ของแพง
จากน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า ค่าผ่านทางพิเศษ จนมาล่าสุดหมูก็ขึ้นราคา เรียกได้ว่าตามเทรนด์เมืองนอกมาติดๆ ปรากฎการณ์ของแพงครั้งนี้ในบ้านเรานั้น
ส่วนหนึ่งก็ได้รับผลกระทบต่อเนื่องมาจากต่างประเทศ เช่น วิกฤติการณ์พลังงาน ที่ความต้องการใช้พลังงานในจีนซึ่งเป็นแหล่งผลิตสินค้าที่สำคัญเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ และของโลก รวมถึงคาดการณ์อากาศหนาวในยุโรปที่ยาวนานกว่าปกติ และนโยบายลดการใช้พลังงานถ่านหินของประเทศต่าง ๆเพื่อแก้ไขปัญหาโลกร้อน
ส่งผลให้ราคาพลังงานทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง ซึ่งไทยก็เป็นประเทศหนึ่งซึ่งต้องพึ่งพิงแหล่งพลังงานจากภายนอกประเทศในสัดส่วนที่สูง ก็หนีไม่พ้นต้องได้รับผลกระทบ ทำให้ราคาเชื้อเพลิงและค่าไฟฟ้าในประเทศปรับขึ้นไปด้วย (แต่ก็เรียกได้ว่าขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าประเทศตะวันตกอยู่มาก)
เริ่มจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ส่งผลให้จีน (ที่หลังจากผลิตหน้ากากอนามัยให้คนในประเทศใช้จนเพียงพอแล้ว) ต้องส่งหน้ากากอนามัยไปขายให้คนทั้งโลก แม้ในภูมิภาคที่ไม่เคยส่งอย่างแอฟริกา จนทำให้เกิดภาวะขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้าอย่างหนัก และแทนที่ผู้คนจะชะลอการซื้อสินค้าลงไป
เนื่องจากมาตรการจำกัดการเดินทาง (Lockdown) แต่กลายเป็นว่าคนแห่กันซื้อของออนไลน์อย่างถล่มทลาย เนื่องจากอยู่บ้านนาน ทั้งซ่อมบ้าน เปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับปรุงห้องครัว (เพราะกลัวอาหารนอกบ้าน) โดยยอดขายของ Amazon เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านั้นเพิ่มสูงขึ้นถึง 57% ในเดือนมิ.ย. 2564
แต่ที่ไม่น่าเชื่อ ก็คือเหตุการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ตลอด 2 ปีที่ผ่านมานี้ กลายเป็นต้นตอหนึ่งของปัญหาของแพงทั่วโลกที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ได้ ซึ่งถ้าใครที่ติดตามข่าวเศรษฐกิจก็จะทราบว่าในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมากระบวนการผลิตและขนส่งสินค้าทั่วทั้งโลกนั้นปั่นป่วนอย่างรุนแรง
โดยเรื่อง ๆหนึ่งแทนที่จะเป็นต้นเหตุของปัญหาตรงหน้าเพียงปัญหาเดียว กลับกลายเป็นต้นเหตุของอีกหลายปัญหาที่ใหญ่ไม่แพ้กันในเวลาต่อมา สำหรับผู้ที่ไม่ได้ติดตามใกล้ชิด เราลองมาดูกันว่าปัญหานั้นเป็นมาอย่างไร
หากถามว่าเศรษฐกิจไม่ดี แล้วคนเหล่านี้เอาเงินจากไหนมาซื้อข้าวของ ส่วนหนึ่งก็มาจากนโยบายอัดฉีดสภาพคล่อง ผ่านการช่วยเหลือขนานใหญ่ของรัฐบาลนานาประเทศนั่นเอง จนทำให้มีปริมาณการสั่งซื้อสินค้าท่วมท้นมหาศาล โดยก่อน Covid-19 ท่าเทียบเรือสินค้าในเมืองลอสแอนเจลิส สหรัฐฯ ตลอด 1 ปีจะมีการขนส่งสินค้าขึ้นท่าเฉลี่ยสูงถึง 900,000 ตู้ อยู่เพียงแค่ 2 เดือนเท่านั้น แต่นับตั้งแต่ครึ่งปีหลังของปี 2563 เป็นต้นมาจนถึงปลายปีที่แล้ว มีการขนส่งสินค้าขึ้นท่าเฉลี่ย 900,000 ตู้ ทุกเดือน ตลอด 17 เดือน!
การขาดแคลนตู้ขนส่งสินค้า และระยะเวลารอเทียบท่าเพื่อขนส่งสินค้าอันยาวนานเกือบ 20 วัน ทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าทางเรือจากเซี่ยงไฮ้ถึงลอสแอนเจลิสนั้นพุ่งสูงขึ้นถึง 1000%!
ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อสินค้ามากองที่ท่าเรือแล้ว ก็ไม่มีรถบรรทุก และคนขับรถ ที่มากเพียงพอที่จะมาขนส่งสินค้าที่กองพะเนินเทินทึกที่ท่าเรือออกไปได้ทัน ทำให้ผู้ผลิตก็ไม่มีวัตถุดิบมาผลิตสินค้า หรือมาถึงล่าช้า ก็ยิ่งทำให้เกิดความกังวลว่าจะไม่มีวัตถุดิบมาผลิตสินค้าให้พอขาย ก็เลยสั่งสินค้าเผื่อไว้เกิน (จากเดิมใช้หลักสั่งมาพอดีเท่าที่จะใช้ หรือที่เรียกกันว่า Just in time เพื่อความมีประสิทธิภาพ) ก็ยิ่งซ้ำเติมภาวะคอขวดให้หนักข้อมากขึ้นไปอีก ส่งผลให้ราคาสินค้าพุ่งพรวดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ไทยเองนั้นถือว่าโชคยังดีที่ว่าเรามีฐานที่มั่นที่ใกล้แหล่งผลิตหลักของโลกหลายแห่ง มีความมั่นคงทางอาหารสูง อีกทั้งยังไม่ต้องเผชิญกับหน้าหนาวที่ทนได้ยากเหมือนในอีกหลายประเทศ ทำให้สถานการณ์ในบ้านเราถือได้ว่ายังดีกว่าที่อื่นอยู่บ้าง
ความหวั่นเกรงที่มีกันในตอนนี้ ก็คือ ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นจะไปกดดันให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงาน จนทำให้การเพิ่มขึ้นของราคาเร่งตัวมากยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งพวกเราชาวโลกทุกคน ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยจะต้องเผชิญกันต่อไป
สำหรับผู้มีเงินออม ควรต้องหาแหล่งลงทุนที่จะให้ผลตอบแทนในระยะยาว ที่เอาชนะอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาให้ได้มากที่สุด หรืออย่างน้อยก็ต้องพยายามรักษากำลังซื้อของเงินที่มีไว้ให้มากที่สุดนั่นเอง