ประโยชน์ของกรดอะมิโนที่ให้ 'รสอูมามิ' ตัวช่วยปรุงอาหาร ลดบริโภคเกลือ
ทำความรู้จักประโยชน์ของกรดอะมิโน ที่นอกจากจะช่วยเพิ่มรสอูมามิแล้ว ยังนำไปใช้ปรุงอาหารเพื่อลดปริมาณโซเดียมลงได้ ช่วยลดปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดจากการบริโภคเกลือแกงในปริมาณมาก หนึ่งในสาเหตุสำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจ
การกินดี มีสุข (Eat Well, Live Well) เป็นสิ่งที่ตรงกับปณิธานในการก่อตั้ง Ajinomoto และเนื่องในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้าน กรดอะมิโน มุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ สังคมของเรา และโลกของเราด้วย "ศาสตร์แห่งกรดอะมิโน" ส่งเสริมให้คนไทยตระหนักเกี่ยวกับความสำคัญของกรดอะมิโนที่มีอยู่รอบตัวเรา และ ประโยชน์ของกรดอะมิโน ในฐานะที่เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญในการมีพื้นฐานสุขภาพที่ดีของร่างกาย เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่อยากให้คนไทยมีการกินดี มีสุข
กรดอะมิโน คือหน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน เป็นส่วนประกอบใหญ่ที่สุดในร่างกายรองจากน้ำ สัดส่วนประมาณ 20% ของร่างกาย หรือประมาณ 50% ของมวลกายที่เป็นของแข็ง มีทั้งหมด 20 ชนิด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อมนุษย์ ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เอง ต้องได้รับจากการรับประทานอาหาร มี 9 ชนิด และกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ มี 11 ชนิด
การได้รับกรดอะมิโนเข้าสู่ร่างกายคนเรานั้น เริ่มจากเมื่อรับประทานโปรตีนเข้าไป จะถูกย่อยที่ลำไส้ เพื่อเปลี่ยนเป็นเปปไทด์และกรดอะมิโน จากนั้นจึงถูกลำเลียงเข้าสู่กระแสเลือดและดูดซึมไปถึงอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยกรดอะมิโนทำหน้าที่ในการสนับสนุนการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกาย จึงจำเป็นอย่างมากต่อมนุษย์
บทบาทกรดอะมิโนต่อร่างกาย
กรดอะมิโน จะเชื่อมโยงเข้าด้วยกันกลายเป็นโปรตีน มีส่วนช่วยในการควบคุมการทำงานสำคัญส่วนใหญ่ของร่างกาย ใช้สร้างอวัยวะต่างๆ รวมถึงฮอร์โมนในร่างกาย และยังมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น กรดอะมิโนจึงเป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญสำหรับ ผู้สูงวัย หากรับประทานอาหารที่มีกรดอะมิโนอย่างเพียงพอจะช่วยเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อ และป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อถูกสลายไปได้
นอกจากนี้ ประโยชน์ของกรดอะมิโน ยังสามารถเป็นพลังงานสำรองในกรณีที่ร่างกายใช้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตที่เป็นแหล่งพลังงานหลักจนหมดจากการออกกำลังกายอย่างหนัก ร่างกายของเราก็จะใช้พลังงานจากกรดอะมิโนต่อไป รวมถึงมีส่วนดูแลสุขภาพให้ดีขึ้น เช่น เมื่อรับประทานกรดอะมิโนไกลซีนก่อนนอน ช่วยให้ร่างกายนอนหลับลึกได้เร็วยิ่งขึ้น หรือกรดอะมิโนฮิสตีดีน ช่วยสร้างฮิสตามีนที่เป็นสารสื่อประสาท ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ระบบย่อยอาหาร และลดความรู้สึกเมื่อยล้า เป็นต้น
กรดอะมิโนให้รสอูมามิ
ไม่เพียงเท่านี้ ประโยชน์ของกรดอะมิโน ยังมีส่วนช่วยเพิ่มรสชาติให้กับอาหาร เนื่องจากมีรสชาติที่แตกต่างกันทั้งรสหวาน ขม เปรี้ยว เค็ม และอูมามิ ซึ่งกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "กลูตาเมต" จะให้ "รสอูมามิ" สามารถนำมาใช้ปรุงอาหาร เพื่อลดปริมาณการใช้เครื่องปรุงรสอื่นๆ ช่วยเพิ่มรสชาติ คงความอร่อยให้กับอาหาร โดยมีปริมาณโซเดียมลดลง จึงมีส่วนช่วยลดปัญหาด้านสุขภาพ เมื่อนำ กรดอะมิโน ที่มีรสอูมามิมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้อาหารมีรสชาติอร่อยขึ้น
"อูมามิ" ทำให้ลดปริมาณเกลือ
รสอูมามิ สามารถเติมเข้าไปในอาหารได้ ด้วยการใช้สารเพิ่มรสชาติ หรือ ผงชูรส (โมโนโซเดียมกลูตาเมต) ผลิตขึ้นโดยการหมักส่วนผสมจากพืช เช่น อ้อย หัวบีท มันสำปะหลังหรือข้าวโพด มีโซเดียมเพียง 1 ใน 3 ของเกลือ จึงสามารถนำมาใช้ปรุงอาหารเพื่อลดปริมาณโซเดียมลงได้ โดยที่อาหารยังมีความอร่อย ซึ่งเกลือ 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียมถึง 2,000 มิลลิกรัม
ส่วนผงชูรส 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียม 490 มิลลิกรัม ขณะที่ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO แนะนำไม่ควรบริโภคโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ควรลดเหลือเพียงวันละไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัม
นับว่า "รสอูมามิ" มีส่วนช่วยลดปัญหาด้านสุขภาพ อันอาจจะเกิดจากการบริโภคเกลือแกง (โซเดียมคลอไรด์) ปริมาณมาก หนึ่งในสาเหตุสำคัญของ โรคหลอดเลือดหัวใจ โดยองค์การอนามัยโลก กำหนดเป้าหมายลดการบริโภคเกลือโดยเฉลี่ย 30% ซึ่งการใช้โมโนโซเดียมกลูตาเมต หรือผงชูรส อาจช่วยลดปริมาณโซเดียมโดยไม่ทำให้อาหารเสียรสชาติ
ที่สำคัญการปรับปรุงโภชนาการ ลดปรุงรสด้วยเกลือ แต่อาหารยังคงความอร่อย จึงไม่ทำให้คนเบื่อหรือไม่อยากรับประทาน ทั้งยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ องค์การสหประชาชาติ ในเรื่องขจัดความหิว การมีสุขภาพที่ดี และความเป็นอยู่ที่ดีด้วย