ตั๋วเครื่องบินในประเทศแพงขึ้น เข้าโหมดแข่งรุนแรงรับเปิดเมือง
หลังไทยและญี่ปุ่นรวมถึงอีกหลายๆประเทศเข้าสู่โหมดเปิดเมืองอย่างสมบูรณ์แบบ ทำให้เทรนด์การเดินทางก็กำลังเริ่มกลับมาอย่างสมบูรณ์แบบด้วย แต่การเดินทางด้วยเครื่องบินซึ่งสะดวกและรวดเร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นในประเทศและระหว่างประเทศ กำลังเผชิญกับปัญหา “ค่าตั๋วแพง”
สำหรับเส้นทางบินในประเทศ ซึ่งมีผู้ให้บริการทั้งหมด 6 ราย ได้แก่ บางกอกแอร์เวย์ส ,ไทยสมายล์ ,ไทยแอร์เอเชีย ,นกแอร์ ,ไทยไลอ้อนแอร์และไทยเวียตเจ็ท นั้น สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ได้เผยแพร่รายงาน “สถานการณ์ค่าโดยสารเส้นทางบินภายในประเทศ ไตรมาส 2 ปี 2565” สาระส่วนหนึ่งระบุว่า เนื่องจากความรุนแรงของโรคโควิด-19 ลดลง ประกอบกับประชาชนได้รับ
วัคซีนอย่างทั่วถึงมากขึ้น ทำให้สายการบินกลับมาเปิดให้บริการในเส้นทางที่ หลากหลายมากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการการเดินทางของผู้โดยสารที่ เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดการแข่งขันเพิ่มมาก ขึ้นอีกด้วย
“การกำกับดูแลค่าโดยสารเส้นทางภายในประเทศมีการกำหนดเพดานค่าโดยสารแยกระหว่าง บริการต้นทุนต่ำ (Low Cost Service) และบริการเต็มรูปแบบ (Full Service) ในกลุ่มเส้นทางที่ มีการแข่งขัน สูง เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาการตลาดของอุตสาหกรรมการบิน”
- กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ไม่ควบคุมค่าโดยสาร ได้แก่
1. เส้นทางบินที่ มีระยะทางบินไม่เกิน 300 กิโลเมตร ซึ่งมีการเดินทางภาคพื้นสะดวก
2. เส้นทางบินซึ่งเป็นเส้นทางบินเชื่อมระหว่างภาคโดยไม่แวะท่าอากาศยานในกรุงเทพฯ
- กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ควบคุมค่าโดยสาร ได้แก่
1. เส้นทางบินที่ มีระยะทางบินไม่เกิน 300 กิโลเมตร และมีการเดินทางภาคพื้นไม่สะดวก สายการบิน สามารถกำหนดค่าโดยสารชั้นประหยัดได้ไม่เกิน 22 บาทต่อกิโลเมตร
2. เส้นทางบินที่ ระยะทางบินเกินกว่า 300 กิโลเมตร กำหนดเพดานค่าโดยสารชั้นประหยัดเป็น 2 กลุ่ม ตามประเภทบริการ ได้แก่
2.1 สำหรับบริการเต็มรูปแบบ (Full Service) สายการบินสามารถกำหนดค่าโดยสารชั้นประหยัด ได้ไม่เกิน 13 บาทต่อกิโลเมตรฯ
2.2 สำหรับบริการต้นทุนต่ำ (Low Cost) สายการบินสามารถกำหนดค่าโดยสารชั้นประหยัด ได้ไม่เกิน 9.40 บาทต่อกิโลเมตร
นอกจากนี้ รายงานฯยังระบุว่า จากการติดตามข้อมูลค่าโดยสารทางเว็บไซต์ของสายการบินที่ ให้บริการในกลุ่มเส้นทางบิน ที่ ไม่ควบคุมค่าโดยสารไตรมาส 2/2565 พบว่า เส้นทางที่ มีค่าโดยสารสูงสุด มีราคาเท่ากับ 7,230 บาทต่อเที่ยว ได้แก่ เส้นทางอู่ตะเภา – สมุย มีสายการบินให้บริการรายเดียว ได้แก่ บางกอกแอร์เวย์ส
ส่วนเส้นทางที่ มีค่าโดยสารต่ำสุด มีราคาเท่ากับ 696 บาทต่อเที่ยว ได้แก่ เชียงราย – หาดใหญ่ มีสายการบินให้บริการรายเดียว ได้แก่ ไทยเวียตเจ็ท
สำหรับเส้นทางบินที่มีการแข่งขันสูงสุดในกลุ่มนี้มีจำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ (1) เชียงใหม่ – ภูเก็ต มีสายการบินให้บริการ 3 ราย ได้แก่ ไทยแอร์เอเชีย ให้บริการ 2 เที่ยวบินต่อวัน ไทยสมายล์ ให้บริการ 1 เที่ยวบินต่อวัน และไทยเวียตเจ็ท ให้บริการ 1 เที่ยวบินต่อวัน
โดย สายการบินที่ มีค่าโดยสารสูงสุด คือ ไทยเวียตเจ็ท มีค่าโดยสารสูงสุดเท่ากับ 5,298 บาท หรือ 4.20 บาทต่อกิโลเมตร ส่วนสายการบินที่มีค่าโดยสารต่ำสุด คือ ไทยแอร์เอเชีย มีค่าโดยสารต่ำสุดเท่ากับ 1,743 บาท หรือ 1.38 บาทต่อกิโลเมตร
จากการสำรวจโดยกรุงเทพธุรกิจไม่ใช่แค่ตั๋วเครื่องบินภายในประเทศเท่านั้นที่มีราคาแพงขึ้น ตั๋วเครื่องบินระหว่างประเทศก็เช่นกัน ในที่นั่งผู้โดยสารชั้นประหยัดอย่างตั๋วเครื่องบินไปกลับบินตรง ญี่ปุ่น หลัง 11 ต.ค. 2565 ราคาไปกลับประมาณ 34,575 บาท สายการบินเจแปนแอร์ไลน์ และตั๋วเครื่องบินไปสหรัฐ ก็มีราคาที่สูงขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน จากภาวะน้ำมันแพงต่อเนื่อง จากวิกฤตการณ์รัสเซีย – ยูเครนและสถานการณ์ญี่ปุ่นยังไม่เปิดประเทศทำให้ตั่วเครื่องบินยังพุ่งสูงในปัจจุบัน
คาดว่าการเดินทางในปัจจุบันอาจมีปัจจัยหลายอย่างเนื่องจากภาวะน้ำมันแพง ในอนาคตภาวะโควิดที่เริ่มลดลงประชาชน และภาคธุรกิจต่างๆ เริ่มฟื้นฟูตัวเองได้ ประกอบกับการจัดการของสายการบินเองจะสมบูรณ์แบบมากขึ้นจึงเชื่อว่าในอนาคตราคาตั๋วเครื่องบินจะกลับมาปกติอย่างแน่นอน