อัปเดต 5 อันดับ 'โรคมะเร็ง' ที่พบมากในคนไทย ปี 2566

อัปเดต 5 อันดับ 'โรคมะเร็ง' ที่พบมากในคนไทย ปี 2566

"โรคมะเร็ง" ถือเป็นโรคร้ายที่เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของคนไทย "พรูเด็นเชียล" พาทำความรู้จัก 5 โรคมะเร็งที่พบบ่อย พร้อมแนวทางป้องกันให้ห่างไกลจากโรคดังกล่าว

มะเร็ง เป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยมานักต่อนัก โดยปัจจัยการเกิดโรคมีทั้งปัจจัยภายใน เช่น พันธุกรรม และปัจจัยภายนอก เช่น อาหารการกิน การพักผ่อน สภาพแวดล้อม และมลภาวะ สิ่งที่น่ากังวลคือ หลายคนไม่รู้จักโรคนี้ดีพอ จึงไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเอง

จากข้อมูลสถิติทะเบียนมะเร็งประเทศไทย ปี 2565* โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ในแต่ละปีประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่กว่า 140,000 คน หรือประมาณ 400 คนต่อวัน แสดงให้เห็นว่า โรคมะเร็ง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของไทย เพราะมีแนวโน้มอัตราการเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อัปเดต 5 อันดับ \'โรคมะเร็ง\' ที่พบมากในคนไทย ปี 2566

5 อันดับโรคมะเร็งที่พบมากในคนไทย

จากข้อมูลสถิติ โรคมะเร็ง ที่ กรมการแพทย์ ได้เปิดเผยในงานประชุมวิชาการโรคมะเร็งแห่งชาติ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2566** พบว่า 5 อันดับโรคมะเร็งที่พบมากในคนไทย มีดังนี้

โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี

โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ มะเร็งเซลล์ตับและมะเร็งท่อน้ำดีตับ โดยคนที่เสี่ยงเป็นมะเร็งตับและท่อน้ำดีคือ ผู้ที่มีโรคเรื้อรังเกี่ยวกับตับและท่อน้ำดี เช่น ไวรัสตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งท่อน้ำดี รวมทั้งคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ รับประทานอาหารประเภทหมักดอง ปิ้งย่าง เนื้อสัตว์แปรรูป ซึ่งมีสารก่อมะเร็งไนโตรซามีน

สำหรับสัญญาณอันตรายของโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี มีดังนี้

  • มีอาการแน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำ
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • คลำพบก้อนในช่องท้อง
  • ตาเหลือง ตัวเหลือง
  • ปวดหรือเสียดชายโครงขวา
  • ขาทั้ง 2 ข้างบวม

โรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด เกิดจากภาวะที่เซลล์ในปอดเจริญเติบโตผิดปกติอย่างรวดเร็วและไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย โดยคนที่เสี่ยงเป็นมะเร็งปอดคือ ผู้ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีสารก่อมะเร็ง หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นละอองพิษ ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นเวลานาน รวมทั้งคนในครอบครัวที่มีประวัติเคยเป็นโรคมะเร็งปอด

สำหรับสัญญาณอันตรายของโรคมะเร็งปอด มีดังนี้

  • ไอเรื้อรังติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์
  • ไอเป็นเลือด หรือมีเสมหะปนเลือด
  • หายใจลำบาก หอบเหนื่อย
  • เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
  • หายใจถี่ หายใจดังผิดปกติ
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

โรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม มะเร็งอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม หากไม่ได้รับการรักษา มะเร็งจะโตขึ้นและกระจายตัวไปยังอวัยวะอื่นๆ จนเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งผู้หญิงจะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อยหรือวัยหมดประจำเดือนมาถึงช้า ใช้ยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน หรือมีประวัติญาติสายตรงเป็นโรคมะเร็งเต้านม

สำหรับสัญญาณอันตรายของโรคมะเร็งเต้านม มีดังนี้

  • คลำพบก้อนเนื้อบริเวณเต้านม หรือใต้รักแร้
  • มีรอยบุ๋มหรือย่นบริเวณเต้านม
  • มีน้ำเหลืองหรือของเหลวไหลออกมาจากหัวนม
  • มีอาการเจ็บเต้านมโดยไม่ใช้ช่วงมีประจำเดือน
  • ขนาดของเต้านมโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มเป็นข้างใดข้างหนึ่งก่อน

