ซีพีเอฟ ตั้งทีม ดันนโยบาย Net Zero สู่ความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อาหาร
ซีพีเอฟ ตั้งทีม ทำบิ๊กดาต้า ด้าน Net Zero พร้อมส่งต่อความสำเร็จสู่สังคม หลังโดมดับกลิ่นฟาร์มหมูลดปล่อยก๊าซมีเทน แถมได้พลังงานหมุนเวียนได้ถึง 50% เล็งลดใช้ถ่านหินภายในปีนี้
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยในการอภิปราย หัวข้อ “The Planet: Sustainability as Core Corporate Strategy” เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ และแนวคิดในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และไม่ส่งผลเสียต่อโลก ใน งาน“Sustainability Forum 2022: The People and the Planet” ว่า แต่ละปี ซีพีเอฟทำรายได้ ประมาณ 6 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้ 75 % มาจากต่างประเทศ ทั้งการเข้าไปลงทุน 17 ประเทศ และการส่งออกจากประเทศไทยกว่า 40 ประเทศ
การลงทุนในต่างประเทศนั้น มีข้อดีที่ทำให้รู้ว่าเทรนด์ในโลกจะเกิดอะไรขึ้น จึงมีโอกาสได้เตรียมความพร้อม และในฐานะ Leadership หรือ Leader ทำให้ ซีพีเอฟ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา ทั้งด้านมาตรฐาน และBeyond สิ่งที่เป็นความต้องการของลูกค้าให้ได้มากกว่านั้นไปอีก ทั้งหมดเป็นโอกาส ที่ทำให้เกิดการปรับปรุงและเป็นความท้าทายของบริษัท
กรณี Sustainability นั้น ซีพีเอฟ ทำมานาน ตั้งแต่ยังไม่มีคำว่า Sustainability ด้วยซ้ำ ด้วยกฎระเบียบ และความต้องการของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน และสิ่งแวดล้อม เช่นเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ทาง เทสโก้ UK ต้องการซัพพลายไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่ อุตสาหกรรมไก่เนื้อที่ต้องมีมาตรฐาน Animal Welfare โดยต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดกระบวนการผลิต ถ้ากระบวนการจัดการของไม่ได้มาตรฐานเพียงพอ จะรีเจ็คทั้งล็อตเลย
ต่อมากฎระเบียบต่างๆ จะเกี่ยวข้องกับเรื่องสังคม โดยซีพีเอฟ จากที่ซีพีเอฟเคยซื้อข้าวโพดที่ปลูกในพื้นที่ป่า ถึง 60 % ปัจจุบัน ประกาศการรับซื้อข้าวโพดที่มาจากพื้นที่ ที่ถูกกฎหมายเท่านั้น มูลค่าประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาท ด้านแรงงานต่างชาติต้องมีดูแลมีที่พัก มีสวัสดิการ และไม่ก่อภาระหนี้ เรียกว่า Net Free Labor เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งซีพีเอฟดูแลกันมานาน
และปัจจุบัน ซีพีเอฟทำไปอีกขั้น คือการจ้าง Third Party เป็น NGOs ดูแลแรงงานต่างชาติ เป็น Call Center ในการ คอมเพลนบริษัท ว่าสามารถดูแลแรงงานได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานที่ตกลงกันหรือไม่ และนำเอกข้อมูล ไปบอกลูกค้าได้ ในขณะที่แรงงานไทย ก็ดูแลอย่างเท่าเทียมกันหมด
