสหรัฐคนต่อไป
- ประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งสาบานตนเป็นประธานาธิบดีในวันที่ 20 ม.ค. ของปีที่ถัดจากปีเลือกตั้ง
จำนวนผู้เลือกตั้ง (Electors) ในคณะเลือกตั้ง (Electoral College) นี้ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรของแต่ละรัฐเพราะมาจากจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนทั้งหมด บวกกับจำนวนวุฒิสมาชิกรัฐละ 2 คนเท่ากันหมด ไม่ว่าจะเป็นรัฐเล็กรัฐใหญ่แค่ไหน รัฐเล็กๆ ที่มี ส.ส.เพียง 1 คน ประมาณเกือบสิบรัฐ เมื่อบวกกับ ส.ว.อีก 2 คน จึงมีคณะผู้เลือกตั้งเพียง 3 คน ในขณะที่รัฐใหญ่ประชากรมาก เช่น แคลิฟอร์เนีย มีคณะเลือกตั้งมากสุด 55 คน ที่รองๆ ลงมาเช่น ฟลอริด้าและนิวยอร์ค มี 29 คนเท่ากัน เท็กซัสมี 38 คน เพ็นซิลวาเนียและอิลลินอยมี 20 คนเท่ากัน นอกนั้นเช่นโอไฮโอ จอร์เจีย มิชิแกน นอร์ทแคโรไลน่า นิวเจอร์ซี่ เวอร์จิเนียร์ วอชิงตัน และอีกเกือบสิบรัฐมีมี 10 คนขึ้นไป
รัฐเหล่านี้จึงมีความสำคัญมากเพราะถ้าคะแนนประชนที่มาออกเสียงแพ้ชนะกันที่เสียงเดียว ก็ได้เสียกันทั้งคณะตั้งแต่ 10 ถึง 55 คนทีเดียว รัฐเหล่านี้ถือเป็นรัฐที่ต้องขับเคี่ยว (Battle States) และในจำนวนนี้คะแนนเสียงระหว่าง 2 พรรคใหญ่ก้ำกึ่งกันมากการเลือกตั้งที่ผ่านมาผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ ถือเป็น Swing States ที่ 2 พรรคใหญ่ต้องเอาเป็นเอาตาย เพราะชนะแค่คะแนนเดียวจากหลาย 10 ล้านคนได้ทั้งคณะ เวลาดูแผนที่สหรัฐจะพบว่าพรรครีพับลิกันที่ใช้สีแดงดูจะแดงพรืดไปหมด เหลือสีน้ำเงินที่เป็นพรรคเดโมแครตไม่มากนัก ส่วนใหญ่อยู่ริมๆ ประเทศทางภาคตะวันตกและตะวันออกของประเทศ แต่รัฐเหล่านี้มีจำนวนผู้เลือกตั้งแต่ละคณะสูงมาก รัฐเล็กๆ ภาคกลางของประเทศสิบรัฐ ยังไม่เท่ารัฐแคลิฟอร์เนียรัฐเดียว และนี่ก็คือคำตอบ