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เกิดขึ้นที่เยื่อบุผนังลำไส้ที่มีการสร้างติ่งเนื้อขนาดเล็ก ซึ่งยังไม่ใช่มะเร็ง แต่จะแบ่งตัวหลายครั้งจนมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งมีขนาดใหญ่โอกาสเป็นมะเร็งก็มีสูงขึ้น โดยโรคมะเร็งดังกล่าวพบมากในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป รวมทั้งช่วงวัยอื่นๆ ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ขาดการออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์บ่อย รับประทานเนื้อแปรรูป มีภาวะอ้วน และประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้

สำหรับสัญญาณอันตรายของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มีดังนี้

  • ท้องผูกติดต่อกันสม่ำเสมอ
  • อุจจาระมีมูกเลือดปนออกมา
  • กินเท่าเดิมแต่น้ำหนักลดลง
  • มีอาการท้องเสียสลับกับท้องผูกแบบเรื้อรัง ไม่หายขาด

โรคมะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในหญิงไทย เกิดขึ้นในเซลล์ปากมดลูก ซึ่งอยู่บริเวณช่วงล่างของมดลูกและเชื่อมต่อกับช่องคลอด โดยกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกคือ ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย มีคู่นอนหลายคน หรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย รวมทั้งมีประวัติเกี่ยวกับโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ มาก่อน เช่น โรคหนองในแท้ โรคซิฟิลิส โรคติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น

สำหรับสัญญาณอันตรายของโรคมะเร็งปากมดลูก มีดังนี้

  • ประจำเดือนมามากหรือนานกว่าปกติ
  • เลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระปนเลือด
  • ตกขาวผิดปกติ
  • รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
  • หากมะเร็งปากมดลูกมีระยะลุกลามรุนแรง จะมีอาการปวดหลัง ขาบวม และไตวาย

แนวทางการป้องกันโรคมะเร็ง 

  • ตรวจสุขภาพคัดกรองความเสี่ยงตามรายการที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
  • โรคมะเร็งบางชนิดสามารถฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันได้ เช่น มะเร็งปากมดลูก
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการเผชิญสารเคมีที่เกี่ยวโยงกับการเกิดมะเร็ง

อัปเดต 5 อันดับ \'โรคมะเร็ง\' ที่พบมากในคนไทย ปี 2566
 
พร้อมรับมือกับโรคมะเร็ง ด้วย "ประกันมะเร็ง เจอจ่ายจบ"

แนวทางป้องกันเป็นเพียงการลดความเสี่ยงในการเป็น โรคมะเร็ง ซึ่งไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะสามารถป้องกันโรคมะเร็งได้ 100% ดังนั้นจึงควรเตรียมพร้อมรับมือด้วยการทำประกันมะเร็งเอาไว้ ลดความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในอนาคต โดย "พรูโรคร้าย ซูเปอร์คุ้ม" จาก พรูเด็นเชียล ยกระดับ ประกันมะเร็ง เจอจ่ายจบ ด้วยความคุ้มครองโรคร้ายและมะเร็งทุกระยะ มอบเงินให้ทันทีที่ตรวจเจอ โดยเงื่อนไขเป็นไปตามความคุ้มครองที่ระบุในกรมธรรม์ ทำให้สามารถจัดสรรค่าใช้จ่ายในการดูแลตัวเองได้ง่าย ไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นภาระใคร

ทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า 5 โรคมะเร็งที่พบมากในคนไทย มีตั้งแต่ระยะเริ่มต้นไปจนถึงระยะลุกลามรุนแรงที่อันตรายถึงชีวิต ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามการตรวจสุขภาพคัดกรองมะเร็งตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะยิ่งตรวจพบเร็ว โอกาสที่จะรักษาหายก็มีมากขึ้นเท่านั้น และหากใครที่ร่างกายยังแข็งแรงอยู่ แนะนำให้เตรียมรับมือกับโรคมะเร็งด้วยการทำ ประกันมะเร็ง เอาไว้ เพราะโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยที่อาจไม่ทันได้ตั้งตัว

หมายเหตุ : ข้อมูลสถิติทะเบียนมะเร็งประเทศไทย ปี 2565 / ** ข้อมูลสถิติโรคมะเร็ง