“ ซีพีเอฟ เห็นความสำคัญของนโยบาย Net Zero หรือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือให้บรรลุ ความตกลงปารีส (Paris Agreement) ลด 1.5 องศาเซลเซียล จึงตั้งทีมขึ้นมาดูแลเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ เพื่อเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และนำไปปฏิบัติ เป็นบิ๊กดาต้าเพื่อขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อม ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งปัจจุบัน และอนาคต “
ซึ่งที่ผ่านมา ซีพีเอฟดำเนินการที่สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าวมาตลอด จากการเลี้ยงสุกรที่มีปัญหาเรื่องกลิ่น ได้คิดค้นการสร้างโดมกักเก็บขี้หมู ซึ่งทำให้เกิดผลพลอยได้คือ สามารถลดการปล่อยก๊าซมีเทน 5.75 แสนตันCO2e ซึ่งรุนแรงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ ถึง 25 เท่า โดยเอาสามารถนำมาเป็นไฟฟ้าเพื่อใช้ในฟาร์มได้ถึง 50 % รวมทั้งได้ ชีวมวล
ซึ่งแต่ละฟาร์มได้ติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งหมดนี้ ซีพีเอฟมีเป้าหมายในปีนี้ที่จะลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล หรือพลังงานถ่านหิน จาก 5.09 ล้านกิกะจูล หรือ 45 % เป็น 0 % โดยจะทดแทนเป็นการใช้พลังงานหมุนเวียน ที่ปัจจุบันมีสัดส่วน 27 % หรือ 3.07 กิกะจูล ที่เหลือเป็นการใช้พลังงานไฟฟ้า 28 % หรือ 3.16 ล้านกิกะจูล"
นายประสิทธิ์ กล่าวว่า ความสำเร็จ ของซีพีเอฟ ด้านความยั่งยืนนี้ มีความพร้อมที่จะสนับสนุนให้เกษตรกรที่เป็นคอนแทคฟาร์มมิ่ง รวมทั้งคู่ค้า นำไปใช้ ในขณะเดียวกันซีพีเอฟมั่นใจว่า ประเทศผู้เข้าก็จะสนับสนุนให้ซีพีเอฟดำเนินการเช่นกัน ซึ่งการที่ซีพีเอฟดำเนินการไปก่อนนั้นจะเป็นข้อได้เปรียบเชิงการค้า ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเจรจากับเยอรมนีในงานแสดงสินค้าอาหารที่ ซีพีเอฟไปออกบูธจัดงานด้วย ซึ่งการในเวทีเจรจามีการต่อรองราคาเป็นเรื่องปกติ แต่หลังจากที่ลูกค้าออกมาชมบูธ ที่บอกเล่าเรื่องกระบวนการผลิตที่ดูแลสิ่งแวดล้อม ทำให้การเจรจาต่อรองด้านราคาง่ายขึ้น เนื่องจากยุโรปให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมาก
ทั้งหมดนี้มองดูแล้วอาจเป็นการลงทุนที่ยั่งยืน หรือ ESG แต่จริงๆ แล้วในเครือ หรือซีพีกรุ๊ป เรียกสิ่งนี้ว่า สามประโยชน์ คือ การทำธุรกิจต้องก่อให้เกิดประโยชน์ 3 อย่างขึ้นมาคือ ปรัชญา 3 ประโยชน์ของท่านประธานอาวุโส ท่านประธาน ธนินท์ เจียรวนนท์ คือ สินค้าที่เราพัฒนาขึ้นมามีประโยชน์กับผู้บริโภคของบริษัท สิ่งที่ทำขึ้นต้องทำให้สังคมที่บริษัทเข้าไปอยู่ ไปเกี่ยวข้องเกิดประโยชน์ และธุรกิจที่ทำต้องก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติ
สิ่งที่ ซีพีเอฟออกไปลงทุนในต่างประเทศนั้น สิ่งที่ได้ และเห็นชัดคือ เรื่อง Food Security ความมั่นคงทางอาหาร การมีอาหารเพียงพอ ซึ่งประเทศต่างๆ มีความกังวลในเรื่องนี้มาก เช่น ญี่ปุ่น ที่การผลิตอาหารมีน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการในประเทศ อาศัยการนำเข้าเป็นหลัก จึงใช้ไทยเป็นฐานการผลิต สิงคโปร์ ที่พึ่งพามาเลเซีย และมีปัญหาเมื่อเกิดโควิดระบาด จึงประกาศงดส่งออก
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์